โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ย้อนรอยปัญหาคอนโดเฟ้อฯ ถึงเวลาส่องทำเล CBD อนาคตใหม่รอบเมืองกรุง

Brand Inside

อัพเดต 23 ส.ค. 2562 เวลา 10.26 น. • เผยแพร่ 23 ส.ค. 2562 เวลา 09.48 น. • Chutinun Sanguanprasit (Liu)
BTS MRT Real estate
BTS MRT Real estate

เมื่อคอนโดมิเนียมผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด นอกจากขยายตัวตามรถไฟฟ้า ยังขยายตัวในต่างจังหวัด แต่ Supply เยอะขนาดนี้จะมากกว่า Demand ที่แท้จริงไหม ?

ลองมาฟังมุมมองของ “พนล ลีลามานิตย์” ตัวแทนฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Development Manager) จาก RAIMON LAND ที่จะเล่าเรื่องสถานการณ์คอนโดฯ ในไทยกัน

พนล ลีลามานิตย์ ตัวแทนฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Development Manager) จาก RAIMON LAND
พนล ลีลามานิตย์ ตัวแทนฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Development Manager) จาก RAIMON LAND

ย้อนรอยปมปัญหาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยมาจากไหน?

ช่วงปี 2009 คนสนใจการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมในหลายพื้นที่ เช่น ย่านรัชดาเมื่อมี Central พระราม 9 มาทำให้เกิด CBD แห่งใหม่ ราคาพื้นที่ต่อตร.ม.เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดยเฉพาะปี 2012-2013 เห็นพฤติกรรมการจองคอนโดฯ ไว้เพื่อนำใบจองมาขายต่อเก็งกำไรมากขึ้น ดังนั้นเมื่อลูกค้าหันมาดูราคาต่อห้อง ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เริ่มปรับตัวตาม โดยทำราคาต่อห้องให้ถูกลงผ่านการปรับขนาดพื้นห้องเล็กลง ปัจจุบันจึงเห็นห้องคอนโดฯ ขนาด 20 กว่าตร.ม. เกิดขึ้น

ดังนั้นตลาดอสังหาฯ ช่วงปี 2009-2015 ถือว่าเติบโตมาก จนปี 2016 มีคนเข้าไปสร้างคอนโดฯ ย่านรถไฟฟ้าสายสีม่วงจำนวนมาก จน Supply คอนโดฯ ย่านสายสีม่วงล้นตลาด ทำให้คนเริ่มซื้อคอนโดฯ เพื่อเก็งกำไรน้อยลงด้วย และเกิดผลกระทบต่อ 1.ผู้ประกอบการอสังหาฯ ขนาดเล็ก (จำนวนห้องไม่เกิน 79 ยูนิต) และ 2. ผู้ประกอบการอสังหาฯ หันมาขยายฐานลูกค้ากลุ่มบนมากขึ้น

พนล ลีลามานิตย์ ตัวแทนฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Development Manager) จาก RAIMON LAND
พนล ลีลามานิตย์ ตัวแทนฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Development Manager) จาก RAIMON LAND

ลมเปลี่ยนทิศ อสังหาคอนโดฯ เร่งปรับตัวรับ Demand จริงที่เหลือในตลาด

พนล เล่าว่า ปัจจุบันอสังหาริมทรัพย์ไทยเข้าช่วงการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อคนที่ซื้อคอนโดฯ เพื่อเก็งกำไรลดลง กลับสู่ Demand ที่ซื้อคอนโดฯ เพื่ออยู่อาศัยจริง โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดฯ Luxury คือราคา 10 ล้านบาทต่อห้อง และ Super Luxury ราคา 20 ล้านบาทต่อห้อง

“ปี 2019 เป็นปีที่ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เหนื่อย เพราะบางรายต้องเร่งขาย Stock ที่อยู่ในมือ และแม้ว่าจะมียอดขายดี แต่ลูกค้าโอนจริงน้อยลง ดังนั้นจะเห็นโครงการอสังหาริมทรัพย์บางที่ชะลอโครงการปรับราคา ปรับดีไซน์ เพื่อรองรับความต้องการของตลาด”

ส่วนหนึ่งเพราะ Demand ของชาวจีนที่เข้ามาซื้อคอนโดฯ ลดลง และคนไทยหันมาซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ตลาดเปลี่ยนคนหันมาดูแบรนด์ ดูรายละเอียดมากขึ้น ดู Design และเลือกบริการมากขึ้นโดยเฉพาะคอนโดระดับ A ขึ้นไป (ราคาที่ 200,000-249,999 บาทต่อตร.ม.) จากเดิมลูกค้ากว่า 70-80% ไม่เลือกในรายละเอียดคอนโด เพราะคนที่จะลงทุนมักเลือกจาก Locations ราคาต่อห้อง ต่อตร.ม. คนซื้อเพื่อปล่อยเช่าน้อยลง  เพราะคนเช่าดูราคาเทียบในพื้นที่ก่อนเลือกคอนโด

“ทุกวันนี้ลูกค้าใช้เวลานานขึ้น เดิมลูกค้าใช้เวลามาดูที่โครงการ 1-2 ครั้งก็ปิดการขายได้ แต่ตอนนี้มาดูโครงการอย่างน้อย 5-6 ครั้งพาคนมาช่วยเลือก ซึ่งบางทีก็ปิดการขายไม่ได้ ตอนนี้จะขายคอนโดฯ ได้ต้องทำ Product ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในทำเล CBD ที่ที่ดินมีน้อยลง”

พนล ลีลามานิตย์ ตัวแทนฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Development Manager) จาก RAIMON LAND
พนล ลีลามานิตย์ ตัวแทนฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Development Manager) จาก RAIMON LAND

อสังหาฯ แข่งดุขยายธุรกิจใหม่ สร้างทำเล CBD ใหม่รอบกรุง

เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งขยายมาฐานลูกค้ากลุ่ม Luxury และ Super Luxury ในพื้นที่ CBD เดิมในกรุงเทพ (เช่น กรุงเทพชั้นในซึ่งแต่ละบริษัทตั้งขอบเขต CBD ไม่เหมือนกัน) รวมถึงขยายธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น Raimon Land ปัจจุบันขยายสร้างตึกออฟฟิศย่านเพลินจิต อยู่ระหว่างการศึกษาธุรกิจโรงแรมทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ยังเห็นเทรนด์ การสร้าง Mixed-Use ในพื้นที่ใจกลางกรุง แต่ยังมีเงื่อนไขหลักคือ ต้องหาพื้นที่ขนาด 3 ไร่ขึ้นไป ทำให้ปัจจุบันเห็นการขยายไปยังพื้นที่นอกเมืองมากขึ้น

ทั้งนี้เริ่มเห็นขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สร้าง CBD รอบเมืองกรุงเทพ ซึ่งจะมีจุดเชื่อมกับพื้นที่เมืองชั้นใน เชื่อมกับระบบขนส่งสาธารณะ เช่น ย่านสุขุมวิท Wisdom 101, พระราม 9,พระราม 3, Westgate, Iconsiam ฯลฯ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0