โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

พูดกับตัวเองบ่อย ๆ จะเป็นบ้าหรือไม่

LINE TODAY

เผยแพร่ 16 ก.ค. 2563 เวลา 17.00 น.

เคยไหม..พูดกับตัวเองบ่อย ๆ ในกระจกบ้าง ในลิฟต์บ้าง พูดลอย ๆ ออกมาบ้าง

การทำแบบนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเข้าข่ายโรคจิตเวชแต่อย่างใด แต่การพูดคนเดียวส่งผลดีหลายอย่างจนนึกไม่ถึงเลยทีเดียว เช่น การจดจำ การระบายความรู้สึก ผ่านการบ่น หรือการรำพึงรำพัน ล้วนแต่มีผลทำให้จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะหลังจากพูดออกมาแล้ว จะนึกภาพออกทันที ซึ่งเหมือนการสรุปในสิ่งที่คิดออกมา เพื่อให้ทำได้อย่างถูกต้องครบถ้วน แถมยังจำแม่นขึ้นด้วย เพราะการพูดออกมาเป็นการทบทวนสิ่งที่อยู่ในความคิดเพื่อให้เราไม่ลืม แทนที่จะคิดอย่างเดียวนั่นเอง

นอกจากการทบทวนความทรงจำที่เกิดขึ้นแล้ว การพูดคนเดียวยังเป็นเหมือนการปรึกษาตัวเอง เป็นกระบวนการที่ช่วยจัดการความคิดบางสิ่งบางอย่างในตัวเราด้วย เช่น ความกังวล ความเครียด

พูดง่าย ๆ ก็คือการระบายออกมานั่นแหละ แทนที่จะระบายให้ใครสักคนได้ฟัง การพูดคนเดียวก็คือการระบายให้ตัวเราเองได้รับรู้ถึงความคิดที่แท้จริงของเรา

บางครั้ง..เรื่องบางเรื่องก็ไม่สามารถหาที่ระบายได้ ถ้าได้พูดกับตัวเองก็เป็นเหมือนการทำให้เรื่องที่อยู่ในใจถูกปลดปล่อยออกมา เป็นการลดความรู้สึกกังวลอย่างหนึ่ง เพราะบางครั้ง เรื่องบางเรื่อง..เราก็รู้คำตอบ รู้วิธีแก้ปัญหาดีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่อยากยอมรับเท่านั้นเอง

ทีนี้มาถึงของเรากันบ้าง ‘พูดกับตัวเองบ่อย ๆ จะเป็นบ้าหรือไม่’

จริง ๆ แล้วจะบ้าหรือไม่บ้า ต้องดูกันในหลายองค์ประกอบ ในกรณีของการมีอาการทางจิต จะเป็นการพูดคนเดียวที่มีอาการประสาทหลอนมาก่อน เช่น หูแว่ว เห็นภาพหลอน แสดงพฤติกรรมหรือคำพูดไม่เหมาะสม ฯลฯ จากนั้นจึงค่อยเข้าสู่กระบวนการพูดคุยคนเดียวที่เกินกว่าคนปกติ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นการตอบสนองอาการประสาทหลอน ด้วยการสื่อสารผ่านการพูดคุยหรือการหัวเราะแบบไม่ปกติ

เพราะฉะนั้นอาการพูดคนเดียว ถ้าไม่ได้กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันก็ไม่ถือว่าผิดปกติ ดังนั้นถ้าอยากพูด ก็พูดเลย ไม่ผิด ไม่แปลก ใคร ๆ เค้าก็พูดกัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0