โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ยาเขียว กับข้อห้าม-ควรระวัง!

สยามรัฐ

อัพเดต 31 พ.ค. 2563 เวลา 00.24 น. • เผยแพร่ 31 พ.ค. 2563 เวลา 00.00 น. • สยามรัฐออนไลน์
ยาเขียว กับข้อห้าม-ควรระวัง!

จากที่มีการแชร์กันว่ายาเขียวของไทยสามารถกินแก้ไข้ได้ทดแทนยาพาราเซตามอลได้เลย สามารถใช้ได้สำหรับไข้ทุกประเภท และว่าไม่สร้างผลข้างเคียงเหมือนยาทั่วไป จะเป็นจริงหรือไม่ เพจ FDA THAI ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. ระบุ

ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ระบุถึงสรรพคุณของยาเขียวหอมว่าใช้บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ บรรเทาอาการไข้จากหัดและอีสุกอีใส

แม้ยังไม่มีงานวิจัยใด ๆ สนับสนุน และยังไม่มีการเก็บข้อมูลการใช้ยาเขียวในผู้ป่วยไข้ออกผื่น หรืออาการไข้ธรรมดา แต่การที่มีการใช้ตั้งแต่โบราณทำให้เชื่อในระดับหนึ่งว่าการใช้ยาเขียวน่าจะบรรเทาอาการไข้ได้ไม่มากก็น้อย

สรุปแล้วยาเขียวแก้ไข้ได้ไม่เหมือนกับยาพาราเซตามอล แม้ว่ายาเขียว-พาราเซตามอลมีสรรพคุณลดไข้เหมือนกัน แต่ยาเขียวใช้ลดไข้ที่รุนแรงน้อยกว่า โดยยาเขียวไม่สามารถลดไข้ได้หลายประเภทเหมือนพาราเซตามอล เหมาะสำหรับไข้ออกผื่น และหากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

นอกจากนั้น ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก แต่ยาพาราเซตามอลสามารถลดไข้ในผู้ป่วยไข้เลือดออกได้

ส่วนในเรื่องผลข้างเคียงยา ยาเขียวจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าพาราเซตามอล โดยยาพาราเซตามอลจะมีพิษต่อตับได้ หากใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาดที่แนะนําในฉลากหรือเอกสารกํากับยาหรือใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 5 วัน ยาเขียวแม้จะมีผลข้างเคียงน้อย แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้ ระบุว่าควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้ เพราะมีส่วนประกอบของเกสรดอกไม้ในตำรับยา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0