โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

รฟท.เร่งสรุปแบบรถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางจิระ

TNN ช่อง16

อัพเดต 16 ก.ค. 2562 เวลา 04.22 น. • เผยแพร่ 16 ก.ค. 2562 เวลา 04.22 น. • TNN Thailand
รฟท.เร่งสรุปแบบรถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางจิระ
การรถไฟแห่งประเทศไทย ขีดเส้น 30 วันสรุป แบบทางคู่ผ่านเมืองนครราชสีมา ทุบ-ไม่ทุบสะพานสีมาธานี พร้อมถกวางมาตรการรองรับ

วันนี้ (16 ก.ค.62) นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงโครงการรถไฟทางคู่สายมาบกะเบา-ชุมทางจิระ สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางจิระ ว่า การปรับรูปแบบการก่อสร้างช่วงผ่านเมืองนครราชสีมา(โคราช)เขตอำเภอสีคิ้ว ซึ่งมีเป็นทางรถไฟยกระดับ 2 ทางเลือก คือ ทุบหรือไม่ทุบสะพานสีมาธานี ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. ให้เร่งสรุปรูปแบบ โดยหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือกรมทางหลวง(ทล.) ให้ได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือนและให้นำเสนอข้อสรุปต่อบอร์ดในการประชุมเดือนส.ค.
ทั้งนี้ เนื่องจากจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติ ในการเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างซึ่งต่างไปจากมติครม.เดิม และต้องมีการปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการอีกด้วย โดยตั้งเป้าจะเปิดประมูลก่อสร้างในส่วนของสัญญา 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางจิระ ภายในปี 2562
ด้าน นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟท. ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ได้สรุปรูปแบบช่วงผ่านเขตอำเภอสีคิ้วว่า  จะเป็นรูปแบบไม่ทุบสะพานสีมาธานี ซึ่งก่อสร้างทางรถไฟยกระดับระยะทาง 3.7 กม. หรือ จะเป็นรูปแบบทุบสะพานสีมาธานี  ซึ่งจะก่อสร้างทางรถไฟยกระดับระยะทางประมาณ 5 กม. โดยบอร์ดให้รฟท.เร่งหาข้อสรุป  ซึ่งจะเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อนัดประชุมร่วมกับกรมทางหลวงและสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เพื่อเลือกรูปแบบที่เหมาะสมและมีผลกระทบน้อยที่สุด  ซึ่งก่อนหน้านี้มีการหารือนอกรอบกับกรมทางหลวง บ้างแล้ว แต่จะต้องพิจารณาผลกระทบรอบด้าน  เนื่องจากรถไฟทางคู่จะใช้เวลาก่อสร้างเกือบ 4 ปี
รายงานข่าว ระบุว่า สะพานสีมาธานี เป็นสะพานหลักที่มีปริมาณจราจรหนาแน่นและมีปัญหาอยู่แล้ว หากทุบสะพานจะยิ่งทำให้เกิดปัญหาหนัก  ทั้งนี้ หากความเห็นของผู้ออกแบบกรณีไม่ทุบสะพานสีมาธานี มีความเหมาะสมกว่า เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อการจราจร ใช้งบประมาณน้อยกว่าส่วนแบบที่ต้องทุบสะพานสีมาธานี จะมีปัญหาจราจรอย่างหนัก 2-3 ปี ใช้ค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 1,336 ล้านบาท

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0