โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มติ ส.ว. อนุมัติ พ.ร.ก.โอนกำลัง 233 เสียง ขณะที่ “สมชาย” กร้าวใส่ "อนาคตใหม่" ตัวอันตราย

สยามรัฐ

อัพเดต 20 ต.ค. 2562 เวลา 03.46 น. • เผยแพร่ 20 ต.ค. 2562 เวลา 03.46 น. • สยามรัฐออนไลน์
มติ ส.ว. อนุมัติ พ.ร.ก.โอนกำลัง 233 เสียง ขณะที่ “สมชาย” กร้าวใส่

มติ ส.ว. อนุมัติ พ.ร.ก.โอนกำลัง 233 เสียง ขณะที่ “สมชาย” กร้าวใส่ "อนาคตใหม่" ตัวอันตราย หวั่นซ้ำรอยเดือนต.ค.เกิดความขัดแย้ง

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. เวลา 09.00 น.ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา เป็นพิเศษ ซึ่งมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธาน ได้พิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) โอนอัตรากำลังและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยงานบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ.2562 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ ทั้งนี้พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม ได้ชี้แจงหลักการและเหตุผล ในความจำเป็นเร่งด่วนที่จำเป็นต้องออกเป็นพระราชกำหนด

ทั้งนี้ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ส.ว. ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ ชี้แจงว่า หลังจากกมธ.พิจารณาพ.ร.ก.ฉบับนี้ พบว่าในการออกเป็นพ.ร.ก.ต้องอาศัยเหตุผล และความจำเป็น ตามที่บัญญัติไว้ในรธน. เพราะโดยปกติการโอนอัตรากำลังหรืองบประมาณ ต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แต่การที่รัฐบาลเลือกออกเป็นพ.ร.ก. ด้วยเหตุผลความจำเป็นตามรธน. มาตรา 172 ที่บัญญัติว่า กรณีเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์ทรงตราพ.ร.ก.ให้ใช้บังคับดังเช่นพ.ร.บ.ได้

พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมี 3 สถาบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สถาบันที่พวกเราต้องเทิดทูล ถวายความปลอดภัย คือสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องเร่งรัดดำเนินการ เพื่อให้การถวายความปลอดภัย และการเทิดพระเกียรติเป็นไปตามความมุ่งหมาย จะปล่อยให้เนิ่นนานไปคงไม่ได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ หรือประชาชนทั่วไป ต้องเห็นเรื่องการถวายความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง และเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะรอได้ เพราะบางเรื่องหากรออาจเกิดผลเสียหาย อย่างไรก็ตาม หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยเป็นส่วนราชการอยู่ในพระองค์ มีความจำเป็นที่จะต้องพูดถึงการเพิ่มอัตรากำลัง และงบประมาณ

ฉะนั้น การที่จำเป็นต้องโอนอัตราหรืองบบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย และกระทรวงหลาโหม ไปอยู่ในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ กมธ.ฯ จึงเห็นว่ามีความจำเป็นจริงๆที่ต้องตราเป็นพ.ร.ก. โดยไม่อาจรอเป็นพ.ร.บ.แล้วไปเข้าตามช่องทางปกติ ซึ่งต้องใช้เวลานาน อาจไม่ทันการเรื่องการถวายความปลอดภัย จึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการที่รัฐบาลได้เสนอออกเป็นพ.ร.ก. ทั้งนี้ขอตั้งคำถามว่าการโอนหน่วยงานบางส่วนต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบอะไรในหน่วยงานเดิมและใหม่ให้สอดคล้องหรือไม่

ขณะที่มีส.ว.​ จำนวน 5 คนคือ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายเสรี สุวรรณภานนท์ นายอนุศักดิ์ คงมาลัย พล.อ.เลิศรัตน์ รันตวาณิช สนับสุนพรก.ดังกล่าว มีความสำคัญ และจำเป็นเร่งด่วน ไม่สามารถรอได้ และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา172 กำหนดไว้

