โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ยารักษาอาการไอในเด็กที่ดีที่สุด คือการไม่ต้องกินยาอะไรเลย

Johjai Online

อัพเดต 15 พ.ย. 2561 เวลา 05.28 น. • เผยแพร่ 13 พ.ย. 2561 เวลา 17.00 น. • johjaionline.com
ยารักษาอาการไอในเด็กที่ดีที่สุด คือการไม่ต้องกินยาอะไรเลย
อาการไอในเด็ก ไม่ได้รักษาได้ด้วยการกินยา

ในเด็กน้อยอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ผู้ปกครองมักเป็นห่วงและกังวลในเวลาที่พวกเขาป่วยด้วยอาการไอ คัดจมูก เป็นหวัด  ซึ่งคุณหมอ Perri Klass ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความเรื่องนี้กล่าวว่า ในเวลาที่มีคนไข้พาลูกๆ มาหาหมอ แล้วเขาบอกกลับไปว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้เด็กๆ กินยาอะไรเลย ผู้ปกครองเหล่านั้นก็มักจะเป็นกังวลไปตามๆ กันว่า แล้วอาการของลูกหลานจะดีขึ้นได้อย่างไร ความจริงก็คือ คุณหมอบอกว่า ไม่มียาตัวไหนเลยที่เหมาะสมกับร่างกายของเด็กวัยต่ำกว่า 6 ขวบ และเขาก็เข้าใจดีว่า ถึงแม้เขาจะยืนยันอย่างไร ก็ยังไม่สามารถทำให้บรรดาผู้ปกครองคลายกังวลได้มากนัก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า เวลาเด็กเล็กๆ ป่วยด้วยอาการคัดจมูกและหายใจไม่ออก ร่างกายของพวกเขาไม่สามารถต้านทานกับอาการป่วยได้เท่ากับผู้ใหญ่ พวกเขาต้องทนทรมานกับการหายใจไม่สะดวกทั้งกลางวันและกลางคืน ดังนั้น ผู้ปกครองจำนวนมากจึงมีความเชื่อที่ว่า หากเด็กๆ ได้ทานยาบรรเทาอาการ ก็คงจะมีอาการดีขึ้นเช่นเดียวกับผู้ใหญ่

แต่เรื่องจริงมันไม่ใช่แบบนั้น ร่างกายของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ หนึ่งผลการวิจัยของประเทศอเมริกาได้เปรียบเทียบผลดีและผลร้ายของยาบรรเทาอาการหวัดต่างๆ ทั้งยาแก้ไอ และยาแก้คัดจมูก ว่าหากเทียบกันจริงๆแล้ว ผลเสียที่เกิดกับร่างกายเด็กๆ มันคุ้มกับการใช้ยาหรือไม่

Dr. Mieke van Driel อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย และถือเป็นบุคคลแรกที่เริ่มศึกษาในประเด็นนี้ กล่าวถึงความกลัวของผู้ปกครองว่า เป็นธรรมดาที่ผู้ปกครองจะมีอาการกังวลเวลาลูกของตนป่วย และจะต้องพยายามหาทางรักษาให้หายให้เร็วที่สุดให้ได้ เธอเข้าใจในความกังวลนี้ดี แต่ก็ต้องยอมรับว่า จากสิ่งที่เธอได้ศึกษามานั้น ยามีส่วนช่วยให้อาการป่วยของเด็กๆ ดีขึ้นน้อยมากๆ จนแทบจะไม่มีส่วนเลย และเธอก็ยังอยากจะให้ผู้ปกครองทำความเข้าใจด้วยว่า นอกจากจะไม่มีหลักฐานยืนยันว่า การทานยาบรรเทาอาการหวัดจะช่วยให้เด็กๆ มีอาการดีขึ้นแล้ว การได้รับยาของเด็กเล็กๆ นั้น ก็ยังถือเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพอีกด้วย

คำกล่าวแนวนี้ไม่ได้มาจากเธอแค่เพียงคนเดียว องค์การอาหารและยาของอเมริกาเคยออกมาให้คำแนะนำว่า ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีใช้ยาบรรเทาอาหารหวัดและไอ และหลังจากนั้น สถาบันกุมารเวชศาสตร์ของอเมริกาก็ออกมาให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ไม่ใช่แค่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เท่านั้นที่ยังไม่ควรทานยาบรรเทาอาการหวัด แต่เด็กๆ ที่ยังมีอายุไม่ถึง 6 ปีก็เช่นกัน เหตุการณ์นี้ทำให้บริษัทผู้ผลิตยามากมายเริ่มเก็บยาของตนที่เคยทำออกมาให้กับทารกออกจากการวางจำหน่าย รวมไปถึงยังมีการแปะฉลากที่ขวดยาว่า ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กเล็กอีกด้วย นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังให้ข้อมูลอีกว่า เคยมีกรณีที่เด็กๆ ถูกส่งตัวเข้าห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเพราะยาบรรเทาอาการหวัดมาแล้ว โดยพบว่าเด็กๆ มีอาการคล้ายกับการหลอน ไปจนถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และความเครียดในระดับสูง รวมไปถึงภาวะเครียดและซึมเศร้า

