โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ยืนนานๆ ส่งผลต่อร่างกาย จะมีวิธีแก้อย่างไร

SpringNews

เผยแพร่ 04 มิ.ย. 2561 เวลา 08.18 น. • SpringNews
ยืนนานๆ ส่งผลต่อร่างกาย จะมีวิธีแก้อย่างไร

คนที่ทำงาน ที่ต้องยืนนานๆ อย่าง รปภ. การยืนขายของ หรือการยืนทำงานในโรงงานมักจะประสบปัญหาอาการปวดน่อง เท้า และหลัง เป็นประจำ รวมถึงทำให้เกิดอาการหลอดเลือดขอด จะส่งผลเสียต่อร่างกายของเราแน่ๆ

การยืนนานๆ จะส่งผลให้ร่างกายมีอาการ

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง และต้นขา ที่แบกรับน้ำหนักตัว ถ้าต้องทำงานที่ยืนอยู่นิ่งๆ กล้ามเนื้อน่องก็จะเกร็งตัวตลอดเวลา จะทำให้มีของเสียคั่งค้าง เกิดอาการปวดเมื่อยได้
  • อาการปวดเมื่อยเท้า น้ำหนักตัวที่กดทับอยู่ ก็จะทำให้การไหลเวียนเลือดในกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ใต้อุ้งเท้าไม่ดี ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยคือ ฝ่าเท้าอักเสบ หรือรองช้ำนั่นเอง
  • หลอดเลือดขอด หนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดหลอดเลือดขอด คือการยืนนาน และการกดทับของหลอดเลือดดำใหญ่บริเวณต้นขา พบได้บ่อยในอาชีพที่ต้องยืนทำงานนาน หญิงตั้งครรภ์ และคนอ้วน
  • ปวดเข่าและหลัง การยืนปกติทำให้เกิดแรงกดที่หัวเข่า เพราะน้ำหนักตัวจะผ่านลงไปที่เข่า เมื่อเมื่อยล้าร่างกายจะพยายามทำการล็อกหัวเข่า ทำให้เข่าแอ่น มีแรงกดที่ผิดปกติที่หัวเข่า ทำให้ปวดบริเวณหัวเข่าได้ง่าย และการยืนในลักษณะนี้จะมีผลทำให้หลังแอ่นมากขึ้น มีผลทำให้ปวดเมื่อยหลังด้วย

วิธีป้องกันผลเสียจากการยืนนาน

  • ยืนบนพื้นนิ่ม ซึ่งจะช่วยลดแรงกดที่เท้า
  • ใส่รองเท้าที่มีพื้นนิ่มและหลวมเล็กน้อย
  • ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงในการทำงาน แต่ในกรณีที่เจ็บส้นเท้า อาจใส่รองเท้าส้นสูงได้ แต่ไม่เกิน 2 นิ้ว เพื่อช่วยลดแรงกด
  • ยืนเท้าโต๊ะสูง โดยใช้แขนหรือศอกรับน้ำหนักตัวทางด้านหน้า สลับกับการพิงผนังเป็นครั้งคราว
  • พักการยืนบ่อยๆ หย่อนขาข้างหนึ่ง เป็นพักๆ
  • ใช้เก้าอี้กึ่งนั่งกึ่งยืน
  • ถ้าทำงานที่สามารถทำได้ขณะยืนและนั่ง ให้ยืนสลับนั่ง
  • เมื่อรู้สึกเมื่อยให้เดินไปมาสัก 2-3 นาที จึงค่อยนั่งลง ยกขาให้เท้าอยู่สูงประมาณระดับเข่า
  • เมื่อกลับถึงบ้าน ให้นอนเอาเท้ายันกำแพง ให้เท้าอยู่สูงจากพื้นประมาณครึ่งเมตร แล้วกระดกปลายเท้าขึ้น สลับกันทั้งสองข้าง ประมาณ 10 นาที รวมถึงออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ

ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิหมอช้าวบ้าน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0