ขณะที่นายสมชาย แสวงการ ส.ว. สนับสนุนพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว และยังได้เรียกร้องให้ พรรคอนาคตใหม่รับผิดชอบต่อกรณีที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่รับผิดชอบต่อการอภิปรายที่ระบุไว้ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพราะเป็นประเด็นที่ทำให้สังคมสับสนและอาจนำไปสู่ความเผชิญหน้าและขัดแย้งระหว่างประชาชนที่รักชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากการอภิปรายของส.ส.ในที่ประชุมสภาฯ​ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมระหว่างการพิจารณา พ.ร.ก. ดังกล่าว มีข้อมูลที่บิดเบือน และทำให้สังคมสับสนว่าการไม่เห็๋นด้วยกับ พ.ร.ก. และอ้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่สมควรประกาศ พ.ร.ก. และตั้งคำถามว่าทำไมไม่ทำเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)

ทั้งนี้เรื่องความมั่นคงปลอดภัยประเทศ ว่าด้วยการอารักขา ถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เป็นเรื่องสำคัญของชาติ หากทำเป็นพ.ร.บ. แม้สภาฯ จะพิจารณาแบบ 3 วาระรวดได้ เพื่อความรวดเร็ว แต่ต้องใช้การตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เต็มสภา และส.ส.สามารถแปรญัตติ หาก ส.ส. 70 คนที่โหวตสวนมติอนุมัติ พ.ร.ก. แปรญัตติที่มีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อหา ซึ่ง พ.ร.ก. ที่มีผลบังคับใช้แล้ว หากมีผลเปลี่ยนแปลงบางกรม หรือแก้ไขบางส่วน และมีข้อผิดพลาด รัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาต้องรับผิดชอบ หรือหากผ่านสภาฯ โดยไม่แก้ไข ต้องเข้าสู่การประชุมวุฒิสภา ซึ่งการพิจารณาเป็นร่างพ.ร.บ. อาจใช้เวลานานเกือบ 1 ปี ดังนั้นการโอนย้ายหน่วยงาน ที่สำคัญ คือ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 11มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ อาจเป็นการถ่วงเวลา

“คนไทยทั้งประเทศเข้าใจและเห็นด้วยกับการถวายอารักขาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้กรมทหารราบที่ 1 และกรมทหารราบที่11มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์เป็หน่วยงานที่อยู่กับสังคมไทยมาแต่โบราณกาล กรณีเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ให้สัมภาษณ์เพื่อประกา nhศจุดยืนของพรรคที่นำไปสู่การโหวตสวน ถือว่าไม่งดงาม และสร้างความแคลงใจให้กับประชาชนที่รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ที่ท่านบอกว่าเป็นมาตรา 44 จำแลง ผมว่าเป็นการตะแบง เรื่องนี้นายฯ​ทำถูกต้องแล้ว หากท่านไม่สบายใจ ส.ส.ไม่ต้องมาสภา ซึ่งสิ่งที่ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ทำนั้น สร้างความแปลกประหลาด

ทั้งนี้ผมมองว่าขณะนี้มีกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม ที่เป็นพวกปฏิกษัตริย์นิยม หรือคนที่มีความคิดนิติราษฎร์ พยายามนำมวลชนในโซเชียลลงสู่ถนนเหมือนเหตุการณ์ในฮ่องกง ทั้งนี้เราผ่านเหตุการณ์เดือนตุลา ปี2516 และ ปี 2519 มานานแล้ว ขอบางพรรคการเมืองอย่าพยายามพามวลชนเผชิญหน้า กับคนอีก 60 ล้านคน หากทำสังคมไทยอาจเกิดวิกฤตได้อีกรอบ ทั้งนี้สิ่งที่บางพรรคทำขอให้ทำเป็นครั้งสุดท้าย ส่วนสิ่งที่ทำต้องรับผิดชอบ”นายสมชาย อภิปราย

ขณะที่ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงว่า การดำเนินการต่อไป คือ ออกประกาศกระทรวงกลาโหมและพิจารณาชี้แจงปรับโครงสร้างภายใมนกองทัพเพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.ก.ต่อไป จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเอกฉันท์เห็นชอบด้วยคะแนน 223 เสียง งดออกเสียง 3

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0