โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

พิษณุโลก PM2.5 กระทบสุขภาพพบผู้ป่วยทางเดินหายใจไม่ถึงเดือน 3,500 ราย

MATICHON ONLINE

อัพเดต 22 ม.ค. 2563 เวลา 06.46 น. • เผยแพร่ 22 ม.ค. 2563 เวลา 06.46 น.
ฝุ่นพิษณุโลก2

ค่า PM2.5 ในพื้นที่ จ.พิษณุโลก ยังน่าเป็นห่วง ส่งผลให้ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ เพิ่มสูงขึ้น ไม่ถึงเดือน พบผู้ป่วยแล้ว 3,516 คน อำเภอเมืองมากที่สุด 700 กว่าราย

วันที่ 22 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก พบว่าสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ล่าสุดตรวจพบค่าระหว่าง 57 – 92 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐานที่บริเวณ จ.พิษณุโลก ส่งผลให้ฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กมากนี้ ทำให้มีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เช่น หืดหอบ มีอาการกำเริบ และในระยะยาวจะส่งผลให้ปอดทำงานถดถอย จนอาจก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองและมะเร็งปอด ส่งผลต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือดแล้วนั้น ฝุ่นละอองยังสามารถแทรกซึมเข้าไปทางผิวหนัง และก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ด้วย

สำหรับ จ.พิษณุโลก ในห้วงวันที่ 1-20 มกราคม พบอัตราผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ถือว่าอัตราผู้ป่วยยังไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ผ่านมา โดยปีนี้พบอัตราผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ในพื้นที่ 9 อำเภอของ จ.พิษณุโลก แล้วจำนวน 3,516 คน โดยพบอำเภอเมือง มากที่สุด มีผู้ป่วยถึง 742 คน รองลงมาได้แก่ อ.วังทอง พบผู้ป่วย 692 คน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากแพ้มาจาก PM2.5 ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ได้สั่งการสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง เฝ้าระวังสถานการณ์การเจ็บป่วยผู้ป่วยที่อาจมีสาเหตุจากฝุ่นละอองเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ออกให้การแนะนำ ข้อพึงปฏิบัติกับประชาชนทุกคนเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากฝุ่น PM 2.5 โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงผู้ป่วยติดเตียง โดยให้มีการเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวให้ถี่ขึ้น

พร้อมกันนี้ นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เตือนให้ประชาชน ลด หรือ งดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นควัน ลดการเผา ขยะ เศษวัสดุ หรือ เผาเพื่อเตรียมพื้นที่ทางการเกษตร และให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีบทบาทในการดูแลสิ่งแวดล้อมโดยตรง เพื่อลดมลพิษที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0