โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

รวมอดีตดาว-เดือน มหา'ลัย ความอมตะที่ไม่เคยเลือนหาย (ตอนจบ)

Manager Online

เผยแพร่ 13 พ.ย. 2562 เวลา 01.29 น. • MGR Online

เมื่อวาน Celeb Online ได้นำเสนอเรื่องราวของเหล่าเซเลบคนดังทั้งหลาย ที่สมัยวัยละอ่อนล้วนสวย-หล่อ โปรไฟล์เลิศ ออร่าจับตั้งแต่วัยเรียน และแต่ละคนล้วนมีความสามารถ เป็นทั้งนักกิจกรรม เชียร์ลีดเดอร์ ดรัมเมเยอร์ และกรรมการนักเรียน ฯลฯ เรียกได้ว่าเป็นเดือน ดาว ของรุ่น ผู้ช่วยสร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับสถาบัน ส่วนวันนี้จะมีใครเป็นดาวเด่นของสถาบันไหนกันอีกบ้างตามมาเลย

เริ่มที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ้าพูดถึงนักกิจกรรมแห่งรั้วเหลือง-แดงแล้วคงไม่มีใครโดดเด่นไปกว่า คู่รักนักเชียร์ “ช้างน้อย และวิสทา กุญชร ณ อยุธยา” ที่ผูกพันกับกิจกรรมเชียร์แบบจดจำได้ไม่รู้ลืม เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยสานสัมพันธ์รักของทั้งคู่ ให้ยืนยาวมาจนทุกวันนี้

ฝั่งชายหนุ่ม “ช้างน้อย กุญชร ณ อยุธยา” เนื่องจากเป็นคนมีเป้าหมายชัดเจนว่า นอกจากเรียนรู้วิชาชีพแล้ว ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยต้องให้วิชาชีวิตติดตัวมาด้วย ทำให้เขากลายเป็นเด็กกิจกรรมตั้งแต่อยู่ชั้นปีที่ 1 เลยทีเดียวช้างน้อยเริ่มย้อนอดีตเมื่อ ปี 2544 ขณะอยู่ชั้นปีที่ 1 และตัดสินใจสมัครคัดเลือกเป็นเชียร์ลีดเดอร์ฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ว่า เขาเป็นนักกิจกรรมอยู่แล้วตั้งแต่เรียนชั้นมัธยม พอมาใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เขาจึงเกิดความคิดว่า การเรียนอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องศึกษาวิชาชีวิตควบคู่ไปด้วย เขาจึงตัดสินใจสมัครเป็นเชียร์ลีดเดอร์ทันที“ตอนนั้นผมอยู่ปี 1 และอยากทำกิจกรรมอะไรสักอย่าง จึงถามรุ่นพี่ว่ามีอะไรให้ทำบ้างไหม และเขาก็แนะนำให้สมัครเป็นเชียร์ลีดเดอร์ของมหาวิทยาลัย ผมจึงสมัคร และได้เป็นเชียร์ลีดเดอร์ฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 54 จากนั้นก็ได้เป็นเชียร์ลีดเดอร์ฟุตบอลประเพณีเรื่อยมาจนถึงปี 3 และพอชั้นปีที่ 4 ผมได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานชุมนุมเชียร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”ช้างน้อยเล่าว่า ตลอด3 ปีของการเป็นเชียร์ลีดเดอร์เขาต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก ประหนึ่งว่าซ้อมก่อนนักฟุตบอลแต่เลิกทีหลัง“ในแต่ละวันของการฝึกซ้อมเชียร์ลีดเดอร์ เป็นช่วงชีวิตที่เหนื่อยและหนักมาก เพราะต้องซ้อมกันหนักมาก วิ่งวนรอบสนามฟุตบอลวันละหลายรอบกลางแดดร้อนๆ ลงมาฝึกซ้อมเชียร์ก่อนนักฟุตบอล แต่เลิกซ้อมหลังนักฟุตบอลทุกวัน เรียกว่าช่วงนั้นแข็งแรงสุดๆ แต่ก็สอนให้เรามีความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ”เมื่อถามว่าทำกิจกรรมฟุตบอลประเพณีมาถึง4 ปี ประทับใจช่วงไหนของการทำกิจกรรมมากที่สุด ชายหนุ่มตอบด้วยน้ำเสียงสดใสว่า ทุกช่วงปีประทับใจหมด แต่ถ้าจดจำอย่างไม่รู้ลืมก็คือ การเข้ามารับหน้าที่เป็นประธานชุมนุมเชียร์ธรรมศาสตร์ เพราะช่วงนั้นต้องงัดกลยุทธ์หลายวิถีทาง เพื่อให้รุ่นน้องสมัครใจมานั่งจนเต็มสแตนเชียร์“หน้าที่ของประธานชุมนุมเชียร์ คือต้องหาวิธีต่างๆ มาจูงใจให้รุ่นน้องทุกคนสมัครใจมาขึ้นสแตนเชียร์ด้วยตัวเอง โดยเราไปบังคับไม่ได้ ทั้งทำวารสารเชิญชวน จัดรถรับส่งจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตมาส่งยังสนามศุภชลาศัย คือต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ทุกคนมานั่งเต็มสแตนเชียร์ อีกทั้งต้องคิดธีมและคอนเซ็ปต์ในการแปรอักษรเองด้วย ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายแต่ผมก็ทำด้วยความสุขใจ และประทับใจไม่มีวันลืม”

