โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ เช็คให้ชัวร์ก่อนใช้

HealthyLiving

เผยแพร่ 18 ต.ค. 2561 เวลา 18.00 น. • Healthy Living
DoubleCheck_Thumbnail.jpg

ป่วย เป็นไข้ ไม่สบาย ปวดท้อง อาเจียน เวียนหัว หรือสารพัดโรคที่พึงจะเป็น

เชิญรับยาปฏิชีวนะได้ที่ ช่อง 2 ค่ะ

 

ไม่ว่าจะป่วยเป็นอะไรตั้งแต่เบายันหนัก บรรดาหมอ ๆ ก็เอาแต่บอกว่า “เชิญรับยาปฏิชีวนะ” จนหลัง ๆ คนธรรมดาอย่างเราจึงผันตัวมาเป็นเภสัชกรเสียเอง เจ็บป่วยทีไรก็ไปร้านยาสั่งซื้อยาปฏิชีวนะกินเองเป็นปกติ เพราะคิดว่าถึงไปโรงพยาบาล หมอก็ออกยาชนิดนี้ให้อยู่ดี

 

แต่เดี๋ยวก่อน! ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาวิเศษที่จะรักษาได้ทุกโรค ห้ามกินพร่ำเพรื่อเด็ดขาด โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกมาแจ้งว่า คนไทยใช้ยาปฏิชีวนะสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของมูลค่าการผลิตนำเข้าของยาฆ่าเชื้อ แถมโรงพยาบาลยังจ่ายยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นสูงถึงอัตราร้อยละ 80 เป็นผลให้ประเทศไทยมีอัตราเชื้อดื้อยาเพิ่มสูงขึ้นกว่า 25-50 เปอร์เซ็นต์

 

ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ

เข้าใจให้ถูกก็เข้าถึงประสิทธิภาพสูงสุดของการกินยา

 

เป็นที่เข้าใจผิดกันมาอย่างยาวนานว่าอีกชื่อหนึ่งของยาปฏิชีวนะคือยาแก้อักเสบ บอกเลยว่าความเข้าใจผิดนี้สร้างผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง

ยาปฏิชีวนะ คือ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น เพนนิซิลลิน, อะม็อกซีซิลลิน และเตตราไซคลีน เป็นต้น ซึ่งยาปฏิชีวนะจะใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถลดอาการอักเสบ ลดไข้ หรือแก้ปวดได้ รวมถึงไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสด้วย

 

ส่วนยาแก้อักเสบ คือ ยาที่มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบต่าง ๆ ทั้งการลดไข้ แก้อาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการบวมแดง เป็นต้น แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส โดยตัวยาที่เราคุ้นเคย เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เป็นต้น

 

จะเห็นได้ว่ายาปฏิชีวนะกับยาแก้อักเสบมีฤทธิ์และคุณสมบัติต่างกันออกไป ทุกครั้งก่อนกินยาควรตรวจสอบให้ชัดว่า สาเหตุของโรคมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส หรือเป็นอาการอักเสบธรรมดา ๆ เพราะใช้ยาผิดก็เท่ากับรักษาผิดโรค แถมยังเสี่ยงให้เกิดอาการดื้อยาอีกด้วย

 

กินพร่ำเพรื่อ ป่วยพร่ำเพรียก

ผลข้างเคียงของการกินยาปฏิชีวนะแบบสิ้นคิด

 

การกินยาปฏิชีวนะแบบพร่ำเพรื่อ นอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองเงินแล้ว ร่างกายยังต้องแบกรับผลข้างเคียงทุกครั้งที่ยาลงท้องอีกด้วย ได้แก่

1. ดื้อจะกินยา ก็ต้องเจอ “เชื้อดื้อยา”

หากกินยาปฏิชีวนะติดต่อกันนานเกินไป หรือกินไม่ครบตามปริมาณที่กำหนด ยาตัวนี้จะไปกระตุ้นเชื้อแบคทีเรียให้กลายพันธุ์ เกิดเป็นเชื้อดื้อยา ซึ่งก็คือเชื้อแบคทีเรียที่สร้างกลไกการป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยาปฏิชีวนะทำลาย เป็นผลให้การรักษาผู้ติดเชื้อเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะตัวใหม่ ๆ ที่แพงขึ้นอีก

