โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

มองยุทธศาสตร์ CPN ไม่หยุดแค่หัวเมืองใหญ่ แต่สร้างจุดเช็กอิน “เมืองรอง”

Positioningmag

อัพเดต 21 ต.ค. 2562 เวลา 03.12 น. • เผยแพร่ 20 ต.ค. 2562 เวลา 17.01 น.

CPN หรือเซ็นทรัลพัฒนาเปิดแผนการลงทุนระยะสั้น3 ปีไปจนถึงปี2565 ใช้เงินลงทุน22,000 ล้านบาทเตรียมพัฒนาและสร้างโครงการรวม17 แห่งเปิดใหม่3 โครงการสร้างเมืองให้จังหวัดเมืองรอง

ทำให้ทุกโลเคชั่นเป็นศูนย์กลางของท้องถิ่น

CPN ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในไทย ซึ่งจะคุ้นเคยกันในโครงการศูนย์การค้าในชื่อเซ็นทรัล พลาซา และเซ็นทรัล เฟสติวัล โดยที่ 39 ปีที่แล้วได้เริ่มโครงการแรกคือ “เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว” เป็นโครงการมิกซ์ยูสแห่งแรกที่มีทั้งศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน จากนั้น CPN ก็ได้ขยายสาขาใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และได้ต่อยอดสร้างฟอร์แมตใหม่ๆ เพื่อรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สภาพตลาดค้าปลีกที่เปลี่ยนไปด้วย จึงได้เห็นโมเดลใหม่ๆ ทั้งเซ็นทรัล อีสต์วิลล์ (เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา) เป็นแบบกึ่ง Open Mall หรือจะเป็นเซ็นทรัล เวสต์เกต (บางใหญ่) ที่วางจุดยืนให้เป็น Super Regional Mall แห่งใหญ่ของทางกรุงเทพฯ ตะวันตก

แต่ยุทธศาสตร์สำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั่นก็คือการบุกตลาดต่างจังหวัด ในอดีต CPN ได้ไปเปิดตลาดที่ต่างจังหวัดมาบ้างแล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นหัวเมืองใหญ่ หรือเมืองท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี พัทยา สมุย ระยอง และหาดใหญ่ เป็นต้น เมื่อไม่กี่ปีมานี้ได้เริ่มบุกจังหวัดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น นครศรีธรรมราช มหาชัย นครราชสีมา ในปีนี้ CPN ได้ประกาศบุกตลาดใหม่ หรือที่หลายคนเรียกว่า “เมืองรอง” เป็นจังหวัดที่ไม่ได้เป็นเมืองท่องเที่ยวเท่าไหร่นัก แต่มีศักยภาพ และมีการเติบโตด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น

วัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือ ซีพีเอ็น
วัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือ ซีพีเอ็น

วัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือ ซีพีเอ็น ได้บอกว่า “กลยุทธ์สำคัญคือต้องการทำให้โครงการของ CPN ในทุกโลเคชั่น ทุกภูมิภาคของไทยเป็น Center of Life ของท้องถิ่น หรือเป็นศูนย์กลางของท้องถิ่นให้ได้ นั่นคือต่อไปจะไม่ได้พัฒนาโครงการแค่เมืองที่เจริญแล้ว แต่ไปพัฒนาโครงการในเมืองใหม่ๆ เพื่อรองรับการขยายเมือง ตอบโจทย์ Urbanized City ของประเทศไทย”

ปั้น 3 โครงการมิกซ์ยูส เปิดตลาด 3 จังหวัดเมืองรอง 

ในปีนี้ CPN ประกาศงบลงทุน 22,000 ล้านบาทในช่วง 3 ปีนี้ โดยมีทั้งพัฒนาโครงการใหม่ 3 โครงการ รีโนเวตศูนย์การค้าใหม่ 2 โครงการ และรีโนเวตแค่เล็กน้อย 12 โครงการ รวมทั้งหมด 17 โครงการ อีกทั้งยังมีบิ๊กโปรเจกต์ อีก 2 โครงการ เป็นโครงการ Dusit Central Park มูลค่าอีกกว่า 36,700 ล้านบาท และพัฒนาโครงการภายใต้บริษัท GLAND สำหรับโครงการที่พัฒนาขึ้นมาใหม่มี 3 โครงการด้วยกัน เป็นการเจาะเมืองรองอย่างเต็มรูปแบบ แต่มีการทำการศึกษาแล้วว่าเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพมีการเติบโตสูง อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาโครงการ “มิกซ์ยูส” ทั้งหมด ที่จะประกอบไปด้วยศูนย์การค้า โรงแรม ที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน เป็นความต้องการที่จะสร้างเมืองใหม่โดยเฉพาะ [caption id="attachment_1250366" align="aligncenter" width="650"]

CentralPlaza Ayuttaya[/caption]

  • เซ็นทรัล พลาซา อยุธยา ถือเป็น strategic location เป็นศูนย์กลางของภาคกลางตอนบน และยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมสำคัญที่ต่อขยายจากกรุงเทพฯ CPN ต้องการนำ Kyoto Model มาเป็นต้นแบบเพื่อผลักดันอยุธยาเป็นอีกหนึ่ง Top destination เมืองท่องเที่ยวของโลก ซึ่งปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวกว่า 2 ล้านคนต่อปี คาดว่าโครงการจะเปิดให้บริการไตรมาสที่ 2 ปี 2564[caption id="attachment_1250367" align="aligncenter" width="800"]

CentralPlaza Siracha[/caption]

  • เซ็นทรัล พลาซา ศรีราชา โดยศรีราชาเป็นเมืองอุตสาหกรรม New S-Curve เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และจะเป็น MICE Hub ของ EEC Center โดยเป็นครั้งแรกที่มีศูนย์การค้าแบบ Semi-Outdoor โมเดลเดียวกับเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ นอกพื้นที่กรุงเทพฯ คาดว่าจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 2 ปี 2564

