โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

พลิกปั่นป่วนเป็นโอกาส เศรษฐกิจ 3C-ปรับตัวตลอดเวลา

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 19 ม.ค. 2563 เวลา 01.19 น. • เผยแพร่ 19 ม.ค. 2563 เวลา 01.00 น.
DSC02679

Disruptive technology”เป็นอีกประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมาก ล่าสุดคือ เวที “เศรษฐกิจไทยในยุค Disruptive Technology : พลิกความปั่นป่วนเป็นโอกาส” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สดช. ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

“ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์” ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า โลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย และพัฒนาการของเทคโนโลยีนั้นเป็นไปอย่างก้าวกระโดด แต่การปรับตัวของสังคม รัฐบาล และประชาชน โดยทั่วไปยังคงเป็นการปรับตัวแบบเชิงเส้น

“แม้ในอดีตเราจะสามารถปรับตัวได้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ทุกวันนี้เทคโนโลยีที่มาถึงเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะฉะนั้น ทุกภาคส่วนจึงต้องพยายาม transform ตนเอง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล โดยภาคธุรกิจก็ต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้น การใช้ข้อมูลพัฒนาธุรกิจ รวมไปถึงการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่

ภาคประชาชน คนทำงานก็ต้องเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัล และพัฒนาทักษะนั้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงภาครัฐก็ต้องช่วยประสานความร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนผ่าน โดยมีการปรับกฎกติกาให้เอื้อต่อการเปลี่ยนผ่าน ทั้งยังต้องสร้างพื้นที่ทดลองเพื่อประเมินความเสี่ยงด้วย”

งานใหม่ในเศรษฐกิจ 3C

รวมไปถึงการ transform เศรษฐกิจของประเทศไทย ในยุค disruptive technology นั้น ต้องทำให้ส่วน creation เกิดมูลค่าเพิ่มให้ได้ และลดผลกระทบในด้านลบในส่วน disruption ในเวลาเดียวกันจะต้องมีการสร้างงานใหม่ขึ้นมาจำนวนมาก ต้องสร้างงานใหม่ที่รายได้ดี ซึ่งต้องเป็นการสร้างงานในสาขาใหม่ โดยเรียกว่า “การสร้างงานใหม่ในเศรษฐกิจ 3C”

ประกอบไปด้วย 1) เศรษฐกิจประณีต (craft economy) งานที่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยระบบ automation เพราะเป็นงานที่มีความละเอียด ทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม 2) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) เศรษฐกิจที่ใช้สุดยอดจินตนาการ เพื่อรองรับการพลิกผันของเทคโนโลยี ซึ่งอาจจะเป็นในเรื่องของการสร้างภาพยนตร์และในธุรกิจสื่อ และ 3) เศรษฐกิจใส่ใจ (care economy) ประเทศไทยมีจุดแข็งหลายอย่าง อย่างหนึ่ง คือ medical hub

เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ในยุค disruptive technology จึงต้องมี 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรก คือ การนำเอา disruptive technology มาใช้ ไม่เปลี่ยนผ่านอยู่ไม่ได้ อย่างที่สอง คือ การสร้างเศรษฐกิจใหม่ขึ้นมา และเศรษฐกิจใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นก็ต้องถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นเดียวกัน

Lean ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ในฝั่งของภาคเอกชน“ถาวร ชลัษเฐียร” ประธานสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และตัวแทนจากบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ยกตัวอย่างที่เด็นโซ่ใช้คือ 1) ต้องทำให้กระบวนการผลิต ลีน (lean) คือ การบริหารจัดการการผลิต หรือองค์กร ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปราศจากความสูญเปล่า (waste) ก่อน จึงจะนำมาสู่ 2) ระบบ automation มาใช้ กลายเป็น lean automation ซึ่งเริ่มมีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ 3) จากนั้นจึงต้องทำ lean engineering เพื่อลดความสูญเสียของหุ่นยนต์ และ 4) อาจจะต้องนำระบบ IOT มาใช้ในการสังเกตการณ์ ควบคุมทั้งระบบการทำงาน

ด้านการแพทย์สุขภาพ “นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์” รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้ามาของเทคโนโลยีนั้นอาจจะไม่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงในด้านอุตสาหกรรมการแพทย์สุขภาพทั้งหมด แต่เชื่อว่าการเข้ามาของเทคโนโลยีจะเป็นประโยชน์ต่อด้านการแพทย์สุขภาพ ประเทศไทยเป็น medical tourism มีจุดเด่นทั้งในเรื่องของ health และ care และการที่จะทำให้การแพทย์สุขภาพ

ประเทศไทยมีความแข็งแรงมากขึ้น จะต้องมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยเสริมในส่วนของ health ให้แม่นยำขึ้น และแรงกายของแพทย์ไปเป็นในส่วนของ care

ต้องปรับตลอดเวลา

ขณะที่ภาคการเกษตร“ศรายุทธ แสงจันทร์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มการเงิน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด กล่าวว่า ในกรณีของมิตรผลก็มีการนำเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรมาใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การใช้ภาพถ่ายดาวเทียม-GIS วัดพื้นที่ปลูก, การระบุพิกัดแปลงอ้อยด้วยแท็บเลต, การใช้โดรนดูการเติบโตของอ้อย และการพยากรณ์ผลผลิตด้วยโมเดล เป็นต้น

และด้านบริการขนส่งผู้โดยสาร ได้แก่“วิฑูรย์ แนวพานิช” ประธานคณะกรรมการสหกรณ์แท็กซี่สยาม กล่าวว่า สหกรณ์แท็กซี่สยามมีการปรับตัวในการให้บริการอยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อมีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามา ก็มีการเสนอแนวทางต่าง ๆ ให้แก่รัฐบาล แต่ยังคงมีเงื่อนไขบางประการ เช่น กระบวนการของรัฐยังคงมีความล่าช้า ทั้งหลายหน่วยงานภาครัฐต้องมีการบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาระบบบริการขนส่งผู้โดยสาร และรัฐบาลต้องมีนโยบายที่ชัดเจน

ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วและสะดวกต่อการพัฒนาให้รองรับต่อการเข้ามาของ disruptive technology ด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0