โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มโนตัวเลขกันไปก่อน มาดูความแตกต่างของคะแนนเลือกตั้ง 94% และ 95%

The Momentum

อัพเดต 26 มี.ค. 2562 เวลา 15.57 น. • เผยแพร่ 26 มี.ค. 2562 เวลา 15.57 น. • อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

In focus

  • เพียง 1% ที่เพิ่มมา ก็ส่งผลให้ผู้ชนะส.ส.เขตใน 4 เขตเปลี่ยนไป เปลี่ยนตัวเลขจำนวนที่นั่งของพรรคการเมืองถึง 5 พรรค

  • ตอนนี้ข้อมูลที่เรามีในมือ คือคะแนนชุด 94% และชุด 95% แต่ชุดแรกมีคะแนนดิบ ส่วนชุดหลัง มีแต่รายชื่อ ส.ส.เขตที่ได้คะแนนสูงสุด

  • อีก 5% ที่ยังต้องเฝ้ารอไปจนถึงต้นเดือนพฤษภาคมกว่าที่ กกต.จะประกาศนั้น คือจำนวนบัตรเลือกตั้งอีก 1.9 ล้านใบ หรือคิดเป็นที่นั่ง ส.ส.ประมาณ 26 ที่นั่ง

สี่โมงเย็นของวันที่ 25 มีนาคม คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศผลการเลือกตั้ง 95%

เผยแพร่เป็นไฟล์พีดีเอฟ ระบุรายชื่อผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดในแต่ละเขตทั้งหมด 350 เขต

แต่สิ่งที่ได้มาก็ทำให้หลายฝ่ายผิดหวัง เพราะข้อมูลที่ออกมานั้น ไม่มีตัวเลขคะแนนดิบ หรือป็อบปูลาร์โหวต ว่าแต่ละพรรคได้เสียงทั้งหมดจากประชาชนไปจำนวนเท่าไร ซึ่งนี่เป็นข้อมูลสำคัญที่พรรคต่างๆ ต้องนำมาใช้เพื่อประเมินสถานการณ์ และตั้งตารอเพื่อนับจำนวนความเป็นไปได้ของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์)

ที่มาที่ไปของข้อมูล 3 ชุดที่มีให้วิเคราะห์ตอนนี้

ย้อนไปตั้งแต่คืนปิดหีบเลือกตั้ง ก็เกิดความปั่นป่วนในการรายงานผลตลอดมา เพราะตามแผนเดิม กกต. จะปล่อยข้อมูลให้สื่อทีวีและออนไลน์กว่า 40 ราย เพื่อรายงานผลต่อผู้ชมทางบ้าน (เช่นที่ปรากฏในเว็บไซต์ vote62.com แต่กลับเกิดปัญหาทางเทคนิคเป็นระยะๆ

ที่ผ่านมาจึงมีชุดข้อมูลทั้งหมด 3 ส่วนที่มาจาก กกต. คือ

  • ข้อมูลจาก API กกต. (ข้อมูลที่เผยแพร่ใน vote62.com และทุกๆ สื่อ ตั้งแต่หลังปิดหีบเลือกตั้งจนถึงช่วงสายของวันที่ 25 มีนาคม) ค่อยๆ เปิดเผยผลคะแนนจนถึงราว 94%

ขั้นตอนนี้ ตามความตั้งใจเดิมคือจะรายงานผลแบบเรียลไทม์ แต่เกิดปัญหาเรื่องเซิร์ฟเวอร์ล่ม ซึ่งด้านหนึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพราะเตรียมงานเอาไว้ไม่รอบคอบ แต่ด้าน กกต.เองให้ข่าวว่าเป็นเพราะมีแฮกเกอร์พยายามเข้ามาป่วนระบบ ผลสรุปคือมีช่วงเวลาที่ข้อมูลหยุดชะงักเป็นระยะๆ และไหลมาอย่างช้าๆ ทำให้คะแนนที่สื่อส่วนใหญ่ได้รับนั้นช้ากว่าจอทีวีใหญ่ของ กกต.

