โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

พลิกเกมส์ธุรกิจ “ดิจิทัล คอนเทนส์” ตัวช่วยให้คนไทยอยู่บ้านแบบไม่เหงาในช่วง covid 19

TERRABKK

อัพเดต 30 มี.ค. 2563 เวลา 08.44 น. • เผยแพร่ 30 มี.ค. 2563 เวลา 08.32 น. • TERRABKK
พลิกเกมส์ธุรกิจ  “ดิจิทัล คอนเทนส์” ตัวช่วยให้คนไทยอยู่บ้านแบบไม่เหงาในช่วง covid 19
พลิกเกมส์ธุรกิจ “ดิจิทัล คอนเทนส์” ตัวช่วยให้คนไทยอยู่บ้านแบบไม่เหงาในช่วง covid 19

 

       ในช่วงที่ไวรัส Covid 19 กำลังแพร่ระบาด เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เกิดภาวะความเครียดสะสม ทั้งจากการติดตามข่าวสารสถานการณ์ประจำวัน ขณะที่บางคนอาจจะต้องกักตัว 14 วันเพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยง รวมถึงการทำงานแบบ Work From Home เพื่อลดการเดินทางออกไปทำงาน ลดการพบปะผู้คน ป้องกันความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส ซึ่งการติดตาม “ดิจิทัล คอนเทนส์” ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่คนไทยส่วนใหญ่นิยม โดยเฉพาะการดูคอนเทนต์ผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์  เพราะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภค สามารถเลือกดูคอนเทนส์ที่อยากดูได้ มากกว่าช่องทีวีปกติ

ข้อมูลจาก ไลน์ประเทศไทย ระบุว่า ผู้ใช้งานและพฤติกรรมการเสพคอนเทนต์ออนไลน์ในปี 2019 พบสถิติการอ่านออนไลน์ที่น่าสนใจ โดยเปิดเผยถึงตัวเลขผู้ใช้บริการ LINE TODAY แบ่งออกเป็น ผู้หญิง 59% ผู้ชาย 41% โดยอายุเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 25-34 ปี 41% และอายุมากกว่า 45 ปี 22% (มีอัตราการเติบโตอย่างนัยสำคัญถึง 50% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน) ทั้งนี้จากข้อมูลข้างต้นยังสะท้อนว่า “คนไทยอ่านมากขึ้น นานขึ้น เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางการอ่านเท่านั้น” 

ขณะที่ LINE TV  ในปี 2019 มีผู้เข้าใช้ LINE TV มากกว่า 40 ล้านราย เฉลี่ยรวม 176 นาทีต่อวัน โดย 3 ช่วงเวลาที่มีการรับชมสูงสุด ได้แก่ ช่วง 12.00 – 14.00 น ระหว่างพักกลางวัน ช่วง 15.00 – 18.00 น ช่วงเวลาหลังเลิกเรียนหรือเลิกงาน และขณะเดินทางกลับบ้าน และโดยเฉพาะช่วง 20.00 – 22.00 น. เวลาครอบครัว โดยในช่วงเวลานี้มีการรับชมผ่านจอใหญ่หรือเชื่อมต่อกับสมาร์ททีวีสูงขึ้น และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยเติบโต 63% ทุกเดือนต่อเนื่อง

 

สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันช่องออนไลน์ไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นหนึ่งสื่อที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยอมทุ่มเวลาให้ และตั้งใจติดตามหากคอนเทนต์ที่นำเสนอตรงความต้องการของพวกเขาจริง ๆ ตลาดของทีวีออนไลน์ไม่ได้จำกัดแค่คนรุ่นใหม่หรือคนที่ไม่ค่อยรับชมเรื่องราวทางทีวีเท่านั้น และยังมีโอกาสอีกมากสำหรับคนที่ทำคอนเทนต์ในการแย่งชิงเวลาจากกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ

คอนเทนต์ออนไลน์ "เดี๋ยวก่อน" ไม่ได้ ต้องดู "เดี๋ยวนี้"

Missing Out “Now” is My Option [MONMO] พฤติกรรมการเสพคอนเทนต์ของคนดูรูปแบบใหม่ คือ การที่ผู้บริโภคในปัจจุบันจริงๆ แล้วไม่ต้องการพลาดคอนเทนต์ดังๆ และเป็นกระแส แต่ต้องการเป็นผู้เลือก" นี่คือจุดแข็งของคอนเทนต์ออนไลน์ที่โอกาสเติบโตในตลาดที่แข่งขันดุเดือดแบบนี้ได้