 

องค์การอนามัยโลกระบุว่า ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตเพราะเชื้อดื้อยามากถึงปีละ 10 ล้านคน และจากข้อมูลสถิติก็รายงานว่า คนไทยติดเชื้อดื้อยาประมาณ 88,000 คนต่อปี โดยเป็นเหตุให้เสียชีวิตปีละ 20,000-38,000 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางท้องถนนเสียอีก

 

2.แพ้เชื้อพาโรคแล้ว ยังต้อง “แพ้ยา” อีกเหรอ

ยาปฏิชีวนะผลิตมาจากเชื้อจุลินทรีย์ แล้วค่อยนำไปใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยกันอีกที ทำให้ผู้ใช้ยาส่วนใหญ่มักเกิดอาการแพ้เป็นผลข้างเคียงนั่นเอง โดยอาการแพ้ยาปฏิชีวนะก็มีตั้งแต่ผื่นคัน ท้องเสีย ท้องอืด ไปจนถึงไตวาย ซึ่งอาการแพ้ยาของแต่ละคนก็เกิดขึ้นไม่เหมือนกัน บางคนแพ้อาจทันทีหลังจากกินยา ส่วนบางคนต้องรอสักพักอาการถึงเริ่มออก

 

ทั้งนี้สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ว่ากำลังแพ้ยาปฏิชีวนะหรือไม่จากอาการเหล่านี้ ได้แก่ จามติด ๆ กัน, ริมฝีปากชา, น้ำตาไหล, แน่นหน้าอกและหายใจไม่ออก และหัวใจเต้นแรง เป็นต้น เพราะฉะนั้นห้ามกินพร่ำเพรื่อเด็ดขาด และควรทดสอบอาการแพ้ก่อนเริ่มใช้ยาชนิดนี้ด้วย

 

3.โรคเดียวก็พอ อย่าให้ต้องเกิด “โรคแทรกซ้อน”

ขึ้นชื่อว่าเป็นยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะจึงฆ่าไม่เลือก ทั้งแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียชนิดดีที่มีประโยชน์ เมื่อแบคทีเรียชนิดดีสูญหายไปจากร่างกาย เชื้อโรคร้ายตัวอื่น ๆ ได้ทีจึงฉวยโอกาสนี้แพร่กระจายเชื้อ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น โรคลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง และโรคเชื้อราหมักหมม ซึ่งอาจทำให้ตกขาวและเกิดฝ้าขาวในช่องปากได้ เป็นต้น

 

เช็คให้ชัวร์ก่อนใช้ยาปฏิชีวนะ

กินถูกวิธี รักษาถูกโรค ปราบโรคร้ายได้อยู่หมัด

 

อ่านมาถึงตรงนี้คงทราบกันดีแล้วว่า ควรกินยาปฏิชีวนะก็ต่อเมื่อต้องการรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น และควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ เมื่อเริ่มกินแล้วต้องกินให้ครบโดส ห้ามกิน ๆ หยุด ๆ หรือกินพร่ำเพรื่อเด็ดขาด เพราะมันไม่คุ้มกับผลข้างเคียงที่อาจตามมา

ส่วนโรคยอดฮิตที่คนไทยเป็นทีไรก็เน้นกินยาปฏิชีวนะกันให้วุ่น ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด เจ็บคอ น้ำมูกไหล ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน แผลเลือดออก ผิวถลอก หรือมีดบาด แท้จริงแล้วสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องพึ่งยา และที่สำคัญโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย ต่อให้กินยาปฏิชีวนะหมดไปสิบแผงก็ไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น แถมยังเป็นบ่อนทำลายสุขภาพอีกด้วย

Combat drug resistance - No action today, No cure tomorrow

ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง ป้องกันเชื้อดื้อยา เพื่อการรักษาที่ได้ผล      

 

 

 

 

เพิ่มช่องทางการรับข่าวสารและข้อมูลดี ๆ ผ่าน Line Official AZAYfan ที่จะช่วยทำให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ได้ที่ 

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

         

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0