โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ยาเจริญอาหาร ช่วยให้ลูกกินข้าวได้จริงมั้ย อันตรายหรือเปล่า?

GedGoodLife

เผยแพร่ 19 พ.ย. 2562 เวลา 04.06 น. • Ged Good Life ชีวิตดีดี
ยาเจริญอาหาร ช่วยให้ลูกกินข้าวได้จริงมั้ย อันตรายหรือเปล่า?

เวลาที่ลูกไม่กินข้าว กินยาก ตัวเล็ก น้ำหนักน้อย คนเป็นแม่อาจจะเคยมองหาตัวช่วยที่ชื่อว่า “ยาเจริญอาหาร” แล้วยาเจริญอาหาร คือ ยาอะไรกันแน่ มีผลให้ลูกกินข้าวมากขึ้นได้อย่างไร แล้วอันตราย หรือมีผลข้างเคียงอะไรกับลูกบ้างไหม ?

ยาเจริญอาหาร คือ ยาอะไร ?

ยาเจริญอาหาร ที่นิยมกัน มี 2 ชนิด คือ

1. ยาประเภทพิโซติเฟน (Pizotifen) เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้แพ้ ซึ่งปกติใช้รักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนหรืออาการปวดศีรษะข้างเดียว แต่พบว่าเป็นยาที่มีฤทธิ์เพิ่มความอยากอาหารได้ จึงนำมาใช้ในยาเจริญอาหาร

2. ยาประเภทซัยโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) จัดเป็นยาที่มีฤทธิ์เป็นยาแก้แพ้และมีฤทธิ์กระตุ้นให้อยากอาหาร เป็นยากลุ่มที่ใช้กันมากที่สุด

ยาเจริญอาหาร อันตรายไหม ?

มีการถกเถียงกันว่า ยาเจริญอาหารใช้ได้ผลจริง ๆ ไหม ช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้จริงหรือ แล้วมีอันตรายไหม ?

สำหรับการใช้ยาเจริญอาหาร แม้อาจจะช่วยให้เด็กอยากกินอาหารมากขึ้น แต่เป็นยาที่มีผลข้างเคียงมาก ซึ่งไม่ควรซื้อมาให้ลูกกินเอง หรือขอกับแพทย์ให้แพทย์สั่งจ่ายให้ เพราะโดยตัวยาแล้ว เป็นยาต้านฮีสตามีน หรือยาแก้แพ้ ไม่ใช่ยา หรือ วิตามินสำหรับบำรุงร่างกายโดยเฉพาะ

- เด็กที่ไวต่อยา ยาเจริญอาหารนี้อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย มือสั่นได้
- อาจทำให้ง่วงนอน ซึ่งจึงอาจมีผลต่อสมาธิ การเรียนหนังสือของเด็กได้
- อาจเกิดพิษได้ง่าย ในเด็กต่ำกว่า 1 ปี
- ยาอาจไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต ที่เร่งการเจริญเติบโตได้ ซึ่งมีผลให้อาจ-
- ทำให้เด็กตัวเตี้ยลง
- ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่เมื่อหยุดยาน้ำหนักตัวจะไม่เพิ่ม และอาจลดลงด้วยซ้ำ
- ในผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ หากกินยาเจริญอาหาร อาจมีผลให้ ปากแห้ง คอแห้ง ถ่ายปัสสาวะลำบาก ท้องผูก ตาลาย ความดันโลหิตต่ำลง จึงส่งผลต่อปัญหาวูบ และล้มในผู้สูงอายุได้

ยาเจริญอาหาร
ยาเจริญอาหาร

ถ้าลูกไม่กินข้าว ทำอย่างไรดี ?