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการด้าน คอนเทนต์ออนไลน์ ที่หลากหลาย รวมถึงผู้ให้บริการด้านวิดีโอสตรีมมิ่งแบบ OTT (Over-the-top) ซึ่งนำเสนอรายการ คอนเทนส์ออนไลน์ ซีรีส์ ภาพยนตร์ ในคอนเซ็ปต์ที่แปลกใหม่ โดยเสียค่าสมาชิกรายเดือนหลักร้อยบาทเท่านั้น ซึ่งจากความนิยมและจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีความนิยมชมคอนเทนส์ออนไลน์เพื่อผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี

 

ค่ายหนังแห่สตรีมมิ่งชนโรง พลิกเกมส์ช่วงพิษโควิด

         เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่ในปี 2562 บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์ จะได้รับความนิยมไปทั่วโลก และเติบโตอย่างรวดเร็วตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จนมีมูลค่ากว่า 4.26 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มเติบโตอีกปีละ 20% ระหว่างปี 2563-2570 ทำให้ที่ผ่านมาบรรดาผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ในฮอลลีวูดยังเน้นฉายภาพยนตร์ของตนผ่านโรงภาพยนตร์ก่อนเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 90 วัน แล้วจึงอนุญาตให้เผยแพร่ผ่านออนไลน์

"ซึ่งที่ผ่านมาพยายามต้านทานกระแสดิสรัปต์จากบริการสตรีมมิ่งและวิดีโอออนดีมานด์มาโดยตลอด แต่ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาด ทำให้โรงภาพยนตร์ต้องปิดบริการชั่วคราว การทำธุรกิจจึงต้องมีการปรับตัวให้ทันเหตุการณ์  ล่าสุดผู้ผลิตภาพยนตร์ในอเมริกาหลายรายมีท่าที “ผ่อนปรน” นโยบายสตรีมมิ่งมากขึ้นในช่วงนี้ ทั้งการสตรีมมิ่งภาพยนตร์แบบชนโรง หรือปล่อยคอนเทนต์ให้ผู้ชมดูผ่านออนไลน์เร็วกว่ากำหนดการเดิม"

ยกตัวอย่างเช่น “ยูนิเวอร์แซล” ประกาศว่า ภาพยนตร์ “โทรลล์ส เวิลด์ ทัวร์” ซึ่งจะเข้าโรงในวันที่ 10 เมษายนนี้ จะเปิดให้รับชมได้พร้อมกันทั้งในโรงภาพยนตร์ และการเช่าออนไลน์ นอกจากนี้ ภาพยนตร์ที่กำลังฉายในโรงอย่าง The Invisible Man, The Hunt และ Emma จะเปิดให้เช่าผ่านออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมเป็นต้นไป ในราคา 19.99 เหรียญสหรัฐ เร็วกว่าปกติที่จะต้องรอ 90 วันหลังภาพยนตร์เข้าโรง

ขณะเดียวกัน ยักษ์ใหญ่ของวงการอย่าง “วอลต์ ดิสนีย์” ได้เปิดให้ผู้ชมได้ดูภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์หลายเรื่อง เช่น สตาร์ วอร์ส และโฟรเซ่น ภาค 2 บนแพลตฟอร์มดิสนีย์ พลัสก่อนกำหนดเดิม โดยโฟรเซ่น ภาค 2 จะเปิดให้สมาชิกในอเมริการับชมผ่านทางดิสนีย์ พลัส ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม ซึ่งนับว่าเร็วกว่ากำหนดเดิมถึง 3 เดือน

และยักษ์วงการภาพยนตร์ยังอนุญาตให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิกูเกิล, ไอทูนส์, อเมซอน และวูดู ขายภาพยนตร์ “สตาร์ วอร์ส : กำเนิดใหม่สกายวอล์กเกอร์” ในรูปแบบดิจิทัลได้ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม หรือเร็วกว่ากำหนดการเดิมเกือบ 1 สัปดาห์

         พอล เดอการาเบเดียน นักวิเคราะห์อาวุโสของบริษัทวิจัยคอมสกอร์ บอกว่า ช่วงเวลานี้ธุรกิจต้องใช้ความสร้างสรรค์และความกล้า เพื่อสร้างและทดลองกลยุทธ์ใหม่ ๆ รับมือซึ่งวิดีโอออนดีมานด์เป็นทางออกที่วินวินทั้งผู้ผลิตและผู้ชม ทั้งนี้ต้องติดตามว่ากลยุทธ์นี้จะเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวหรือถาวร เพราะรายได้จากตั๋วยังสูงกว่ายอดขายแผ่นอยู่หลายเท่าตัว

 

อ้างอิง :ไลน์ประเทศไทย,  prachachat

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0