โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ฟาร์มกังหันลมกำลังเสี่ยงกระทบระบบนิเวศ

ไทยรัฐออนไลน์ - Social

เผยแพร่ 12 พ.ย. 2561 เวลา 03.01 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

พลังงานจากลมนับเป็นภาคพลังงานทดแทนที่เติบโตเร็วที่สุด โดยสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 4% ของความต้องการไฟฟ้าทั่วโลก แต่ในทางกลับกันฟาร์มกังหันลมอาจกำลังกลายเป็นความเสี่ยงกระทบต่อระบบนิเวศ ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ นำโดยศูนย์นิเวศวิทยาแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์อินเดีย ในประเทศอินเดีย กำลังศึกษาผลกระทบของกังหันลมในพื้นที่ฆาฏตะวันตก (Western Ghats) เป็นภูเขาและป่าที่ขึ้นทะเบียนขององค์การยูเนสโก โดยครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย และโดดเด่นด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงศึกษาพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศตูนิเซียที่ปัจจุบันใช้ในการผลิตพลังงานทั่วโลก

ทีมวิจัยพบว่านกล่าเหยื่อที่เคยโฉบบินหาอาหารในพื้นที่ราบสูงที่มีการติดตั้งกังหันลมได้หายไป นกพวกนี้คือสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ แต่กังหันลมคือตัวแทรกแซงที่ทำให้ห่วงโซ่อาหารหยุดชะงักลง เปลี่ยนแปลงความหนาแน่นและพฤติกรรมของเหยื่อนกอย่างรุนแรง นอกจากนี้ ยังสังเกตเห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วของกิ้งก่าสายพันธุ์พื้นเมืองของอินเดียที่ชื่อ Fan Throated Lizard ที่เป็นเหยื่ออันโอชะของนกล่าเหยื่อ พร้อมกับเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมกิ้งก่าชนิดนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง ท่าทาง การดำรงชีวิต และดูพวกมันจะบรรเทาอาการระแวดระวังการถูกนกล่า ซึ่งนักวิจัยได้จำลองการโจมตีของนักล่าเพื่อทดสอบกิ้งก่าที่อาศัยอยู่ใกล้กังหัน หลังการทดสอบพบว่าปอดของกิ้งก่ามีฮอร์โมนความเครียดในระดับต่ำ

ทั้งนี้ เป็นที่รู้กันว่าฟาร์มกังหันลมเป็นอันตรายต่อนก โดยจะรบกวนรูปแบบการย้ายถิ่นและเป็นสาเหตุของอัตราการตาย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ต้องใช้เวลานานหลายสิบปีถึงจะพบว่ากังหันลมส่งผลเสียต่อสัตว์ที่บินได้ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยก็กำลังมองหาวิธีที่ชาญฉลาดมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหานี้ต่อไป.

ภาพ : AFP/File / PATRICIA CASTELLANOS

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0