โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ย้อน ปวศ. 'ซ่าหริ่ม' ของหวานการเมือง ในแฮชแท็กฮิต น.ศ.ไทย

MATICHON ONLINE

อัพเดต 25 ก.พ. 2563 เวลา 05.31 น. • เผยแพร่ 25 ก.พ. 2563 เวลา 04.47 น.
ประวัติศาสตร์-ซ่าหริ่ม

ย้อน ปวศ. ‘ซ่าหริ่ม’ ของหวานการเมือง ในแฮชแท็กฮิต น.ศ.ไทย

เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจยิ่ง เมื่อนักศึกษาไทยแลนด์แดนเรียกร้องประชาธิปไตยในวันนี้ ร่วมกันติดแฮชแท็กของแต่ละมหาวิทยาลัยที่ตนสังกัด เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกและจุดยืนของตนบนหนทางแห่งสิทธิ เสรีภาพ

หนึ่งในคำที่ถูกใช้มากมายในแฮชแท็กเหล่านั้น ไม่น่าแปลกใจว่ามี “สลิ่ม” เป็นส่วนประกอบ อาทิ #มหาวิทยาลัยปลูกกัญชานักศึกษาไม่กินสลิ่ม ของคณะคันนา ม.แม่โจ้ ที่เพิ่งตั้งหมาดๆ โดยออกประกาศในเช้าวันนี้ หรือ #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ ของนิสิต ม.เกษตร ที่รวมตัวพรึบวานนี้ ไหนจะ#BUกูไม่ใช่สลิ่ม ของนักศึกษา ม.กรุงเทพ และอีกมากมาย

ย้อนอ่าน : ส่องแฮชแท็กดัง มหา’ลัยทั่วประเทศ เมื่อเหล่านิสิตนักศึกษาออกมาแสดงพลัง
‘น.ศ.แม่โจ้’ ประกาศจัดตั้ง ‘คณะคันนา’ ติดแฮชแท็ก ‘ปลูกกัญชาไม่กินสลิ่ม’ รวมตัวเย็นนี้

ต่อไปนี้คือที่มาของ“ซ่าหริ่ม” หรือ สลิ่ม ในภาษาปาก จากงานเขียนส่วนหนึ่งของนักโบราณคดีชื่อดัง เพ็ญสุภา สุขคตะ ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ ความตอนหนึ่งว่า

“สลิ่ม” เป็นสำนวนหรือศัพท์สแลงที่นำมาใช้ทางการเมืองไทยร่วมสมัย ดัดแปลงมาจาก “ซ่าหริ่ม” ตามความนิยมที่คนไทยมักเรียกแบบลำลองว่า “สลิ่ม” (สะ-หลิ่ม) มากกว่าที่จะเรียกตรงตัวว่า “ซ่า-หริ่ม”

เมื่อวิเคราะห์จากรูปภาษา “ซ่าหริ่ม” เป็นคำยืมจากชวา จำต้องไปสืบหาขนมหวานของเพื่อนบ้านแถบอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ดูว่ามีขนมในทำนอง “ซ่าหริ่ม” บ้างหรือไม่

ในที่สุดก็พบว่า มีทั้งซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ และลอดช่องสิงคโปร์ ทั้งหมดเป็นขนมแป้งเหนียวใสคล้ายวุ้นเส้นผสมสี ตระกูล Rice Vermicelli ใส่น้ำเชื่อม+กะทิสด ไม่เจือเกลือผสมน้ำตาลปึกแบบขนมมอญ-ไทย

นักนิรุกติศาสตร์ชวาอธิบายว่า Sa-Rim คำนี้พวกเขาเคยใช้ในอดีตนานโขแล้ว เป็นคำยืมจากอินเดียใช้เรียกขนมวุ้นใสเป็นเส้นๆ ที่ใส่กะทิ แต่ปัจจุบันชาวชวา-มลายูเรียกขนมนั้นว่า Dawet ดาเวต เรียกตัวแป้งวุ้นว่าเชนดอล Cendol (Chen-dul/Jendol)

ถึงบางอ้อกันเสียทีว่ากรุงรัตนโกสินทร์รับเอาขนมซ่าหริ่มนี้มาจากชวา ซึ่งก็สอดคล้องกับความสนพระราชหฤทัยของรัชกาลที่ 2 ที่มีต่อวรรณกรรมเรื่องอิเหนา

สำหรับยุคกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าอาจมีซ่าหริ่มมาก่อนแล้วก็เป็นได้ น่าจะเริ่มในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าท้ายสระ) เหตุเพราะในยุคของพระองค์มีนางข้าหลวงชาวมลายูผู้เป็นเชลยจากปัตตานีหลายนางเข้ามาถวายงานรับใช้ในราชสำนัก ภายใต้การกำกับดูแลของพระราชธิดาสองพระองค์ คือเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ ขัตติยนารีทั้งสองโปรดปรานในวัฒนธรรมชวามาก ถึงกับทรงพระนิพนธ์บทละครเรื่องดาหลังและอิเหนาให้พระราชบิดาทอดพระเนตรอยู่เนืองๆ

จึงเชื่อว่า “ซ่าหริ่ม” ขนมนำเข้าจากชวา เข้ามาสู่สยามตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายแล้ว

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0