โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

มจธ.ร่วมผลักดัน ธนาคารน้ำใต้ดิน ช่วยคนไทย สู้ภัยแล้งและน้ำท่วมขัง อย่างยั่งยืน

Campus Star

เผยแพร่ 02 มิ.ย. 2563 เวลา 02.42 น.
มจธ.ร่วมผลักดัน ธนาคารน้ำใต้ดิน ช่วยคนไทย สู้ภัยแล้งและน้ำท่วมขัง อย่างยั่งยืน
ธนาคารน้ำใต้ดิน ช่วยคนไทย สู้ภัยแล้งและน้ำท่วมขัง แนวคิดการเก็บน้ำไว้ใต้ดินจากประเทศสหรัฐอเมริกา มาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ทางภาคอีสาน

อาจารย์ มจธ. เผยการผลักดันโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงภัยแล้งและน้ำท่วมขัง ให้กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคในประเทศให้ได้มากที่สุด จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ได้ และใช้งบประมาณไม่มากขึ้นอยู่กับพื้นที่ หวังผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ

ธนาคารน้ำใต้ดิน สู้ภัยแล้งและน้ำท่วมขัง

หลักการของธนาคารน้ำใต้ดิน

โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ริเริ่มโดยพระนิเทศศาสนคุณ (หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ) ที่นำเอาแนวคิดการเก็บน้ำไว้ใต้ดินจากประเทศสหรัฐอเมริกา มาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ทางภาคอีสาน ที่มักมีน้ำท่วมหนักในฤดูฝนและแล้งมากในฤดูร้อน หลักการคือการเติมน้ำลงไปเก็บไว้ใต้ดิน และนำออกมาใช้ได้เมื่อยามต้องการ

โครงการนี้มีความร่วมมือกับกรมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ภาคเอกชน โดยร่วมมือ กับ คุณธเนศ นะธิศรี ประธานกลุ่ม American Groundwater Solution (AGS) สมาคม มูลนิธิต่าง ๆ และภาคมหาวิทยาลัย รวมถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

การทำธนาคารน้ำใต้ดิน แบ่งออกเป็น 2 แบบ

ดร.ปริเวท วรรณโกวิท หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGEO) มจธ. กล่าวว่า การทำธนาคารน้ำใต้ดินแบ่งออกเป็นสองแบบหลักๆ การทำขึ้นอยู่กับพื้นที่และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน คือ

  • บ่อเติมน้ำแบบระบบปิดและแบบระบบเปิด โดยการทำบ่อแบบระบบปิดนั้นจะมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมขังระดับครัวเรือน อุปกรณ์การทำหาได้ง่าย โดยขุดดินที่ความลึกประมาณ 2 เมตร และใช้หินหรือประยุกต์วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมงบประมาณนั้นจะอยู่ที่หลักพันบาท
  • บ่อเติมน้ำระบบเปิด จะใช้พื้นที่มากกว่า แก้ปัญหาได้ในวงกว้าง โดยจะขุดเจาะหน้าดินให้ทะลุชั้นดินเหนียวและลึกลงไปถึงชั้นหินอุ้มน้ำ ขุดเป็นรูปทรงหรือขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่ หรืออาจจะเป็นการปรับปรุงบ่อเก่า โดยการขุดเป็นสะดือบ่อให้ลึกลงไปก็ได้เช่นกัน สิ่งที่สำคัญคือการขุดบ่ออื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้มีการเชื่อมโยงของระบบการไหลซึมของน้ำใต้ดิน น้ำจึงจะสามารถแพร่ไปตามชั้นหินใต้ดินได้ในช่วงฤดูฝนที่มักมีน้ำหลากและท่วมขัง งบประมาณจะอยู่ที่ประมาณ 4-5 แสนบาทต่อบ่อขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่

ตัวอย่างบ่อเติมน้ำระบบเปิด

ส่วนที่ มจธ. รับผิดชอบ ช่วยเหลือ

ดร.ปริเวท วรรณโกวิท กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนที่ มจธ. รับผิดชอบ คือการนำเอาความรู้เชิงวิชาการ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และการแปลภาพถ่ายดาวเทียมเข้ามาสนับสนุน เพื่อรวบรวมข้อมูลหาพื้นที่ในการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน เนื่องจากในแต่ละพื้นที่นั้นมีลักษณะชั้นดินและหินอุ้มน้ำแตกต่างกัน โดยตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินการในปี พ.ศ. 2560 มีพื้นที่ที่ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ ตำบลบ้านผึ้ง จังหวัดนครพนม ตำบลวังหามแห จังหวัดกำแพงเพชร และตำบลหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ตำบลเชียงเครือ จังหวัดสกลนคร

ปัจจุบันทาง มจธ.อยู่ในระหว่างการจัดทำแผนที่วิเคราะห์พื้นที่ทั่วประเทศ ถึงความเหมาะสม สำหรับการทำธนาคารน้ำใต้ดินร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล

บทความแนะนำ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0