เช่นเดียวกับ “กี๋-วิสทา” ที่เป็นศิษย์น้องร่วมสถาบันเดียวกันกับช้างน้อย เธออาจไม่ได้เริ่มต้นเป็นเชียร์ลีดเดอร์ตอนปี 1 เหมือนดั่งเพื่อนๆ คนอื่น เพราะอยู่ในช่วงปรับตัวให้เข้ากับสถานที่เรียน และวิชาการใหม่ๆ เมื่อทุกอย่างลงตัวเจ้าตัวจึงสมัครคัดเลือกเป็นเชียร์ลีดเดอร์ฟุตบอลประเพณี ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3“สำหรับกี๋การมาเป็นเชียร์ลีดเดอร์ในชั้นปี 3 ค่อนข้างเป็นเรื่องประหลาด เพราะหลายคนเขาจะเป็นกันตั้งแต่ชั้นปี 1 เพราะเรารอให้การเรียนลงตัวก่อนถึงไปสมัคร ซึ่งตอนนั้นก็ปี 3 แล้ว เราเริ่มรู้แล้วว่าต้องวางแผนการเรียนและการทำกิจกรรมอย่างไร ให้มีความสมดุลและลงตัวมากที่สุด เพราะกี๋ต้องการให้เรื่องการเรียนและกิจกรรมไปด้วยกันอย่างลงตัว”ถึงแม้ว่าจะเป็นคนเต้นไม่เก่ง แต่สาวกี๋ก็พกความมั่นใจไปเต็มร้อย เพื่อเข้ารับการคัดเลือก“วันคัดเลือกเชียร์ลีดเดอร์ เราต้องไปคัดเลือกที่ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ต้องเต้นเชียร์ท่ามกลางผู้คนที่มาชมและต่อหน้าคณะกรรมการ เต้นเหมือนคนอื่นก็คงจะไม่เท่าไหร่ แต่ที่ยากสุดคือ ให้เราคิดท่าเชียร์ขึ้นมาเอง และต้องเต้นโชว์ให้คณะกรรมการและผู้ชมทุกคนดู ซึ่งเราเป็นคนเต้นไม่เป็นเลย แต่โชคดีที่มีเพื่อนอีกคนคิดท่าเต้นให้ ทุกอย่างจึงผ่านไปได้ด้วยดี ตอนคัดเลือกว่ายากแล้ว ตอนซ้อมหนักที่สุด ซ้อมตั้งแต่เย็นจนถึงตีสามของอีกวันเป็นประจำทุกวัน แถมตอนเช้าก็ต้องตื่นมาเรียนอีก ช่วงนั้นเป็นอะไรที่หนักแต่ก็สนุกมากค่ะ”กี๋เล่าถึงความประทับใจ เมื่อครั้งที่เป็นเชียร์ลีดเดอร์ฟุตบอลประเพณีว่า ในวันงานฟุตบอลจริงทำให้เธอได้รู้ซึ้งและเข้าใจว่า ทำไมที่ผ่านมาถึงต้องฝึกซ้อมอย่างหนักทุกวัน เพราะการทำงานเป็นทีมสำคัญที่สุด“พอถึงวันงานจริงๆ กี๋รู้แล้วว่าทำไมเราต้องซ้อมวิ่งรอบสนามวันละหลายสิบรอบ เพราะเราต้องเชียร์ไปและยืนยิ้มระหว่างการเชียร์ตลอดเวลา ถึงอากาศจะร้อนแค่ไหนเราก็ต้องยิ้ม รวมถึงกี๋ได้เห็นพลังความสามัคคีของคนร่วมสถาบันเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำเชียร์ ประธานชุมนุมเชียร์ นิสิตนักศึกษา นักฟุตบอล ที่ผนึกกำลังทำให้กิจกรรมสานความสามัคคีระหว่างสองสถาบัน ผ่านไปอย่างสวยงามทุกปี มันทำให้การฝึกซ้อมอันแสนหนักหน่วงก่อนหน้านี้ หายไปเป็นปลิดทิ้ง มีแต่รอยยิ้มและความประทับใจเข้ามาแทนที่” กี๋เผยวินาทีประทับใจ

