โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

รวยจนไม่เกี่ยว! คนไทยเสพติดซื้อลอตเตอรี่

[invalid]

อัพเดต 15 พ.ย. 2561 เวลา 12.12 น. • เผยแพร่ 15 พ.ย. 2561 เวลา 12.07 น. • tnnthailand.com
รวยจนไม่เกี่ยว! คนไทยเสพติดซื้อลอตเตอรี่
รวยจนไม่เกี่ยว! ผลการศึกษาเผยคนไทยเสพติดลอตเตอรี่ พบยอดซื้อรวมเป็นจำนวนเงินกว่า 2.5 แสนล้านบาทต่อปี

วันนี้ (15พ.ย.61) ศูนย์วิเคราะห์ Customer Insights by TMB Analytics เผยผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อลอตเตอรรี่และหวย (ใต้ดิน) คนไทย ชี้ความเชื่อ คนจนเล่นหวยคนรวยเล่นหุ้น…. ไม่จริง 1 ใน 4 ของคนไทยซื้อลอตเตอรี่และหวย รวมเป็นจำนวนเงินกว่า 2.5 แสนล้านบาทต่อปี ขยายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นคือ คนไทยราว 20 ล้านคนซื้อลอตเตอรี่และหวย เป็นมูลค่าในแต่ละปีเทียบเท่ากับ 3 เท่าของมูลค่าการซื้อกองทุน LTF และRMF หรือเทียบได้กับเงินลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่เพิ่งเปิดประมูลไป

ยิ่งกว่านั้นที่เซอร์ไพรส์ คือไม่ใช่แต่คนทั่วไปเท่านั้นที่ยืนมุงแผงลอตเตอรรี่เมื่อใกล้วันหวยออก เราพบว่ากว่าครึ่งของกลุ่มคนที่มีรายได้สูง (รายได้มากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน) ชอบซื้อลอตเตอรี่ และหวยใต้ดิน เฉลี่ยแล้ว 14 ครั้งต่อปี คิดเป็นปีละ 10,000 บาท ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนทั่วไปเกือบสองเท่าอยู่ที่ 12 ครั้งต่อปี ปีละ 4,500 บาท ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากผลสำรวจของ ศูนย์ Customer Insights by TMB Analytics และสำนักงานสถิติแห่งชาติ

เมื่อเจาะลึกไปอีกพบว่า คนกลุ่มคนที่มีรายได้สูงมีพฤติกรรมเสพติดอย่างไม่น่าเชื่อ คนรายได้สูงซื้อลอตเตอรี่และหวยใต้ดินเป็นเงินเพิ่มขึ้นถึง 76% นับจากครั้งแรกที่เริ่มซื้อ สื่อให้เห็นคนรวยยิ่งซื้อยิ่งติดและมีความหวังสูงในการถูกหวย ในขณะที่กลุ่มคนทั่วไปซื้อลอตเตอรี่และหวยเป็นเงินเพิ่มขึ้นเพียง 42% นับจากครั้งแรกที่เริ่มซื้อ สรุปได้ว่า คนจนเล่นหวยคนรวยเล่นหุ้น นั้นไม่จริง

ผลการศึกษาเต็มรูปแบบด้านมุมมอง ทัศนคติต่อพฤติกรรมการซื้อลอตเตอรี่และหวย(ใต้ดิน) รวมถึงวิเคราะห์แนวทางที่ช่วยให้คนไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น จะเผยแพร่ในเร็วๆนี้

ศูนย์ Customer Insights by TMB Analytics เป็นศูนย์วิเคราะห์มุมมองใหม่ๆด้านการพฤติกรรมทางการเงิน เพื่อสร้างการตระหนักรับรู้ ความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการเงินส่วนบุคคลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เปิดตัวครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ด้วยนำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินของคนไทยตลอดเส้นทางทั้งการออม การใช้จ่าย การลงทุน ตลอดจนการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งสามารถสะท้อนอะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อพฤติกรรมในด้านต่างๆ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0