โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ยธ. ซัดสื่อนอกตามสัมภาษณ์ทีมหมูป่า ไร้สามัญสำนึก-มาตรฐานต่ำ ชี้ไม่ควรให้อภัย

Khaosod

อัพเดต 20 ก.ค. 2561 เวลา 06.12 น. • เผยแพร่ 20 ก.ค. 2561 เวลา 06.08 น.
20-ยธ.อัดสื่อนอก

ยธ. ซัดสื่อต่างประเทศ บุกบ้านสัมภาษณ์น้องๆทีมหมูป่า 13ชีวิต ปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐาน-ขาดความรับผิดชอบ-ไม่ควรให้อภัย ทั้งที่รู้ว่าประเทศไทยได้วางระบบการปกป้องดูแลและคุ้มครองเด็กผู้ประสบภัยกลุ่มนี้ไว้อย่างไร เผยกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็ก

จากกรณีสื่อต่างประเทศได้เดินทางไปสัมภาษณ์ เด็กๆ ในทีมหมูป่าหลายราย ทั้งสัมภาษณ์และไปถึงบ้านเพื่อดูบรรยากาศต้อนรับเด็กๆ กลับบ้าน ในขณะที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เนื่องจากก่อนหน้านี้ มีการขอความร่วมมือและห้ามไม่ให้มีการติดตามสัมภาษณ์ใดๆกับเด็กๆ อย่างน้อย 1 เดือน

ยธ. / ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ก.ค. นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า “สื่อต่างประเทศปฎิบัติต่อเด็กและเยาวชนผู้ประสบภัยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็น เป็นเรื่องที่น่าเสียใจและไม่ควรให้อภัย กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนเหตุผลที่ต้องใช้วิธีการพิจารณาสืบพยานเด็ก โดยให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้แปลคำถามในระหว่างชั้นสอบถามปากคำในกระบวนการก่อนพิจารณาพิพากษาของศาล

นายธวัชชัย ระบุต่อว่า และให้มีการบันทึกแถบเสียงและภาพไว้ด้วยนั้น ก็มุ่งเพื่อที่จะไม่ให้ มีการสอบปากคำซ้ำในกระบวนการยุติธรรมชั้นถัดไป โดยมีจุดมุ่งสำคัญเพื่อมิให้เปิดบาดแผลที่อยู่ในตะกอนใจของเด็กและเยาวชน เนื่องจากอยู่ในวัยที่เปราะบางและต้องได้รับการปกป้องรักษา รวมถึงในระหว่างสอบปากคำเด็กและเยาวชนยังได้บัญญัติให้เด็กสามารถร้องขอมีบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กไว้ใจร่วมนั่งเป็นเพื่อนได้อยู่ด้วย เพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและมีความปลอดภัย

รองปลัด ยธ. ระบุอีกว่า กระบวนการสอบถามหรือสัมภาษณ์ของสื่อมวลชนหรือบุคคลอื่นใดกับเด็กที่ประสบภัยพิบัติที่ผ่านประสบการณ์ที่ตกอยู่ในภาวะทุกข์ยากตื่นกลัวสุดขีดนั้น แม้ไม่มีกระบวนการหรือกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนเฉกเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมก็ตาม แต่ก็ควรจะเทียบเคียงเอาวิธีกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนไปใช้ได้เท่าที่จำเป็น ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยก็สามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดีและน่าชมเชยเป็นอย่างยิ่ง

“แต่น่าเสียดายที่สื่อต่างประเทศที่เราคิดและเข้าใจว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และกระบวนการปกป้องเด็กและเยาวชนเป็นอย่างดีแล้ว กลับมีมาตรฐานต่ำกว่าที่คิด เสมือนขาดสามัญสำนึกซึ่งมนุษย์ธรรมดาธรรมดาพึงระลึกได้ รวมขาดความรับผิดชอบได้เช่นนี้ ทั้งที่รู้ว่าประเทศไทยได้วางระบบการปกป้องดูแลและคุ้มครองเด็กผู้ประสบภัยกลุ่มนี้ไว้อย่างไร” นายธวัชชัย กล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0