โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ยกกรณี “เชฟโรเลต” สะท้อนเศรษฐกิจ

ไทยรัฐออนไลน์ - Economics

อัพเดต 20 ก.พ. 2563 เวลา 15.38 น. • เผยแพร่ 20 ก.พ. 2563 เวลา 22.05 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

ส.อ.ท.ชี้ “คนไทย” มีเงินแต่ไม่กล้าใช้ ยานยนต์ป่วนยอดซบ-แบงก์ไม่ให้กู้

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่ายอดการผลิตรถยนต์เดือนม.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 156,266 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 12% สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ภายในประเทศอยู่ที่ 71,688 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8% เหตุผลสำคัญมาจากการเข้มงวดของสถาบันการเงินการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ ขณะที่ยอดการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปอยู่ที่ 65,295 คัน ลดลง 19% ต่ำสุดในรอบ 7 ปี 9 เดือน ลดลงเกือบ ทุกตลาดทั่วโลก เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง ส่วนรถจักรยานยนต์ พบว่ามียอดขาย 145,279 คัน ลดลง 2.4% แต่เพิ่มขึ้น 27.9% เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.2562

สำหรับกรณี บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส หรือจีเอ็ม ประกาศยุติการจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลตในไทย และขายโรงงานผลิตรถยนต์ให้กับเกรท วอลล์ มอเตอร์ ประเมินว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยมากนัก เนื่องจากตลาดได้รับรู้มาก่อนหน้านี้ ส่วนการถล่มลดราคาขายรถยนต์เชฟโรเลต ประเมินว่าจะเป็นเพียงสถานการณ์ระยะสั้น เพราะรถยนต์ที่นำมาลดราคาเป็นรุ่นที่มีเหลือเพียง 1,000 คัน จากสต๊อกที่มี 4,000 คัน

“สาเหตุที่จีเอ็มปิดโรงงานในไทยเพราะต้องการปรับแผนลงทุนไปตลาดอื่นๆ อาทิ จีน ซึ่งถือเป็นเรื่องธุรกิจ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่า คือ ตลาดรถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวลง สาเหตุมาจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และภาพรวมตลาดรถยนต์ต่อจากนี้ยังไม่เห็นสัญญาณบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ จะย้ายฐานการผลิตจากไทยไปประเทศอื่น แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของแต่ละบริษัทด้วย”

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้เต็นท์รถมือ 2 ได้รับผลกระทบที่ไม่สามารถขายรถยี่ห้อเชฟโรเลตได้ และเกิดปรากฏการณ์ลดราคา (ดัมพ์) ในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อดันยอดขาย ซึ่งลูกค้าอาจต้องใช้เงินสดซื้อรถยนต์ เพราะสถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ มุมหนึ่งจึงสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ชัดเจนว่าคนมีกำลังซื้อ แต่ไม่กล้าใช้จ่าย เพราะไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงต้องการให้รัฐบาลหามาตรการเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ อาทิ มาตรการชิมช้อปใช้ หรือออกมาตรการกระตุ้นการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนในอุตสาหกรรมยานยนต์ สู่ยานยนต์ไฟฟ้าโดยเร็ว ทั้งมาตรการภาษีที่จูงใจให้เกิดการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าของค่ายรถยนต์ และความต้องการใช้ของประชาชนด้วย เพื่อให้ไทยเป็นฐานผลิตอีวีในอนาคต.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0