- หาสาเหตุให้เจอ ที่ลูกกินข้าวไม่ได้ กินข้าวได้น้อย ต้องหาสาเหตุให้เจอ เพื่อจะแก้ไขได้ถูกจุด เพราะ เช่น อาจจะเป็นไปตามช่วงวัย คือ ห่วงเล่น ติดเล่น มากกว่าการกิน พ่อแม่ก็ต้องปรับพฤติกรรมของลูก หรือ ที่ลูกกินได้น้อย ไม่กินข้าว อาจเกิดจากอาการป่วย

- ฝึกวินัยการกิน เป็นด่านแรก ที่ต้องฝึกกันตั้งแต่เด็ก ๆ คือ ฝึกวินัยการกินให้ลูก จับลูกให้นั่งกินข้าว ฝึกกินอาหารเป็นเวลาบนโต๊ะอาหาร หากทำได้ตั้งแต่เด็ก ๆ คือ ตั้งแต่ยังต้องป้อนข้าวกันจะดีมาก

- ให้กินเป็นเวลา อย่าใจอ่อน เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น ให้ลูกนั่งกินอาหาร กินข้าวเองตามเวลา คือ ในหนึ่งมื้อไม่ควรใช้เวลานาน 30-40 นาที ไม่มีของเล่น มือถือมาหลอกล่อระหว่างการกิน ให้ลูกมีสมาธิกับการกินอาหาร ถ้าลูกไม่ยอมกิน เมื่อถึงเวลาให้หยุดกิน แล้วรอกินอีกทีในมื้อถัดไป อย่าใจอ่อนให้ขนม ของว่าง เมื่อลูกหิวเขาจะค่อย ๆ กินได้เอง

- ปรับเมนูอาหารให้น่ากิน เป็นวิธีการเบสิค แต่ลองปรับเปลี่ยนเมนูอาหารที่โดนใจลูก เปลี่ยนวิธีการทำ จากต้มเป็นตุ๋น จากย่างเป็นทอด ค่อย ๆ หา หรือสังเกตว่าลูกชอบกินเมนูแบบไหน แต่ไม่ควรให้ลูกกินอาหารแบบเดิมซ้ำ ๆ เพราะอาจจะทำให้ได้สารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการไม่ครบ

ยาเจริญอาหาร
ยาเจริญอาหาร

กินวิตามินรวม แทน ยาเจริญอาหาร

การให้ลูกได้กินอาหารปกติครบ 5 หมู่ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ในช่วงที่ลูกกินยากกินเย็น ไม่ยอมกินข้าว ต้องฝึกวินัยการกินให้ลูก เพื่อให้ลูกกินข้าว เจริญอาหารได้มากขึ้นด้วยตัวเอง อาจจะให้ลูกกินวิตามินเสริม แทน ยาเจริญอาหาร เช่น วิตามินรวม ซึ่งร่างกายสามารถนำวิตามิน แร่ธาตุไปใช้ได้ทันที

วิตามินรวมสำหรับเด็ก Nutroplex มีส่วนผสมของวิตามินหลายชนิด และใยอาหารธรรมชาติ โอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) และธาตุเหล็กสูง ซึ่งกระตุ้นการขับถ่าย เสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้นได้ และยังช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียม ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกให้เด็กๆ ในวัยกำลังโต

Nutroplex ซึ่งไม่ได้มีผลให้ลูก ๆ เจริญอาหาร หรือกินอาหารได้มากขึ้น แต่จะช่วยเสริมวิตามินบางชนิดให้กับร่างกายลูกในช่วงที่ลูกกินอาหารไม่ได้เต็มที่ หรืออาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

พ่อแม่มักจะเป็นห่วง กังวลใจ อยากให้ลูกน้ำหนักเยอะ ๆ ตัวสูงใหญ่ แต่ในความเป็นจริง ถึงแม้ลูกจะตัวเล็ก แต่หากลูกแข็งแรง มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่ดี สดใสร่าเริงสมวัย ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจ

"Expert ดีดี" ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

โรคหน้าหนาว
โรคหน้าหนาว

กดติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่  

facebook
facebook

 

nutroplex
nutroplex

 

line
line

youtube
youtube

ลูกเป็นหวัดบ่อย
ลูกเป็นหวัดบ่อย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0