โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รพ.จุฬาฯ แถลง ทายาทเด็กหลอดแก้วคนแรกของไทย

JS100

เผยแพร่ 18 ธ.ค. 2561 เวลา 09.19 น. • JS100:จส.100
รพ.จุฬาฯ แถลง ทายาทเด็กหลอดแก้วคนแรกของไทย
รพ.จุฬาฯ แถลง ทายาทเด็กหลอดแก้วคนแรกของไทย

ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อาจารย์แพทย์ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยนายปวรวิชญ์ ศรีสหบุรี เด็กหลอดแก้วคนแรกของประเทศไทย และศ.กิตติคุณ นพ.ประมวล วีรุตมเสน ที่ปรึกษาหน่วยชีว วิทยาการเจริญพันธุ์ ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  แถลงข่าว “ทายาทเด็กหลอดแก้วคนแรกของไทย”  

นพ.กำธร กล่าวว่า หลังจากผ่านการเกิดของเด็กหลอดแก้วคนแรกของไทย เมื่อปี 2530 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ก็ยังเฝ้าติดตามสุขภาพของเด็กหลอดแก้วคนแรกอย่างต่อเนื่อง จากการติดตามพบว่านายปวรวิชญ์ หรือ ‘มุ้งมิ้ง’ มีสุขภาพและพัฒนาการดีอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ที่ผ่านมาก็ได้ให้กำเนิดทายาทโดยธรรมชาติ ซึ่งทำให้เห็นว่า เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์นี้ เป็นขั้นตอนการเจริญพันธุ์ ตามธรรมชาติได้ตามปกติ  ซึ่งเรื่องนี้เทียบเท่ากับต่างประเทศ ที่เด็กหลอดแก้วคนแรกของโลกก็สามารถมีบุตรได้ตามปกติเช่นกัน  

นพ.กำธร กล่าวด้วยว่า ขณะนี้อัตราการเกิดของไทยลดลงเหลือร้อยละ1.5 สูงกว่าสิงคโปร์เล็กน้อย ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะทำให้ไทยถูกผลักเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วขึ้น ในต่างประเทศมีการเสนอให้นำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากองค์การอนามัยโลกกำหนดให้อัตราการเกิดควรอยู่ที่  ร้อยละ 2.1 

ด้านนายปวรวิชญ์ กล่าวว่า สุขภาพร่างกายของตนแข็งแรงมาโดยตลอด ส่วนตัวชอบออกกำลัง เมื่อมีครอบครัว ก็มีความห่วงกังวลเล็กน้อย ว่า จะสามารถมีบุตรตามธรรมชาติได้ตามปกติหรือไม่  ซึ่งก็เป็นความโชคดี  ที่ตนและภรรยา สามารถมีบุตรได้ตามธรรมชาติ 

ส่วน ศ.กิตติคุณ นพ.ประมวล กล่าวว่า สิ่งที่ยังห่วงกังวลขณะนี้คือเรื่องของการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์อย่างฟุ่มเฟือย อยากให้แพทย์พิจารณาใช้ความรู้ช่วยเหลือเรื่องการเจริญพันธุ์อย่างเหมาะสม เริ่มจากการใช้องค์ความรู้ปรับแก้ไขพฤติกรรม สร้างร่างกายแข็งแรงก่อนมีบุตร  และสิ่งสำคัญคือการใช้เทคโนโลยี  ต้องคำนึงถึงหลายอย่างและต้องรู้ว่า ใช่ว่าทุกคนจะสามารถมีบุตรได้ เมื่อถึงที่สุดแล้วก็ควรหยุด โดยร้อยละ30 ของคู่สมรสใช่ว่าทุกคนจะสามารถมีบุตร

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0