โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

หุ้นโรงไฟฟ้าของไทย ใครตั้งเป้ามีกำลังผลิตมากสุด

Wealthy Thai

อัพเดต 10 ส.ค. 2566 เวลา 04.18 น. • เผยแพร่ 06 ก.ย 2564 เวลา 08.53 น. • Maratronman

หลังจากที่ในช่วงสถานการณ์ของภาวะตลาดหุ้นไทยต้องเผชิญกับความผันผวนอย่างหนักโดยมีปัจจัยเรื่องภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 เข้ามากระทบอย่างมีนัยสำคัญโดยตัวเลขยอดติดเชื้อรายใหม่ในช่วงต้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในระดับ 20,000 คน และมีจำนวนยอดของผู้เสียชีวิตกว่า 200 ราย จึงส่งผลให้ความเชื่อมันของการป้องกันการระบาดของไทยลดหายไป และส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ส่งผลให้หุ้นที่รอความหวังว่าจะมีการเปิดประเทศในกลุ่มธีมเปิดเมืองต่างๆต้องทรุดตัวไปตามๆกัน หลังจากที่ก่อนหน้านี้เริ่มพอจะมีความหวังว่าจะเริ่มเปิดประเทศได้บางส่วน แต่อย่างไรก็ตามแรงขายจากกลุ่มหนึ่งย่อมทำให้มีแรงซื้อกลับไปยังอีกกลุ่มหนึ่งเช่นกัน โดยแรงซื้อที่ผ่านมาเป็นกลุ่มโรงไฟฟ้าที่อยู่ในโหมดหุ้น Defensive ที่ผลประกอบการมักจะคงที่แบบสม่ำเสมอไม่มีผลกระทบแม้จะเจอวิกฤตอะไรก็ตาม
บริษัทโรงไฟฟ้าใหญ่ๆของไทยในช่วงนี้ต่างพัฒนาธุรกิจที่จะขยับเป้าหมายกำลังการผลิตของตนเองให้เพิ่มขึ้น รวมถึงย่อยอดกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ให้เพิ่มขึ้น และเริ่มกระจายประเภทของโรงไฟฟ้าให้ออกไปในหลายๆด้าน เช่นในกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดด้านอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่แค่เพียงโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติหรือจากถ่านหิน
ในครั้งนี้ Wealthy Thai จะพานักลงทุนมาอัพเดตข้อมูลว่าบริษัทโรงไฟฟ้าใหญ่ๆชั้นนำในตลาดหุ้นของไทยมีใครวางแผนที่จะปรับเพิ่มกำลังการผลิต หรือตั้งเป้ากำลังเป็นเท่าไหร่กันบ้าง

ตั้งเป้ากำลังผลิต

เริ่มที่ GULF หนึ่งในผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าของประเทศไทย ตั้งเป้าว่าในปี 2570 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าขึ้นสู่ระดับ 14,300 MW ด้วยกำลังผลิตไฟฟ้าที่จากพลังงานทดแทนให้มากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมา GULF ได้เข้าลงทุนครั้งใหญ่พลังงานลมที่เยอรมนี กำลังผลิตกว่า 464 MW และก่อนหน้านี้ได้ขยายพอร์ตโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่เวียดนามมาแล้ว
มาต่อกันที่ BGRIM ซึ่งปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วรวม 50 โครงการ และตั้งเป้ากำลังการผลิตเติบโตจาก 3,058 MW ณ สิ้นปี 63 เป็นมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 7,200 MW ในปี 68 และมุ่งสู่ 10,000 MW ในปี 73
ขณะที่ BPP หนึ่งในบริษัทโรงไฟฟ้าบริษัทลูกของ BANPU ที่มุ่งเน้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเป็นหลัก โดย BPP ตั้งเป้าในปี 68 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ระดับ 5,300 MW ให้ได้ภายในปี 68 โดยขณะนี้กำลังขยายประเภทโรงไฟฟ้าออกไปยังก๊าซธรรมชาติ หลังจากที่ล่าสุดปิลดีลซื้อแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สหรัฐฯ
สำหรับ RATCH เป็นผู้ผลิตโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศไทย และต่างประเทศ ซึ่งมีโรงไฟฟ้าอยู่หลายประเภทปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว 7,053 MW โดยในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะมีโรงไฟฟ้าใหม่ เพิ่มอีก 160 MW ซึ่งจะทำให้รวมสิ้นปีมีโรงไฟฟ้า COD แล้ว 7,213 MW และในอนาคตวางแผนจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าให้ได้ตามเป้า 10,000 MW
ในฝั่งของ GPSC ซึ่งเป็นธุรกิจด้านโรงฟ้าหลักให้กับกลุ่มปตท.ที่ตอนนี้มีนโยบายขยายการลงทุนนอกกลุ่มบริการให้กับปตท.โดยล่าสุดขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มที่อินเดีย และโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ไต้หวัน โดยตั้งเป้าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทุกประเภท 15,000-20,000 MW ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า
ด้านของ EGCO ถือได้ว่าเป็นบริษัทลูกที่เป็นหลักของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพราะการไฟฟ้ามีสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง โดยปัจจุบัน EGCO มีกำลังการผลิตประมาณ 6,000 MW และตั้งเป้าจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็น 7,000 MW ภายในสิ้นปี 64
และปิดท้ายกันที่ BCPG บริษัทลูกของ BCP ที่เน้นการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดในหลายด้าน และล่าสุดยังได้แตกไลน์เข้าไปลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานแบตเตอรี่ ซึ่งในอนาคตเป็นที่น่าจับตาว่าธุรกิจแบตเตอรี่ของ BCPG จะไปได้ไกลและช่วยหนุนโรงไฟฟ้าอย่างไรบ้าง โดยในปี 68 ทาง BCPG ตั้งเป้าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าให้ได้ตามแผน 3,200 MW

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0