โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"มงคล"เผย ว่าที่รองนายกฯ-รมว.พาณิชย์ -รมว.เกษตรฯ เตรียมบุกตลาดทะเลไทพรุ่งนี้

สยามรัฐ

อัพเดต 27 มิ.ย. 2562 เวลา 05.50 น. • เผยแพร่ 27 มิ.ย. 2562 เวลา 05.50 น. • สยามรัฐออนไลน์

ว่าที่รองนายกฯ-รมว.พาณิชย์ -รมว.เกษตรฯ เตรียมบุกตลาดทะเลไทพรุ่งนี้ ออกโรงรับฟังความเดือดร้อนชาวประมงทั่วประเทศ ขณะที่สมาคมประมงฯ นัดรวมพลเสนอผลกระทบ ไอยูยู กว่า 4 ปี ต้องหมดอาชีพ โดนสั่งหยุดออกเรือ หลายรายจบชีวิต เร่งรัฐบาลใหม่รื้อกฎหมายประมงรุนแรงเกินไป วันที่ 27 มิ.ย.62 นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 มิ.ย.นี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และว่าที่ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ พร้อมด้วยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคปชป. และว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ จะเข้าร่วมรับฟังปัญหาในที่ประชุมใหญ่สมาชิกสมาคมประมง 22 จังหวัด ในช่วงเวลา10.00-11.00 น. ที่ห้องประชุมตลาดทะเลไท จังหวัดสมุทรสาคร ดังนั้น จึงขอให้สมาชิกเชิญชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อน มาช่วยกันนำเสนอ ปัญหาด้วย อีกด้านหนึ่งจะรวบรวมปัญหาเพื่อเสนอรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในเบื้องต้นชาวประมงแต่ละจังหวัดที่เดือดร้อนกว่า 4 ปีจากปัญหาการบังคับใช้กฎหมายประมงใหม่ ปี 2558 ตามเงื่อนไขไอยูยู ดังนี้ 1.ปัญหากฎหมาย วิธีปฏิบัติในการออกทำการประมง แต่ละครั้ง ที่มีโอกาส มีการเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติ ในการแจ้งจึงถือว่าเป็นการกระทำผิด แต่เป็นการกระทำผิดโดยไม่มีเจตนา แต่กลับต้องถูกดำเนินคดี มีชาวประมงเป็นจำนวนมาก ที่ต้องถูกดำเนินคดีและต้องเสียเงินค่าปรับเป็นเงินจำนวนหลักแสนบาท เป็น ล้านบาท หรือหลายล้านบาท อีกทั้งยังอาจจะถูกสั่งยึดสัตว์น้ำ ที่ไปทำการประมงอย่างถูกต้องทั้งหมดในแต่ละครั้งอีกด้วย จากการที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวิธีปฏิบัติ โดยไม่มีโอกาสต่อสู้คดี อีกทั้งยังอาจจะต้องถูกคำสั่งพักใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตกันอีกด้วย 2.กลุ่มเรืออวนรุนเดิมที่ถูกกฎหมาย แล้วถูก ศปมผ. มี คำสั่ง ให้ยกเลิก ใบอนุญาตเรืออวนรุน ภายในเวลา 2 สัปดาห์ ในช่วงปี 2558 จำนวน 342 ลำ โดยที่ ไม่มีมาตราการรองรับ ที่ดีพอ ทำให้หลายคนต้องหมดอาชีพแล้วสิ้นเนื้อประดาตัว กันจำนวนมาก 3.