โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

พลังงาน เดินเครื่อง ‘1 ชุมชน 1 พลังงานทดแทน’

The Bangkok Insight

อัพเดต 21 ส.ค. 2562 เวลา 11.34 น. • เผยแพร่ 21 ส.ค. 2562 เวลา 11.16 น. • The Bangkok Insight
พลังงาน เดินเครื่อง ‘1 ชุมชน 1 พลังงานทดแทน’

พลังงาน เดินเครื่อง “1 ชุมชน 1 พลังงานทดแทน” ศึกษาโซนนิ่ง เดือนหน้าได้ข้อสรุปพื้นที่ พร้อมทำ sandbox ก่อนขยายทั่วประเทศ เน้นใช้เศษวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง  

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าพลังงานได้พยายามปรับแผนให้สอดรับกับสถานการณ์ทั้งเรื่องการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพึ่งพาตัวเองด้านพลังงานของชุมชน และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

โครงการสำคัญหนึ่งได้มอบให้ 3 การไฟฟ้า และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมทำงานกับกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ศึกษาโซนนิ่งพลังงานทดแทน เพื่อให้รู้ว่าแต่ละพื้นที่มีศักยภาพในการนำพลังงานมาผลิตไฟฟ้าอย่างไร ประกบกับจุดที่มีกำลังรับของสายส่งเพียงพอ และทำพื้นที่จำลอง จากนั้นจะทดสอบระบบขึ้น (sandbox) เป็นโครงการนำร่อง

เป้าหมายให้ชุมชนพึ่งพาตัวเองได้ และเหลือขายเข้าระบบ ทั้งโครงการที่มีอยู่แล้วเช่นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก(วีเอสพีพี) หรือที่มองเห็นศักยภาพใหม่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนก้นยายนนี้ จากนั้นจะนำมากำหนดเป็นโครงการ “1 ชุมชน 1 พลังงานทดแทน” ตามนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะทำพร้อมกับการปรับปรุงสายส่งทั่งประเทศให้เป็น 500 เควี และ 800 เควี เพื่อความมั่นคงของการรับส่งไฟฟ้าทั้งจากชุมชนต่างๆ และจากประเทศเพื่อนบ้าน

โดยเน้นส่งเสริมให้นำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงาน โดยเฉพาะเศษวัสดุจากการปลูกอ้อย เพื่อนำไปสู่การลดการเผาป่าที่เกิดขึ้นทุกปี รวมไปถึงเศษไม้ยางพารา ซังข้าวโพด ทะลายปาล์ม เป็นต้น

สำหรับการส่งเสริมพลังงานทดแทนในภาพรวมนั้น  ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างปรับแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี 2018) ให้มีการผลิตและรับซื้อพลังงานทดแทนมากขึ้น จากเดิมมีกำลังผลิตตามแผนรวม 17,000 เมกะวัตต์

ขณะเดียวกัน จะส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมพลังงานใหม่โดยกลุ่มสตาร์ทอัพ ซึ่งจะมีการปรับแผนให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เข้ามาสนับสนุนร่วมนวัตกรรมพลังงาน โดยส่วนหนึ่งจะกระตุ้นให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ใช้งบประมาณในการส่งเสริมงานวิจัย และพัฒนาสตาร์ทอัพให้มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำด้วย โดยจะซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากเพื่อนบ้านมากขึ้น เช่น สปป.ลาว ขณะนี้ สปป.ลาวเสนอมาประมาณ 10 โครงการ โดยต้องไปจัดลำดับความพร้อมในการผลิตและส่งไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าจะต้องไม่แพงกว่า โรงไฟฟ้า สปป.ลาวที่ขายเข้าไทย หรือไม่เกิน 2.40 บาทต่อหน่วย

สำหรับอนาคตของพลังงานนั้น ตามแผนพลังงานหลักของไทยเป็นก๊าซธรรมชาติ โดยจะมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี ) เพิ่มขึ้นจาก 5 ล้านตันต่อปี เป็น 19-20 ล้านตันต่อปี ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินจะต้องผ่านการศึกษาเพื่อให้ใช้เทคโนโลยีสะอาด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0