โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

พลิกประวัติ "ฉลามหางไหม้" ปลาไทยพันธุ์แท้ ที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

Amarin TV

เผยแพร่ 21 พ.ค. 2562 เวลา 11.04 น.
พลิกประวัติ
จั่วหัวมาแบบนี้ เชื่อว่าหลายคนอาจอยากจะเถียงแทบขาดใจ เพราะหากไปเดินตามตลาดปลาสวยงามทั้งหลาย ต่างต้องเคยเห็น “ปลาฉลามหางไหม้” ใส่ตู้ขายในรายค

จั่วหัวมาแบบนี้ เชื่อว่าหลายคนอาจอยากจะเถียงแทบขาดใจ เพราะหากไปเดินตามตลาดปลาสวยงามทั้งหลาย ต่างต้องเคยเห็น “ปลาฉลามหางไหม้” ใส่ตู้ขายในรายคาเพียงหลักสิบบาทเท่านั้น แต่เชื่อหรือไม่ว่าปลาที่เราเห็นว่ายกันวุ่นวายในตู้นั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่ปลาไทย แต่เป็นปลาสายพันธุ์อินโดนีเซียทั้งสิ้น เพราะปลาฉลามหางไหม้พันธุ์ไทยนั้น…อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

ถึงจะฟังดูไม่น่าเชื่อ เพราะปลาฉลามหางไหม้พันธุ์ไทย (Siamese bala-shark) หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Balantiocheilos ambusticauda ในอดีตปลาชนิดนี้พบชุกชุมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่พบแล้ว และเชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปจนหมดแล้ว เนื่องจากการจับจากธรรมชาติเพื่อจำหน่ายเป็นปลาสวยงาม และแม้จะมีรายงานพบในลุ่มแม่น้ำโขงในเวียดนาม, กัมพูชา และลาว แต่ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน ทั้งยังไม่เป็นที่ยอมรับจาก IUCN ซึ่งในอดีตปลาหางไหม้ได้ถูกใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ร่วมกับปลาฉลามหางไหม้ชนิดที่พบในประเทศอินโดนีเซีย (B. melanopterus) และถูกใช้ชื่อวิทยาศาสตร์และข้อมูลนี้มาโดยตลอด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2007 มีการจัดอนุกรมวิธานกันขึ้นมาใหม่ โดยตัวอย่างต้นแบบแรกถูกเก็บโดยนักมีนวิทยาชาวเยอรมัน รอล์ฟ ไกสเลอร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และตัวอย่างเพิ่มเติมถูกเก็บโดย โรดอล์ฟ เมเยอร์ เดอ เชาเวินซี ในปี ค.ศ. 1936 โดย เอ็ม. ฮาร์มันด์ ในปี ค.ศ. 1883 และโดย มารี เฟิร์มง โบคอร์ต ในปี ค.ศ. 1862

แต่ในทัศนะของ กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำชาวไทย ซึ่งเป็นผู้ที่พบปลาหางไหม้ตัวสุดท้ายในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณสวนส้มบางมด ในเขตราษฎร์บูรณะ เมื่อปี ค.ศ. 1986 เห็นว่าปลาหางไหม้ ไม่น่าจะมีครีบต่างๆ เป็นสีแดงส้ม เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง คงมีการแยกชนิดกันชัดเจนมานานแล้ว แต่น่าจะเป็นมีแถบดำบริเวณครีบต่าง ๆ นั้นน้อยกว่าส่วนที่เป็นสีเหลืองอมขาว และมีส่วนหัวที่ทู่สั้นกว่า

สำหรับปลาฉลามหางไหม้ที่มีขายในตลาดปลาสวยงามทุกวันนี้ เป็นปลาปลาฉลามหางไหม้สายพันธุ์อินโดฯ (Bala shark, Silver shark, Tricolor sharkminnow) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Balantiocheilos melanopterus เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ที่มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีเหลืองหรือสีเหลืองอมขาว และมีขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร

เป็นปลาที่พบแพร่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของประเทศอินโดนีเซีย มีความว่องไวปราดเปรียวมาก โดยสามารถที่จะกระโดดได้สูงถึง 2 เมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ปัจจุบันมีสถานะในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์แล้ว นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยใช้วิธีการผสมเทียมด้วยการฉีดฮอร์โมน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0