กลุ่มเรือประมงที่ถูกกฎหมายอยู่เดิม แต่ได้ตกสำรวจ จากการที่ ศปมผ. มีคำสั่งให้มีการสำรวจเรือประมง ในปี 2558 ภายในช่วงระยะเวลา 1 เดือน โดยที่ชาวประมงบางส่วนที่ไม่ได้รับรู้การประกาศแจ้ง สำรวจเรือ และเรือประมง บางส่วน แจ้งแล้วแต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้คีย์เข้าระบบ จึงถูกคำสั่ง ให้ยกเลิกทะเบียนเรือภายในเวลา 1 เดือนจำนวน 8,024 ลำ แต่มีเรือที่มีสถานะอยู่กล่าวคือยังมีเรืออยู่ได้ถูกยกเลิกทะเบียนไป 2,200กว่าลำทำให้เรือประมงกลุ่มนี้ ไม่สามารถออกทำการประมงได้ ทำให้เดือดร้อนไม่มีอาชีพ เลี้ยงครอบครัว ต้องถูกเจ้าหนี้ ยึดที่ดิน บ้าน รถและทรัพย์สินอื่นๆ จนต้องหนี บางคนถึงกับจบชีวิตตัวเอง 4.กลุ่มเรือที่ถูกกฎหมายเจ้าท่าฉบับใหม่ที่ออกมาแล้วกำหนด ให้ยกเลิกทะเบียนเรือประมง ที่เลยกำหนดการต่อใบอนุญาต หรือไม่ได้ต่อใบอนุญาต โดยที่ชาวประมงไม่ได้รู้ กฎหมาย ฉบับใหม่อีกทั้งไม่เข้าใจกฎหมายด้วย เช่น เรือประมงที่งดใช้เรือประมงอยู่ เพราะไม่ได้ออกไปทำการประมง ก็ไม่ทราบว่าจะต้อง ต่อใบอนุญาตใช้เรือทุกๆปี จึงไม่ได้ไปต่อใบอนุญาตใช้เรือในแต่ละปี แต่กฎหมายใหม่กำหนดให้ต้องต่อใบอนุญาตทุกๆปี หากเลยกำหนด จะต้องถูกยกเลิกทะเบียนเรือประมงไปทำให้เป็นเรือประมงไม่มีทะเบียนไม่สามารถออกทำการประมงได้รวมทั้งไม่สามารถขายเรือ ได้อีกด้วยซึ่งเรือประมงถือเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถือได้ว่าเป็นการยกเลิกทรัพย์สินของชาวประมงไปโดยง่ายๆ 5.กลุ่มเรือ ประมง ขาวแดง ที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา รวมทั้งกลุ่มที่ไม่มีชื่อที่จะได้รับการเยียวยาด้วย เพราะเหตุจาก ข้อ 2,3 6.กลุ่มเรือประมงฝั่งอ่าวไทยที่ต้องการจะไปทำการประมงฝั่งอันดามัน ที่ยังไม่สามารถข้ามฝั่งได้และกลุ่มเรือประมงฝั่งอันดามัน ที่ต้องการจะข้ามกลับมาทำประมงฝั่งอ่าวไทย ก็ไม่สามารถจะกลับมาทำประมงได้ เป็นต้น 7.กลุ่มผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่มี ใช้ แรงงานต่างด้าว ผิดกฎหมายจะ ต้องถูกสั่งปิดโรงงานชั่วคราวและ ถาวร โดยง่ายๆตาม พรก.ประมง มาตรา11 มาตรา11/1 และกรณีที่มี ใช้ แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จะต้องถูกปรับสูงถึง400,000-800,000บาทต่อแรงงานต่างด้าว 1 คนตามกฎหมาย พรก.ประมงมาตรา 124 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการออกกฎหมายในการเลือกปฏิบัติ ต่อโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำเพียงอย่างเดียว แต่กับโรงงานประเภทอื่นๆ ที่ใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย กลับมีโทษปรับเพียงแค่ 10,000-100,000 บาทต่อแรงงานต่างด้าว 1 คน โดยไม่ต้องมีการที่จะต้องถูกสั่งปิดโรงงานเช่นเดียวกันกับโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำจึงอาจจะเป็นการออกกฎหมายที่ขัดกับหลักการ ความเสมอภาคในการประกอบอาชีพความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมายความเสมอภาคในการที่เจ้าหน้าที่จะต้องปฏิบัติกับประชาชนอย่างเดียวกัน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0