โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

มาดูคำตอบ ถามคนกว่า 40 ล้านคน ถ้าต้องเลือกช่วยคนเดินถนนกับช่วยคนในรถ จะเลือกอะไร

Beartai.com

อัพเดต 21 พ.ย. 2561 เวลา 09.20 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2561 เวลา 09.20 น.
มาดูคำตอบ ถามคนกว่า 40 ล้านคน ถ้าต้องเลือกช่วยคนเดินถนนกับช่วยคนในรถ จะเลือกอะไร
มาดูคำตอบ ถามคนกว่า 40 ล้านคน ถ้าต้องเลือกช่วยคนเดินถนนกับช่วยคนในรถ จะเลือกอะไร

ถ้าคุณถูกบังคับให้เลือกระหว่างช่วยคนที่ข้ามถนน กับ ช่วยชีวิตคุณกับคนในรถคุณจะเลือกอะไร?

เพื่อให้ได้คำตอบทีมนักวิจัยจาก MIT Media Lab ได้วิเคราะห์การตอบสนองมากกว่า 40 ล้านคน ในการทดลองที่เปิดตัวขึ้นในปี 2014 ทั้งทางด้านจริยธรรม และ มุมมองที่แตกต่างกันจากคนทั่วโลก

การชั่งน้ำหนักระหว่างคนที่จะช่วยชีวิตดูจะเป็นหลักจริยธรรมทั่วไปที่ทุกคนมอง แนวคิดนี้ได้รับการสำรวจจากซีรีย์ The Good Place ที่ฉายทางช่อง NBC โดยในเนื้อเรื่องนั้นตัวละครอยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องเลือกระหว่าง การปล่อยให้รถรางวิ่งเข้าชนวิศวกร 5 คน หรือ จะช่วยชีวิตวิศวกร 5 คน แล้วทำให้วิศวกรคนอื่นๆ เสียชีวิตแทน ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นนี้เราจะทำอย่างไร

จากการวิจัยเราพบว่า

4 ปี ภายหลังการทดลองจำลองสถานการณ์ กว่า 40 ล้านคนเลือกที่จะ

  • ช่วยชีวิตของคนมากกว่าหากมีสัตว์ตัดหน้ารถ
  • คนส่วนมากเลือกที่จะช่วยชีวิตคนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • มีแนวโน้มที่จะช่วยชีวิตเด็กมากกว่าผู้สูงอายุ
  • นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่เลือกที่จะช่วยชีวิตผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • ช่วยคนที่มีฐานะมากกว่าคนที่ยากจน
  • ช่วยชีวิตคนเดินเท้ามากกว่าผู้โดยสารภายในรถ

นักวิจัยบอกว่าจากการสำรวจข้อมูลประชากร ประมาณ 490,000 คน พบว่าปัจจัยเรื่อง เพศ อายุ และ ศาสนา ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมบางอย่างกลับมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ยกตัวอย่างเช่น คนฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับจำนวนผู้คนที่จะเสียชีวิต ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจกับเรื่องคนเดินเท้ามากกว่า

อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยได้กล่าวว่า แบบจำลองที่พวกเขาได้ทำนั้น เป็นการทดลองแบบไม่มีการควบคุม เราไม่สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องได้ทั้งหมดในสถานการณ์ที่ซับซ้อนเช่นนี้ แต่อย่างไรก็ตามพวกเขาหวังว่าเรื่องนี้จะเป็นตัวจุดประกายการสนทนาเรื่องจริยธรรมในการขับขี่ระดับสากล ตั้งแต่อดีตเราไม่มีสิทธิกำหนดได้ว่าใครควรมีชีวิตรอด หรือใครควรตาย ในเวลาเพียงเสี้ยววินาที โดยไม่มองตามความเป็นจริง เราจึงควรมีการคุยกันถึงเรื่องจริยธรรมนี้เพื่อทำการออกแบบขั้นตอนทางจริยธรรม ทีมงานในการวิเคราะห์กล่าว

ทางด้านเยอรมันได้เสนอกฎหมายว่า ผู้ขับรถจะต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุให้มากที่สุด และ หากเกิดความเสียหายขึ้นมาผู้ขับจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และ ตามกฎหมายยังระบุอีกว่า ขั้นตอนเหล่านี้จะต้องไม่ขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ และ สุขภาพ ของทั้งผู้โดยสาร และ คนเดินเท้า

อ้างอิง

แชร์โพสนี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0