โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มาดามเดียร์แนะแบ่งแยก “อยู่เป็น” “อยู่ไม่เป็น” ไม่มีวันที่สังคมจะเดินหน้า

TODAY

อัพเดต 16 พ.ย. 2562 เวลา 15.39 น. • เผยแพร่ 16 พ.ย. 2562 เวลา 15.39 น. • Workpoint News
มาดามเดียร์แนะแบ่งแยก “อยู่เป็น” “อยู่ไม่เป็น” ไม่มีวันที่สังคมจะเดินหน้า

วันที่ 16 พ.ย. สถาบันทิศทางไทย จัดงานเสวนา ประเทศไทยอยู่อย่างไรให้ "อยู่ เย็น เป็น สุข" น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตนชอบคำว่า อยู่เย็นเป็นสุข คำนี้ไม่ใช่คำว่า "อยู่ไม่เป็น" หรือ "อยู่เป็น" แต่คือ การที่ประชาชนคนไทยหรือประชากรโลกจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ให้อยู่เย็นเป็นสุข
.
การที่เราจะคิดโดยเอาอัตตาตนเองเป็นที่ตั้งอย่างเดียว คงจะไม่สามารถทำให้อยู่รวมกันได้อย่างอยู่เย็นเป็นสุข

สังคมของเราวันนี้ มีการเข้ามาของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ตนเคยไปอบรมของซีเอ็นเอ็น วิทยากรได้พูดถึงเรื่องการรับข้อมูลข่าวสารของคนแต่ละวัย บางทีเรามักจะคิดว่าคนรุ่นนั้นเป็นอย่างไร ผู้ใหญ่อาจจะมองว่าเด็กๆ ไม่รู้เรื่องอะไร เด็กๆ อาจจะไม่มีประสบการณ์ภูมิความรู้ในบางอย่าง
.
แต่ว่าในแง่ของข้อมูล การเข้ามาของยุคอินเทอร์เน็ต ด้วยข้อมูลข่าวสารเยอะเต็มไปหมด บางครั้งเราจะมีพฤติกรรมเสพข้อมูลในสิ่งที่เราคิดว่าชอบ เราก็จะอยู่กับสังคมแบบนั้นที่เราสบายใจ หรือ echo chamber แล้วเราคิดว่านั่นคือ ความถูกต้องดีงาม เป็นความจริง ซึ่งข้อเท็จจริงข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมาก ทั้งข้อมมูลที่เป็นจริงและเฟกนิวส์
.
พอเป็นแบบนั้นแล้วสิ่งที่ต้องกลับมาตั้งคำถาม ไม่ว่าจะด้วยความแตกต่างของวัย ทัศนคติ หรือบริบทสังคม เราจะหาจุดลงตัวบนความแตกต่างอย่างไรที่จะทำให้อยู่ด้วยการอย่างอยู่เย็นเป็นสุข
.
ถ้าเราจะต่อสู้เรื่องความคิดควรจะมาถกเรื่องเหล่านี้ว่า เราจะอยู่อย่างไร เราจะร่วมกันพัฒนาประเทศอย่างไร ไม่ใช่ผลักไสคนอื่น มีกรณีที่คนรุ่นใหม่ต่อต้านการใช้ถุงพลาสติก พอรัฐบาลประกาศเลิกใช้ก็มีคำพูดบูลลี่ การด่าทอ มันบอกถึงการแสดงออกที่เราเรียกร้องหนึ่งอย่าง เรากลับไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป
.
เราออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย แต่พอมีคน มีความคิดต่างคิดไม่เหมือนก็ถูกตราหน้าสาดโคลนว่า คนเหล่านั้นมีความคิดที่ผิด มีความคิดที่แปลกแยก หลายครั้งใช้คำว่า เผด็จการ ทั้งที่จริงประชาธิปไตย คือ การเคารพในความเห็นที่แตกต่าง ไม่ว่าจะความคิดใดหากเรามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ประเทศก้าวไปข้างหน้า อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข สามารถจะมาถกเพื่อหาจุดลงตัวได้ ไม่ใช่เรียกร้องประชาธิปไตย แต่คนคิดต่างหรือคิดไม่เหมือนเป็นคนคิดผิด

หรือการแบ่งแยกสังคมว่าคนหนึ่ง "อยู่เป็น" อีกคนหนึ่ง "อยู่ไม่เป็น" ตราบใดถ้าเราคิดกันแบบนี้ คงไม่มีวันที่สังคมและประเทศจะเดินไปข้างหน้า
.
กรณีของฮ่องกง เป็นตัวอย่างของการต่อสู้ที่คิดว่าเป็นอุดมการณ์ แต่การต่อสู้ที่คิดว่าฉันถูกอย่างเดียว คนอื่นที่คิดต่างผิดทั้งหมด การต่อสู้ที่คิดว่าคนสมัยใหม่เห็นอะไรกว้าง
ไกลกว่าคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ เช่นเดียวกันคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็คิดว่าชั้นอาบน้ำมาก่อน ด้วยการต่อสู้แบบนี้ การไม่ลดละใช้ความคิดตัวเองเป็นใหญ่ สุดท้ายประเทศก็พินาศยับเยินเกิดความเสียหาย
.
มากกว่าการจะต่อสู้ด้วยทางคิดอย่างเดียว ควรกลับมาตั้งคำถามอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ สังคม ในการช่วยให้ประเทศเดินต่อไปข้างหน้า

น.ส.วทันยา กล่าวด้วยว่า ตอนอยู่ในสภาได้มีโอกาสคุยกับเพื่อน ส.ส.พรรคอื่น เขาถามว่า ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงเลือกอยู่พรรคพลังประชารัฐ ตอนฟังคำถามเกิดความรู้สึก คือเป็นคำถามที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน แต่อีกด้านก็เป็นมิติเรื่องการแบ่งแยก ว่าพรรคหนึ่งเป็นของคนรุ่นใหม่ อีกพรรคเป็นของคนมากประสบการณ์ สำหรับตนเลือกอยู่พรรค ประกอบด้วย  คนที่มีประสบการณ์และมีคนที่อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน

ตอนตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางการเมือง เพราะสมัยเด็กเคยผ่านความขัดแย้งทางการเมือง ช่วงพฤษภาทมิฬ และตอนมาเป็นผู้บริหารสื่อ คือ ม็อบเสื้อแดง เราอยากเห็นประเทศเดินหน้าไม่ไปสู่ความขัดแย้ง พรรคพลังประชารัฐเป็นหนึ่งพรรคที่สลายขั้วและอยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้า

ถ้าคนที่รักประเทศอย่างแท้จริงคิดถึงส่วนรวมก่อนส่วนตัว คุณจะไม่ทำประเทศกลับไปสู่ความขัดแย้งหรือเสียหาย การที่คนถูกลวงสู่ท้องถนน ประชาชนเป็นคนที่ถูกหลอก เป็นผู้ได้รับผลกระทบ รวมไปถึงผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ

"เราอาจจะมีความคิดที่เป็นขบถได้ หมายถึงถ้าเอาความขบถตรงนั้นมาใช้ให้เป็นเหมือนไฟที่จะมาปลุกความหวัง ในการขับเคลื่อนการทำงานของเรา แต่ถ้านำมาใช้แล้วเป็นการยุยงปลุกปั่นสร้างความขัดแย้งในประเทศ สุดท้ายคนที่จะบาดเจ็บที่สุด สิ่งที่จะเสียหายมากที่สุดคือ ประเทศ และประชาชนคนไทยด้วยกันเอง"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0