  • เซ็นทรัล พลาซา จันทบุรี เป็นโครงการแรกของ CPN ในจันทบุรี แต่มีโรบินสันมาปูพรมไว้แล้ว จึงมีข้อมูลของผู้บริโภคพอสมควร มองว่าที่นี่เป็นเมืองแห่งผลไม้เมืองร้อนของโลก และศูนย์กลางการค้าขายพลอยและอัญมณีที่ใหญ่ที่สุดของโลก รวมถึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแนวไลฟ์สไตล์อีกด้วย คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565

พลิกโฉม 2 ศูนย์ “พระราม 2 - รามอินทรา” รองรับเมืองขยาย

นอกจากการเปิดโครงการใหม่ CPN เตรียมรีโนเวต หรือ Re-development แบบพลิกโฉมศูนย์การค้าครั้งใหญ่ 2 โครงการด้วยกัน ได้แก่ เซ็นทรัล พระราม 2 และเซ็นทรัล รามอินทรา [caption id="attachment_1250369" align="aligncenter" width="800"]

CentralPlaza RM2[/caption]

  • เซ็นทรัล พลาซา พระราม 2 ต้องการให้เป็น The Largest Regional mall จับโซนกรุงเทพฯ ตอนใต้ โดยจะถูกพลิกโฉมยกเครื่องศูนย์ใหม่ทั้งหมด ทั้งด้านดีไซน์ การเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ ปรับปรุงร้านค้าที่มีอยู่เดิม โดยธุรกิจต่างๆ ของ Central Group อาทิ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, TOPs, B2S ก็พร้อมใจกันปรับโฉมครั้งมีการ re-create พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ชื่อว่า สวน Central Plearn Park ที่มีขนาดใหญ่ถึง 37 ไร่ ให้เป็นเหมือน The Oasis of South Bangkok ที่จะเป็นพื้นที่สำหรับครอบครัว ตอบรับไลฟ์สไตล์กลุ่มครอบครัวกำลังซื้อสูง ประกอบไปด้วย Food Garden & Fashion Park, Kids Gym, Multi-sport recreation (ลู่วิ่ง, bike lane, ร้านค้าขายสินค้าแนวสปอร์ต) และเป็น Pet Community ที่มีทั้ง โรงพยาบาลสัตว์ Pet playground, Pet pool และ Pet Shop คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 1 ปี 2565

  • เซ็นทรัล พลาซา รามอินทรา การพลิกโฉมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 26 ปี เพื่อรองรับกลุ่มประชากรที่เติบโตขึ้น จากหมู่บ้านเป็นคอนโด แนวราบเป็นแนวสูง ที่มีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น รวมถึงพัฒนาตามการเติบโตของ infrastructure ในย่านรามอินทรา ด้วยรถไฟฟ้าสายสีชมพู คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ปี 2564โดยที่ในปี 2563 CPN จะไม่มีการเปิดโครงการใหม่ แต่จะทำการปรับปรุง และขยายพื้นที่ศูนย์การค้าอีก 12 สาขาทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา พระราม 9, เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์, เซ็นทรัลพลาซา บางนา, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น, เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี, เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่, เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์พอร์ต, เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช, เซ็นทรัล มารีนา พัทยา, เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย และเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่

ค้าปลีกไทยยังไม่วิกฤติ ต้องทำให้เป็นมากกว่าศูนย์การค้า

วัลยาพูดปิดท้ายถึงสถานการณ์ค้าปลีกในประเทศไทย และวิกฤติค้าปลีกในต่างประเทศ มองว่าที่สหรัฐอเมริกาที่เกิดวิกฤติขึ้นนั้นเพราะไม่มีการปรับตัว ไปแต่ละทีก็เหมือนเดิม แต่ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ทำให้อยู่ไม่ได้ ส่วนในประเทศไทยยังไม่ถึงขั้นน่าเป็นห่วง เพราะมีการปรับตัวอยู่ตลอด มีการปรับวิธีการนำเสนอ ปรับรูปแบบให้เดินสนุกมากขึ้น ต้องทำให้เป็นจุดเช็คอินให้ได้ ระยะเวลาในการปรับโฉมศูนย์แต่ละครั้งก็เร็วขึ้น จากแต่ก่อน 10 ปีก็มีปรับโฉมบ้าง แต่ตอนนี้ 6 - 7 ปีก็ต้องมีการปรับใหม่บ้างแล้ว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย และต้องมีการใช้ดิจิทัลให้พอดี ต้องผสมผสานให้เหมาะสม

สำหรับ 5 ศูนย์การค้าของ CPN ที่มีการใช้บริการมากทีี่สุด ได้แก่เซ็นทรัล เวิลด์, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า, เซ็นทรัล บางนา และเซ็นทรัล พระราม 2 ปัจจุบันCPN บริหารจัดการศูนย์การค้า 34 แห่ง (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 15 โครงการ, ต่างจังหวัด 18 โครงการ และในมาเลเซีย 1 โครงการ) ศูนย์อาหาร 30 แห่ง อาคารสำนักงาน 7 อาคาร โรงแรม 2 แห่ง และโครงการคอนโดมิเนียมจำนวน 9 โครงการ ภายใต้แบรนด์ ESCENT, ESCENT VILLE, ESCENT PARK VILLE และ “ฟิล พหล 34” (PHYLL PAHOL 34) และโครงการบ้านเดี่ยว “นิยาม บรมราชชนนี” ส่วนผลประกอบการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่ารายได้ปี 2019 จำนวน 36,000 ล้านบาท

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0