คำถามสำคัญคือ แล้วถ้าเด็กๆ มีอาการไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล และอาการอื่นๆ ที่มาจากการเป็นหวัด ผู้ปกครองควรรทำอย่างไร ควรปล่อยไว้เฉยๆ แบบนั้นหรือ คำตอบจากดอกเตอร์ Shonna Yin ผู้ช่วยอาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กอธิบายว่า อาการป่วยเหล่านี้สามารถหายได้เอง และผู้ปกครองสามารถช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ให้กับบุตรหลานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาใดๆ เลย สิ่งที่ดีที่สุดคือการให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา ส่วนในเด็กที่มีอายุมากกว่า 1  ปีขึ้นไป สามารถให้น้ำผึ้งบรรเทาอาการไอและเจ็บคอได้ ส่วนในเด็กทารกที่อายุต่ำกว่านั้น น้ำผึ้งอาจทำให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้ ส่วนหากเด็กๆ มีอาการไข้สูงร่วมด้วย สามารถใช้ยายรรเทาอาการอย่าง ไอบูโพรเฟนเพื่อลดอาการอักเสบ ลดไข้ หรือ อาจยาหยอดจมูกบรรเทาอาการคัดจมูกก็เพียงพอ

อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่า ยังไม่มีการศึกษาใดที่บอกว่าการใช้ยาบรรเทาอาการหวัดในเด็กเล็กจะได้ผลจริง ไม่มีการยืนยันใดที่บ่งชี้ว่า ยาแก้ไอช่วยให้เด็กวัยต่ำกว่า 6 ปีไอน้อยลงจริง หรือกระทั่งยาลดอาการคัดจมูก ว่ามันจะช่วยให้เด็กๆ นอนหลับได้ดีขึ้นจริง แต่สำหรับน้ำผึ้งแล้ว มีการศึกษาเมื่อปี 2007 ที่พบว่าน้ำผึ้งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการไอและหวัดได้ดีกว่าเดกซ์โทรเมทอร์แฟน ซึ่งเป็นยาบรรเทาอาการไอขนานปัจจุบันเสียอีก และนอกจากการช่วยบรรเทาอาการไอแล้ว น้ำผึ้งยังมีส่วนช่วยให้นอนหลับดีขึ้นอีกด้วย
แล้วในผู้ใหญ่ละ? มีผลการวิจัยที่บ่งชี้ชัดหรือไม่ว่า ยาบรรเทาอาการหวัดสามารถช่วยให้อาการของพวกเขาบรรเทาลงจริง แท้จริงแล้ว ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าร่างกายของผู้ใหญ่ตอบสนองต่อยาแก้ไอและแก้หวัดได้มากจริง ยังไม่นับรวมถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาเหล่านั้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาต่อเนื่องนานเกินไป และมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากการอยากรีบหายป่วย และรับประทานยาหลายขนานซ้อนกัน 
ในฐานะแพทย์ ดอกเตอร์ Mieke van Driel ยังบอกอีกว่า เวลาเขาตรวจคนไข้ เขาจะเริ่มจากการตรวจอาการภายนอกของคนไข้ก่อนตรวจความผิดปกติของหู จากนั้นจึงไปที่ปอด และลำคอ แล้วจึงค่อยมาดูอาการอื่นๆ เช่น หากเป็นไข้หวัด เขาจะพยายามทำความเข้าใจกับผู้ปกครองว่า มันเป็นอาการที่ร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้ โดยจะใช้เวลาราวหนึ่งสัปดาห์ ก่อนที่อาการจะดีขึ้น เขาอยากให้คนทุกคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีความมั่นใจในศักยภาพการฟื้นฟูของร่างกายมากกว่าที่จะไปให้ความสำคัญกับการทานยาเวลาป่วยตลอดเวลา
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หนึ่งสิ่งที่ละเลยไม่ได้ คือการเฝ้าระวังอาการ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากผู้ปกครองสังเกตเห็นอาการผิดปกติที่มากกว่าไข้หวัด เช่น หายใจไม่ออกอย่างรุนแรงคล้ายมีปัญหาที่ระบบระบบทางเดินหายใจ ในทารกอาจพบว่ามีอาการหายใจเร็วผิดปกติ  หรือไข้สูงมากต่อเนื่อง ตัวสั่น ตัวเย็น หรือเหงื่อออกมาก ก็ไม่ควรรีรอที่จะพาไปพบแพทย์ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของไข้หวัดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสในการรักษา 
ส่วนการจำแนกอาการที่น่าเป็นห่วงหรือไม่น่าเป็นห่วงออกจากกันที่ชัดเจนที่สุดมีอยู่สองอย่าง หนึ่งคือ สังเกตว่าเด็กๆ สามารถกินอาหาร ดื่มน้ำได้ตามปกติหรือไม่ และสอง เด็กยังมีแรงเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ เช่นเดิมหรือไม่ เพียงเท่านี้ ทุกคนก็จะได้ค้นพบว่า ยาไม่ใช่สิ่งสำคัญเสมอไป
 
แปลและเรียบเรียงจาก https://cnalifestyle.channelnewsasia.com/wellness/for-a-child-s-cough-the-best-medicine-is-no-medicine-10912284

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0