โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

พลาสเตอร์แปะร่างกายแบบไร้สาย วัดชีพจรและตรวจเช็คสุขภาพของผู้สวมใส่

Thaiware

อัพเดต 19 ส.ค. 2562 เวลา 08.00 น. • เผยแพร่ 19 ส.ค. 2562 เวลา 08.00 น. • nearikii
พลาสเตอร์แปะร่างกายแบบไร้สาย วัดชีพจรและตรวจเช็คสุขภาพของผู้สวมใส่
พลาสเตอร์แปะร่างกาย Wearable แบบไร้สาย มีเซ็นเซอร์วัดชีพจรและตรวจเช็คสุขภาพของผู้สวมใส่ผ่านผิวหนังได้

นักวิจัยจาก Stanford ได้รวมกันพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่รูปแบบใหม่ที่มีชื่อว่า BodyNet ซึ่งเจ้าตัวนี้มันมีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจวิเคราะห์การทำงานจากอวัยวะต่างๆ ของผู้สวมใส่ผ่านผิวหนังได้ ใช้ติดกับร่างกายได้เหมือนพลาสเตอร์ยาแปะแขนขาได้เลยยังไงอย่างงั้น

BodyNet นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ของ ศาสตราจารย์วิศวกรรมเคมี Zhenan Bao เธอเชื่อว่าอุปกรณ์สวมใส่อย่าง Wearable ที่เราใช้กันอยู่มันอาจจะนำมาใช้งานด้านการแพทย์เพื่อใช้ในการตรวจสภาพร่างกายได้ในสักวันหนึ่ง โดยสามารถใช้เก็บข้อมูลพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ใช้งานโดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการใช้ชีวิต

เป้าหมายของเธอในการสร้างเจ้าสิ่งนี้คือ การทำอย่างไรให้มันสวมใส่ได้อย่างสบายที่สุดโดยไม่มีแผงวงจรเกะกะและทำให้ระคายเคืองผิวหนังของผู้ใส่ และเพื่อการนั้น ทางทีมของเธอได้เลือกใช้เทคโนโลยี RFID (Radiofrequency Identification) ที่เห็นกันได้ทั่วไปก็คือบัตร ID CARD หรือบัตรจ่ายเงิน ที่ใช้รับข้อมูลได้ผ่านการแตะกับเครื่องรับสัญญาณนั่นเอง และข้อดีของมันคือมันใช้แหล่งพลังงานจากตัวรับสัญญาณได้

พลาสเตอร์แปะร่างกายแบบไร้สาย วัดชีพจรและตรวจเช็คสุขภาพของผู้สวมใส่
พลาสเตอร์แปะร่างกายแบบไร้สาย วัดชีพจรและตรวจเช็คสุขภาพของผู้สวมใส่

ขอบคุณรูปภาพจาก : Bao Lab

ทางทีมงานพัฒนา RFID รูปแบบใหม่ โดยใช้หมึกพิมพ์โลหะและสติกเกอร์ยาง เป็นโครงสร้างที่สามารถยืดหยุ่นได้ และทำให้มันมีประสิทธิภาพส่งสัญญาณได้ดีและแม่นยำมากขึ้น ส่วนการส่งสัญญาณนั้นก็ใช้ร่วมกับเสื้อผ้าที่มีตัวรับสัญญาณในการจ่ายไฟ จากนั้นก็ใช้ระบบ Bluetooth เพื่อส่งข้อมูลกลับไปยังสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆ ได้

อีกหน่อยเราคงได้เห็นอุปกรณ์ Wearable ที่ใช้งานร่วมกับการแพทย์ได้จริงก็เป็นได้ อย่างเช่นไปหาหมอ แล้วหมอให้แผ่นพลาสเตอร์มาติดตามร่างกาย เพื่อใช้ในการวินิจฉัยอาการ และศึกษาพฤติกรรมโดยไม่รบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเลย

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0