โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รปภ.สนามบิน ถูกป้าหัวร้อนขับรถทับร่างยังสาหัส หมอยัน ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมจริง

Amarin TV

เผยแพร่ 21 ส.ค. 2561 เวลา 09.12 น.
รปภ.สนามบิน ถูกป้าหัวร้อนขับรถทับร่างยังสาหัส หมอยัน ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมจริง
จากเหตุการณ์ที่นางสาวภัทรา อายุ 69 ปี ขับรถกระบะพุ่งชนนายวัชระ ไชยวงศ์ เจ้าหน้าทีรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานเชียงใหม่ ที่มาทำหน้าที่อำนวยควา

จากเหตุการณ์ที่นางสาวภัทรา อายุ 69 ปี ขับรถกระบะพุ่งชนนายวัชระ ไชยวงศ์ เจ้าหน้าทีรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานเชียงใหม่ ที่มาทำหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร ได้รับบาดเจ็บสาหัส และรถยนต์มีที่อยู่ใกล้กันเสียหายอีก 4 คันเนื่องจากไม่พอใจที่ถูกล็อกล้อ เพราะจอดไว้นานกว่า 1 ชั่วโมง บริเวณจุดรับส่งผู้โดยสาร อาคารผู้โดยสารในประเทศ ท่าอากาศยานเชียงใหม่

รถคันที่ก่อเหตุ
รถคันที่ก่อเหตุ

โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนางสาวภัทราพร้อมรถที่ก่อเหตุไปที่สถานีตำรวจภูพิงคราชนิเวศน์ ซึ่งในชั้นสอบสวนได้ให้การสับสนและวกวนไปมา จากนั้นทางญาติได้ยื่นเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานว่า นางสาวภัทราป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมและความจำเสื่อม ซึ่งเบื้องต้น พนักงานสอบสวนอนุญาตให้กลับไปก่อน แต่ได้ขอยึดรถกระบะไว้ตรวจสอบ

เจ้าหน้าที่ช่วยนำตัวนายวัชระส่ง รพ.
เจ้าหน้าที่ช่วยนำตัวนายวัชระส่ง รพ.

วันที่ 21 ส.ค. 61 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงศิวาพร จันทร์กระจ่าง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยา ในฐานะอุปนายกสมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เคยตรวจรักษาและให้คำปรึกษากับนางสาวภัทรา เปิดเผยว่า ผู้ป่วยรายนี้เคยเข้ารับการตรวจรักษาและขอรับคำปรึกษาทางการแพทย์ที่คลินิกส่วนตัวของตัวเอง โดยมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ เช่น ขับรถหลงทางและลืมโน่นลืมนี่ ซึ่งเป็นอาการของโรคสมองเสื่อม จากนั้นช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ได้ไปรักษาที่ศูนย์โรคสมองภาคเหนือและโรงพยาบาลประสาทด้วย

ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนั้น จะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำและปัญหาพฤติกรรมทางอารมณ์-ซึมเศร้า-ก้าวร้าวและหงุดหงิดง่ายกว่าคนปกติทั่วไป รวมทั้งมีปัญหาในการดูแลตัวเองหากมีอาการรุนแรง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่พบนั้น มักจะหลงลืมและมีพฤติกรรมทางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

สำหรับการขับขี่รถยานพาหนะของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนั้น รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงศิวาพร เห็นว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมยังสามารถขับขี่ยานพาหนะได้ตามปกติ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ เพียงแต่เป็นห่วงว่าอาจจะหลงลืมเส้นทาง ซึ่งหากเป็นไปได้ควรมีคนนั่งไปด้วย

รศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยา
รศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยา

ส่วนอารมณ์หงุดหงิดก้าวร้าวของผู้ป่วยนั้น หากมีปัจจัยมากระตุ้น จะทำให้แสดงพฤติกรรมออกมามากกว่าคนปกติและควบคุมอารมณ์ได้ยากกว่าคนที่ไม่ได้ป่วย ซึ่งเป็นผลที่มาจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ ทั้งนี้ การดูแลรักษาผู้ป่วยนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่การรักษาด้วยยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยาซึ่งการรักษาในกรณีที่ไม่ใช้ยานั้น คนดูแลผู้ป่วยถือว่ามีความสำคัญที่สุดทำให้ควรจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นญาติ หรือคนที่รับจ้างดูแล พร้อมกันนี้ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเป็นสังคมผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม สามารถป้องกันการป่วยด้วยโรคนี้ได้ด้วยการออกกำลังกายการบริหารสมอง และลดความดันโลหิตสูง

ขณะเดียวกันรายงานข่าวแจ้งว่าจากการสอบถามไปยังผู้ใกล้ชิดที่ดูแลผู้หญิงคนดังกล่าว ที่ขับรถชนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานเชียงใหม่บอกว่า วันที่เกิดเหตุผู้หญิงคนนี้ขับรถไปส่งเพื่อนที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ เพื่อไปต่างประเทศและตั้งใจจอดรถชั่วคราวเข้าไปส่งเพื่อนในอาคารผู้โดยสาร แต่ปรากฏว่าในช่วงจะกลับออกมาเกิดอาการหลงลืมเนื่องจากอาการป่วย จนทำให้หาทางออกไม่เจออยู่นานเป็นชั่วโมงกว่าจะออกมาได้ และเจอรถที่จอดไว้ ซึ่งเมื่อมาพบรถถูกล็อกล้อ จึงอาจจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้หงุดหงิดรุนแรง จนก่อเหตุขึ้น โดยที่หลังจากนั้นก็จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว ทั้งนี้ ฝ่ายผู้ก่อเหตุรู้สึกเสียใจกับเหตุที่เกิดขึ้น รวมทั้งได้ยินยอมรับผิดชอบและชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ทั้งการดูแลรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บและทรัพย์สินที่เสียหาย

บรรยากาศขณะช่วยนำตัวนายวัชระส่ง รพ.
บรรยากาศขณะช่วยนำตัวนายวัชระส่ง รพ.

สำหรับนายวัชระ ยังพักรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียู โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยตำรวจเปิดเผยอาการที่รับรายงานจากแพทย์ผู้รักษาว่า บอกว่า มีกระดูกเชิงกราน ไหปลาร้า แขนหัก ภายในช่องท้องมีของเหลวเป็นจำนวนมาก ทำให้ท้องบวม แพทย์เตรียมที่จะเจาะช่องท้อง ทั้งนี้ ภาพรวมถือว่ายังไม่พ้นขีดอันตราย แพทย์ต้องเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0