โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มึนตึ้บ! ไขความลับภาพลวงตา หลังโซเชียลถกสนั่น ใครเห็นเสาหมุนแปลว่าเครียด

ไทยรัฐออนไลน์ - Social

เผยแพร่ 17 พ.ย. 2561 เวลา 11.40 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

เช็กก่อนแชร์! อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ยันภาพลวงตาสีม่วงเหลือง ไม่ได้ใช้ทดสอบปัญหาสุขภาพจิต หลังโซเชียลแชร์สนั่น ใครเห็นภาพขยับได้แปลว่ากำลังเครียด…

จากกรณีโลกออนไลน์แชร์ภาพคล้ายเสากับลูกบอล ที่อ้างว่าเป็นภาพที่คิดค้นโดยชาวญี่ปุ่น สร้างเพื่อใช้วัดสุขภาพจิต หากใครมองแล้วภาพขยับ หมุนได้ แปลว่ากำลังมีความเครียดและปัญหาทางจิต ซึ่งต่อมามีคนแชร์ออกไปจำนวนมากนั้น

ล่าสุด วันที่ 17 พ.ย.61 อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์อธิบายถึงเรื่องนี้ผ่านแฟนเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ว่า ข้อมูลข้างต้นเป็นเรื่อง "ไม่จริง" ที่จริงแล้วเป็นภาพที่ทำโดยนักวิจัยชาวยุโรป และใครที่เห็นภาพนี้หมุนหรือขยับได้ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร

ก่อนอื่นต้องบอกว่า มันไม่ใช่ภาพ animated GIF นะ มันเป็นภาพนิ่งธรรมดา แต่เป็นภาพลวงตาที่เรียกว่า optical illusion ที่หลอกให้สมองของเราเชื่อว่ามันกำลังขยับ ยิ่งถ้าจ้องดูใกล้ๆ หรือดูภาพนี้บนจอภาพใหญ่ๆ (ไม่ใช่บนจอมือถือเล็กๆ) จะยิ่งเห็นมันขยับชัดเจนขึ้น

ภาพนี้ถูกเผยแพร่ผ่านทวิตเตอร์ของ Alice Proverbio (น่าจะอ่านว่า อาลิซี โพรเวอบิโอ) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การรับรู้ (cognitive science) ศ.โพรเวอบิโอ เป็นนักประสาทวิทยาและนักจิตวิทยา ของมหาวิทยาลัย Milano-Bicocca ที่ประเทศอิตาลี ได้เผยแพร่ภาพลวงตานี้ เพื่อทดสอบชาวเน็ต ถึงระบบการรับรู้ภาพของสมองของเรา

โพรเวอบิโอ ทวีตบอกว่า ในสมองของคนเรามีบริเวณที่ตอบสนองต่อการดูภาพแบบนี้อยู่ 2 จุด คือ บริเวณที่เรียกว่า V5 ที่ตอบสนองต่อการเคลื่อนที่ และบริเวณ V4 ที่ตอบสนองต่อรูปทรงและสีสัน และพบว่าเมื่อ V4 (รูปทรงและสีสัน) ถูกกระตุ้นอย่างเต็มที่แล้ว จะทำให้ V5 (การเคลื่อนที่) ถูกกระตุ้นตามไปด้วย…

นั่นคือ ทำไมเวลาจ้องมองภาพนิ่งที่เต็มไปด้วยสีสันและรูปทรงแบบนี้ เราจึงรู้สึกว่ามันหมุนหรือขยับได้แน่นอนว่า ขณะที่บางคนดูรูปแล้วเหมือนมันขยับ แต่บางคนก็อาจจะเห็นมันนิ่งไม่ขยับเลย ซึ่งก็แล้วแต่ระบบการรับรู้ของสมองแต่ละคน … แต่ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดอะไรเรื่องความเครียดหรือภาวะทางจิตแบบที่แชร์กัน.

(โพสต์ต้นฉบับ)

(ข้อมูลจาก แฟนเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0