โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ย้อนดูไทม์ไลน์ คนโซเชียลคิดอย่างไรกับประเด็น CPTPP

PPTV HD 36

อัพเดต 22 มิ.ย. 2563 เวลา 10.02 น. • เผยแพร่ 22 มิ.ย. 2563 เวลา 08.50 น.
ย้อนดูไทม์ไลน์ คนโซเชียลคิดอย่างไรกับประเด็น CPTPP
ประเด็น CPTPP ถูกพูดถึงอย่างมากตั้งแต่ช่วงเมษายน โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย ที่เริ่มรับรู้ถึงเรื่องราวของ CPTPP แต่เป็นไปในเชิงคัดค้านเสียมากกว่า เช่น #NoCPTPP,#คัดค้านCPTPP และกระแสก็เริ่มเงียบไปช่วงเดือน พ.ค. จนล่าสุดกลับมาพีคอีกครั้ง เมื่อ รัฐบาลพยายามยื่นเรื่องเข้า ครม. ครั้งที่ 3 ช่วง มิ.ย.

Wisesight ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดีย รวบรวมกระแสในโซเชียลมีเดีย ที่มีการพูดถึง ประเด็น  CPTPP ช่วงวันที่ 2 เม.ย.-10 มิ.ย. 2563 พบว่า มี 3 ประเด็นใหญ่ๆ ที่ถูกกล่าวถึงบนโซเชียลมีเดีย

ทำไมคนไทยถึงคัดค้าน CPTPP ?

ย้ำอีกครั้ง ข้อดี-ข้อเสีย ไทยเข้าร่วม CPTPP หลังเอกชนแสดงจุดยืนสนับสนุน

ประเด็นแรก 84% คือการติด ดัน ปั่น Hashtag ให้ติดเทรนด์ทวิตเตอร์  เป็นการติด Hashtag เพื่อสร้างจุดยืนซึ่ง Hashtag ที่ถูกใช้มากที่สุดคือ #NoCPTPP รองลงมา #คัดค้าน CTTPP และ #NoCPTPPday5  นอกนั้นก็จะเป็น  Hashtag อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องประมาณ  4 Hashtag เช่น  #CPTPP #ไม่เอาCPTPP #NoCPTPPday7 #NoCPTPPday6

“อนุทิน” ค้าน ไทยเป็นสมาชิก “CPTPP” ชี้ ทำลายระบบสุขภาพปชช.

ขณะเดียวกันชาวทวิตเตอร์ส่วนหนึ่ง หรือคิดเป็น 11% ยังทวีตข้อความว่า “ช่วยกันปั่น” “ดัน” Hashtag เพื่อให้เกิดกระแส จึงเป็นที่มา “ดัน ปั่น แท็กให้ติดเทรนด์”

“ ชาวทวิตเตอร์เชื่อว่าหาก Hashtag ไม่ซ้ำกัน มีโอกาสที่ประเด็นดังกล่าวจะสามารถขึ้นเทรนด์ได้ง่ายกว่า การใช้ Hashtag เดิม จึงเกิดเป็น Challenge เปลี่ยน Hashtag ในทุกๆวัน”

นอกจากเรื่อง การ ติด ดัน ปั่น Hashtag แล้ว เรื่องต่อมาที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจกับ CPTPP คือ การพูดถึงกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของนโยบาย CPTPP  (คิดเป็น 6%)

ซึ่งกลุ่มที่ชาวโซเชียลกล่าวถึงมากที่สุด คือ “เกษตรกร” (81%) เนื่องจากนโยบายดังกล่าวกระทบต่อภาคเกษตร ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย

และผลกระทบที่เกษตรกรได้รับผลกระทบ แบ่งเป็นเรื่อง เมล็ดพันธุ์, ต้นทุนในการผลิต, ผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนโยบาย CPTPP, ภาระหนี้สิน, รู้สึกเกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบ

ในขณะที่ “กลุ่มนายทุน” ถูกพูดถึง 14% ชาวโซเชียลส่วนใหญ่มองว่า กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบาย CPTPP อีก 5% เป็นส่วนที่ประชาชนจะเสียประโยชน์ เพราะสินค้าต่างๆ จะมีราคาสูงขึ้น

นอกจาก 2 ประเด็นใหญ่แล้ว ประเด็นอื่นๆ อีก 10% คือ การทำงานของรัฐบาล ซึ่งกล่าวถึงขั้นตอนการเสนอโครงการ “CPTPP” เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยชาวโซเชียล

“อยากให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นวันที่พิจารณานำโครงการเข้า ครม. ศึกษาผลกระทบของนโยบายและออกมาอธิบายให้ประชาชนเข้าใจถึงนโยบายดังกล่าว”

“จุรินทร์” ขอถอน CPTPP ออกจากวาระที่ประชุมครม.

 

 

ขณะที่มีชาวโซเชียลกลุ่มหนึ่งแสดงความคิดเห็นคัดค้านและคัดค้านผ่าน Platform ชื่อดังอย่าง “Change.org” รวมทั้งมีการกล่าวถึงคุณปารีณา ไกรคุปต์ พร้อมทั้งติดแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับโครงการ CPTPP ตลอดจนการพูดถึง “พลังของสื่อ” ที่เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอข้อความและเผยแพร่ความเข้าใจเรื่อง CPTPP ให้ประชาชนเข้าใจเรื่องนี้มากยิ่งอื่น

เชื่อว่าประเด็น CPTPP นี้จะยังคงถูกจับตามองอยู่ต่อเนื่อง ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่สามารถอธิบายให้ประชาชนเข้าใจได้ถึงข้อดี-ข้อเสียที่แท้จริงว่าไทยควรจะเข้าร่วมหรือไม่

30 วัน ชี้ชะตา ไทยร่วม CPTPP หรือไม่ เปิดตัว 12 กมธ.ศึกษาผลกระทบ ตั้งบอร์ดเล็ก ถก 3 ด้าน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0