โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

มาเรียมอาจจะปลอดภัย แต่พะยูนไทยกว่า 240 ตัว ยังเผชิญกับการ "ถูกคุกคาม" จากความเชื่อผิดๆ

Amarin TV

เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2562 เวลา 10.00 น.
มาเรียมอาจจะปลอดภัย แต่พะยูนไทยกว่า 240 ตัว ยังเผชิญกับการ
ณ นาทีนี้ เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก “มาเรียม” ลูกพะยูนน้อยอายุประมาณ 6 เดือน ที่เข้าเกยตื้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ จ.กระบี่ ชา

ณ นาทีนี้ เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก“มาเรียม” ลูกพะยูนน้อยอายุประมาณ 6 เดือน ที่เข้าเกยตื้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ จ.กระบี่ ชาวบ้านจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้เข้าช่วยเหลือ ก่อนจะมีการเคลื่อนย้ายมาเรียมมายังแหลมจุโหย บนเกาะลิบง มีขึ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน โดยเจ้าหน้าที่ปล่อยให้มันว่ายน้ำอย่างอิสระ เพื่อหาจุดเหมาะสมที่สุดให้กับตัวเอง สามวันต่อมามาเรียมได้ย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ จนมาอยู่บริเวณหน้าเขาบาตูปูเต๊ะ ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลมาเรียมในปัจจุบัน และกลายเป็นขวัญใจของเจ้าหน้าที่และผู้ได้สัมผัสกับความน่ารักของมัน

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่พะยูนทุกตัวที่จะโชคดีเหมือนมาเรียมตัวน้อย เพราะยังมีพวกมันอีกมากในธรรมชาติที่กำลังเผชิญกับอนาคตที่ไม่แน่นอน และสาเหตุสำคัญก็ที่ผลักดันพวกมันไปอยู่ ณ ปากเหวของการสูญพันธุ์ก็คือพวกเราเอง

มีรายงานว่า ประชากรพะยูนที่หลงเหลืออยู่มากที่สุด คือ ออสเตรเลีย ซึ่งมีพะยูนอยู่ประมาณ 20,000 ตัว โดยสถานที่ๆ พบมากที่สุด คือ อ่าวชาร์ก ทางภาคตะวันตกของประเทศ มีประมาณ 10,000 ตัว คิดเป็นร้อยละ 12.5 ของประชากรพะยูนทั่วโลก เพราะเป็นสถานที่อุดมไปด้วยหญ้าทะเล

ในขณะที่ในประเทศไทย สถานที่ๆ เป็นแหล่งอาศัยแหล่งสุดท้ายของพะยูนคือ ทะเลในพื้นที่จังหวัดตรัง โดยพบมากที่สุดบริเวณรอบๆ เกาะลิบง คาดว่ามีราว 210 ตัว ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสำรวจในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 โดยเฉพาะที่เกาะลิบงนั้นเป็นที่อาศัยของจำนวนประชากรพะยูนในประเทศมากถึงร้อยละ 60-70 และจากข้อมูลของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รายงานว่าจำนวนพะยูนเฉลี่ยในประเทศไทย 240 ตัว แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงลดลง

แม้จะมีความพยายามในการอนุรักษ์ประชากรพะยูนในประเทศ ในปี พ.ศ. 2554 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการอนุรักษ์และการจัดการพะยูน และแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนโดยครอบคลุมพื้นที่อาศัยของพะยูนทั้งหมด ระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ/อนุสัญญาว่าด้วยชนิดพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่น โดยที่ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 20 ที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจนี้

แต่ปัจจุบันประชากรพะยูนในธรรมชาติยังคงถูกคุกคามอย่างหนัก ทั้งการจากรล่าเพื่อเอาเนื้อ, กระดูก และเขี้ยวไปขายตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ มีความเชื่อว่ามีคุณสมบัติทางเมตตามหานิยม โดยเฉพาะ “เขี้ยวพะยูน” ที่มีชื่อเรียกในแวดวงการค้าในตลาดมืดว่า “งาช้างน้ำ” ซึ่งมีราคาซื้อขายที่แพงมาก และมักนำไปทำเป็นหัวแหวน นอกจากนี้แล้วยังเชื่อว่าน้ำตาพะยูนและเขี้ยวพะยูนมีอำนาจในทางทำให้เพศตรงข้ามลุ่มหลงคล้ายน้ำมันพราย

นอกจากนี้ พะยูนที่เริ่มกลับมาหากินในพื้นที่ทะเลไทย ยังถูกคุกคามจาก“ทัวร์ชมพะยูน” ของคนในพื้นที่ ที่มักมีการแล่นเรือไล่ตามพะยูนที่กำลังกินหญ้าทะเล เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เห็นพะยูนในระยะใกล้ ซึ่งอาจส่งผลให้พะยูนมีการย้ายถิ่นออกจากพื้นที่ เพราะความรู้สึกไม่ปลอดภัย และมีบางส่วนที่อาจได้รับบาดเจ็บจากใบพัดเรือ รวมถึงอุปกรณ์ประมงอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ได้มีการคำนวณา หากสถานการณ์ของพะยูนในน่านน้ำไทยยังคงเป็นเช่นนี้ และโดยเฉลี่ยยังมีพวกมันตายถึงปีละกว่า 5 ตัว ผลลัพธ์อาจทำให้พะยูนจะหมดไปจากน่านน้ำไทยภายใน 60 ปีนี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0