แต่ถ้าจะพูดถึงเชียร์ลีดเดอร์ในตำนาน ต้องยกให้กลุ่มสาวสวยเชียร์ลีดเดอร์ของธรรมศาสตร์ รุ่น 59 หรือเมื่อปี 2546 ที่มีทั้ง จุ๋ย-วรัทยา นิลคูหา นางเอกชื่อดัง “หมิง-อรินทร์มาศ (ชื่อเดิม ชาลิสา) บุญครองทรัพย์” ที่ปลายปีนั้นเธอได้คว้าตำแหน่งนางสาวไทยมาครอง และ “แพม-สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล” (ชื่อเดิม อรอาภา สุสมากุลวงศ์) แห่งซูเปอร์ริช เซเลบสาวคนสวยที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นดาวมหาลัยของธรรมศาสตร์ในยุคนั้น และถัดมาอีกเพียงไม่กี่ปี ในเชียร์ลีดเดอร์รุ่น 61 ก็มีสาวสวยเก่งอีกคนหนึ่ง นั่นคือ “มาดามเดียร์-วทันยา วงษ์โอภาสี” ที่กำลังโด่งดังเป็นดาวสภาทุกวันนี้

อีกหนึ่งทายาทสื่อคนดัง “ดร.แคทลีน มาลีนนท์” ก็เป็นเชียร์ลีดเดอร์จุฬาฯ รวมไปถึง “แพรวา พงศธร” ก็เคยเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว ส่วนสาวเสียงดี “มัดหมี่-พิมดาว พานิชสมัย” แห่งคณะศิลปกรรมศาสตร์ ก็ได้เป็นผู้อัญเชิญพานพุ่มรุ่นเดียวกับดาราคนสวย “แต้ว-ณฐพร เตมีรักษ์”

ส่วนสาวนักกฎหมาย “โอ๋-อภิชญา ณ ระนอง” ก็เป็นดาวโรงเรียนมาตั้งแต่สมัยเตรียมอุดมฯ ทั้งถือป้าย เป็นดรัมเมเยอร์ ทำกิจกรรมในทุกเทศกาลไม่ว่างเว้น พอเข้าเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้เป็นเชียร์ลีดเดอร์งานฟุตบอลรุ่นที่ 59 ด้านสาวเท่ “กุ๊กกุ๊ก-รัสวดี ควรทรงธรรม” ทายาทแห่งเครือเซนต์จอห์น ก็ได้เป็นลีดรุ่นที่ 65 ปีเดียวกับพระเอกหน้าตี๋ อาเล็ก-ธีรเดช

นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารสาวสวย วรรณธิดา ศุภจริยาวัตร Assistant International Relations Manager บมจ.การบินไทย และคนดังอย่าง เจนนี่-รัตนพิมพ์ วสุรัตน์ ที่เคยผ่านการเป็นเชียร์ลีดเดอร์มาแล้วด้วยคร่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0