โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

มาเช็ก! พฤติกรรมแบบไหน เสี่ยงทำประสาทหูเสื่อม?

MThai.com - Health

เผยแพร่ 21 ก.ย 2561 เวลา 03.20 น.
มาเช็ก! พฤติกรรมแบบไหน เสี่ยงทำประสาทหูเสื่อม?
การใส่หูฟัง เปิดเพลงดังๆ เป็น 1 ในพฤติกรรมที่ทำให้ ประสาทหูเสื่อม เราลองมาดูกันไหมว่า นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมอะไรบ้าง ที่ทำให้หูเสื่อมแบบไม่รู้ตัว

การได้ยินเสียงหรืออยู่ในที่ที่เสียงดัง เป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกัน เป็นเรื่องที่ไม่ดี เพราะมันจะทำให้หูของคุณเสื่อมลง โดยเฉพาะการใส่หูฟัง เปิดเพลงดัง ที่คนปัจจุบันเป็นกันมาก เราลองมาดูกันไหมคะว่า นอกจากนี้แล้วยังมีพฤติกรรมอะไรที่เสี่ยงทำ ประสาทหูเสื่อม อีกบ้าง?

หูเสื่อม เป็นออกเป็น 2 ระยะ

1. การได้ยินเสียงดังมากระยะสั้น เช่น เสียงระเบิด อาจทำประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันได้ ซึ่งอาจเป็นแบบชั่วคราว

2. การได้ยินเสียงดังเป็นระยะเวลานานๆ เช่น การทำงานในที่เสียงดังมานาน อาจทำให้ประสาทหูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป มักเสียที่ความถี่สูงก่อน และมักเป็นถาวร ทั้งนี้อาจขึ้นกับความดังเสียง และระยะเวลาที่ได้รับ

พฤติกรรมเสี่ยงทำประสาทหูเสื่อมไม่รู้ตัว

โดยปกติระดับเสียงที่ได้ยิน ไม่ควรดังเกิน 80 เดซิเบล หากเกินกว่านี้อาจส่งผลให้ประสาทหูเสื่อมก่อนวัยอันควร

กลุ่มเสี่ยงโรคประสาทหูเสื่อม ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ : มักมีปัญหาประสาทหูเสื่อมตามวัย
  • คนทำงานโรงงาน : ที่มีเสียงดัง มักมีความเสี่ยง เนื่องจากต้องได้ยินเสียงดังเกิน 80 เดซิเบล เป็นเวลาต่อเนื่อง
  • คนที่ทำงานในสถานที่เที่ยวกลางคืน : มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากสถานที่เหล่านี้ มีความดังอยู่ที่ 100-120 เดซิเบล
  • กลุ่มผู้ใช้หูฟังเป็นประจำ : มักคุ้นชินกับการฟังเสียงที่ดังเกิน 80 เดซิเบลโดยไม่รู้ตัว จึงมีความเสี่ยง
  • ผู้ที่รับประทานอาหารรสเค็มจัด : สะสมต่อเนื่อง ส่งผลให้ท่อน้ำในหูชั้นในโป่งและแตกได้ เกิดประสาทหูเสื่อมในที่สุด

การรักษาและป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงเสียงดัง

  2. อาจใช้อุปกรณ์ช่วยลดเสียงหากจำเป็นต้องอยู่ในที่เสียงดัง

  3. ควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาหากได้ยินลดลง หรือได้ยินเสียงในหู

คลิป > “พลอย พลอยพรรณ” โหมงานหนัก หวั่นหูดับถาวร

https://seeme.me/ch/goodmorningthailand/MzPp5k

ที่มา : อ. พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยาและอ.นพ. ธเนศ แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0