  • ข้อมูลจาก API กกต. (ข้อมูลที่เผยแพร่ใน vote62.com และทุกๆ สื่อ ตั้งแต่ช่วงสายของวันที่ 25 มีนาคมจนปัจจุบัน) ซึ่งเปิดเผยผลคะแนน 94%

เนื่องจากต่อมาพบว่า ข้อมูลในข้อ 1 มีจุดผิดพลาด เพราะยังมีคะแนนของ ‘พรรคเพื่อนไทย’ ทั้งที่ผู้สมัครทั้งหมดโดนตัดสิทธิไปแล้ว คะแนนทั้งหมดจึงต้องกลายเป็นบัตรเสีย นำมาสู่การปรับแก้และอัปเดต และส่งตัวเลขคะแนนทั้งหมดเข้า API อีกครั้ง และเป็นข้อมูลที่ปรากฏทั่วไปในปัจจุบัน

  • *ข้อมูลในรูปแบบไฟล์พีดีเอฟ (จากเว็บไซต์ กกต.) เปิดเผยเฉพาะ ‘รายชื่อ’ ส.ส. ที่ชนะใน350 เขต คิดจากคะแนน 95% แต่ไม่เปิดเผยคะแนนดิบ *

สี่โมงเย็นของเช้าวันที่ 25 มีนาคม กกต.ก็เผยแพร่ผลการเลือกตั้งมาอีกชุด ระบุว่าเป็นผลอย่างไม่เป็นทางการจากการนับคะแนน 95% เพียงแต่ข้อมูลเซ็ตหลังนี้ เปิดเผยแต่รายชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดของ ส.ส.เขตทั้ง 350 เขต ไม่มีตัวเลขคะแนนดิบ ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนสำคัญ

ดังนั้น ในเวลานี้ เราจึงมีผลที่เป็นคะแนนดิบ 94% และมีรายชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุด 350 เขตที่คำนวณจากคะแนน 95%

ที่น่าสนใจคือ 1% ที่แตกต่างนี้ ทำให้จำนวนที่นั่ง *เฉพาะ ส.ส. เขต* เปลี่ยนไป ดังนี้

  • เพื่อไทย จาก 135 ที่นั่ง กลายเป็น 137 ที่นั่ง

  • พลังประชารัฐ จาก 98 ที่นั่ง กลายเป็น 97 ที่นั่ง

  • ภูมิใจไทย ได้ 39 ที่นั่ง

  • ประชาธิปัตย์ จาก 34 ที่นั่งกลายเป็น 33 ที่นั่ง

  • อนาคตใหม่ จาก 29 ที่นั่ง กลายเป็น 30 ที่นั่ง

  • ชาติไทยพัฒนา จาก 7 ที่นั่ง กลายเป็น 6 ที่นั่ง

  • ประชาชาติ ได้ 6 ที่นั่ง

  • รวมพลังประชาชาติไทย ได้ 1 ที่นั่ง

  • ชาติพัฒนา ได้ 1 ที่นั่ง

เมื่อดูให้ละเอียดลงไป เขตที่ผลแตกต่างกันระหว่าง API ที่มีคะแนน 94% กับเอกสาร กกต. ที่คิดจากคะแนน 95% มีรายละเอียดดังนี้

สำหรับคะแนนส่วนที่เหลือ 5% นั้น คือจำนวนผู้มาใช้สิทธิอีกมากกว่า 1.9 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่าที่นั่ง ส.ส.อีกราว 26 ที่นั่งซึ่งเป็นจำนวนที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อีกมาก

 

ที่มาข้อมูล:

ข้อมูล 94%: https://vote62.com/

ข้อมูล 95%: https://www.ect.go.th/ewt/ewt/ect_th/download/article/article_20190326085517.pdf

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0