โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ฟ้าหลังโควิด คนยังเจ็บหนัก ไร้หนทาง บัณฑิตจบใหม่ 5.2 แสนคน ไม่มีงาน

ไทยรัฐออนไลน์ - Economics

อัพเดต 29 พ.ค. 2563 เวลา 09.26 น. • เผยแพร่ 28 พ.ค. 2563 เวลา 13.01 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทยจะปรับตัวดีขึ้น มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 10 คนต่อวันต่อเนื่อง นำไปสู่การผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์จากเฟส 1 ไปสู่เฟส 2 เพื่อไม่ให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ส่งผลต่อการจ้างงาน เพราะหากคนไม่มีรายได้ ยิ่งซ้ำเติมหนี้สินที่มีอยู่เดิม เกินความสามารถจะจ่ายหนี้ได้

  • ล่าสุดสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ได้ประเมินภาวะสังคมไทยไตรมาส 1 ปี 2563 ระบุว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว หรืออาจถึงขั้นปิดกิจการ จากมาตรการของภาครัฐในการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้แรงงานเสี่ยงถูกเลิกจ้างกว่า 8.4 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานในภาคการท่องเที่ยวมากสุดประมาณ 2.5 ล้านคน ภาคอุตสาหกรรม 1.5 ล้านคน และภาคบริการอื่นๆ 4.4 ล้านคน 

  • คาดว่าในปี 2563 อัตราการว่างงานจะอยู่ในช่วงร้อยละ 3-4 หรือตลอดทั้งปีมีผู้ว่างงานไม่เกิน 2 ล้านคน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มควบคุมได้ และในครึ่งหลังของเดือน พ.ค. เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุม ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทสามารถเปิดดำเนินการได้มากขึ้น รวมถึงรัฐบาลมีมาตรการในการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เน้นกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ และภาคเกษตรกรรม จะสามารถรองรับแรงงานที่ว่างงานได้บางส่วน แม้ว่าจะมีปัญหาภัยแล้ง

  • แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง ปัจจุบันรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือประชาชน 37 ล้านราย แบ่งเป็นเกษตรกร 10 ล้านราย กลุ่มผู้ประกันตน 11 ล้านราย กลุ่มอาชีพอิสระ 16 ล้านราย ซึ่งต้องพิจารณาให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว โดยผลสำรวจของสภาพัฒน์ พบว่า ยังมีพนักงาน แรงงาน ลูกจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ ร้อยละ 88 และกลุ่มที่ไม่รู้เกี่ยวกับมาตรการ รวมถึงไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ ประมาณร้อยละ 22

  • แม้ปัจจุบันมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุม แต่แรงงานบางกลุ่มไม่สามารถกลับมาทำงานได้เช่นเดิม เช่น ภาคการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมส่งออก เช่น รถยนต์ ฯลฯ เนื่องจากอุปสงค์ในต่างประเทศลดลง และการท่องเที่ยวยังเชื่อมโยงกับมาตรการของต่างประเทศ อาทิ มาตรการยกเลิกการบินระหว่างประเทศ และการหยุดกิจการชั่วคราวของต่างประเทศ หากผู้ประกอบการไม่สามารถจ้างงานต่อได้ จะมีแรงงานจำนวนหนึ่งที่ถูกเลิกจ้าง 

  • ขณะเดียวกัน ในช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค. จะมีแรงงานจบใหม่เข้าสู่ตลาดประมาณ 5.2 แสนคน ซึ่งอาจไม่มีตำแหน่งงานรองรับ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรการสร้างงาน และจ้างงานที่เพียงพอเพื่อรองรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะหางานทำไม่ได้ ในส่วนแรงงานจะต้องมีการเตรียมความพร้อมปรับทักษะเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจ หรือการสร้างทักษะใหม่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพ หรือลักษณะการทำงานมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ติดต่อสื่อสารมากขึ้น

  • ภาระหนี้ครัวเรือนถูกซ้ำเติมจากรายได้ที่ลดลง ในขณะที่รายจ่ายยังทรงตัวหรือเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน จากการสำรวจคนจนเมืองในภาวะวิกฤติโควิด ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.24 มีรายได้ลดลงเกือบทั้งหมด รองลงมามีรายได้ลดลงครึ่งหนึ่ง ประมาณร้อยละ 31.21 และมีรายได้เท่าเดิม ร้อยละ 8.55 

  • ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มที่มีรายได้ลดลงประมาณร้อยละ 54.51 ประสบปัญหาไม่มีเงินชำระหนี้ รองลงมาไม่มีเงินซื้ออาหาร ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัย และไม่มีเงินจ่ายซื้อของที่จำเป็นในครัวเรือน โดยมีวิธีแก้ไขปัญหา อาทิ การกู้หนี้ยืมสิน การนำเงินออมมาใช้ และนำเครื่องใช้ในบ้านไปจำนำ

  • สภาพัฒน์ประเมินแนวโน้มหนี้สินครัวเรือนจะชะลอตัวลง ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับปัจจัยลบจากการส่งออก ภัยแล้ง และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ทำให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ มีแนวโน้มชะลอตัวลงมาก เพราะกำลังซื้อและความเชื่อมั่นที่ลดลง 

  • ขณะที่สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล มีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากครัวเรือนมีความต้องการกู้เงินเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลงจากช่วงวิกฤติมาแก้ไขปัญหาขาดสภาพคล่องและผลกระทบทางด้านรายได้ที่เกิดขึ้น ส่วนยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากสัดส่วนร้อยละ 2.90 ในไตรมาสก่อน

  • พฤติกรรมทางการเงินของครัวเรือนไทยมีความเสี่ยง โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายจ่ายครัวเรือนทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็น ขณะที่รายจ่ายเพื่อการสันทนาการ ทำให้เกิดปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เริ่มทำงานใหม่ ทั้งค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/บุหรี่ ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว และการดูแลความสวยงาม ทำให้ต้องอาศัยเงินโอนจากพ่อแม่และผู้ปกครองมาช่วยชดเชยรายได้

  • นอกจากนี้ส่วนใหญ่ยิ่งมีรายได้มากขึ้นจะมีรายจ่ายมากขึ้น โดยเกือบร้อยละ 40 คลั่งไคล้การช็อปปิ้ง และอีกร้อยละ 37 อยู่ในกลุ่มเกือบคลั่งไคล้การช็อปปิ้ง หลายคนเริ่มก่อหนี้ในช่วงวัยทำงาน จากการมีงานประจำและทำบัตรเครดิต จากนั้นจึงจับจ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยขาดความระมัดระวัง จนไม่สามารถชำระยอดเต็มได้ มีการชำระบางส่วนหรือชำระขั้นต่ำ ทำให้ยอดคงค้างหนี้สะสมไปเรื่อยๆ และมีพฤติกรรมการก่อหนี้ซ้ำ หรือกู้เงินจากวัตถุประสงค์หนึ่งเพื่อนำไปชำระหนี้ หรือปิดบัญชีหนี้อื่น ทำให้ฐานะการเงินของครัวเรือนมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0