โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

พยากรณ์อากาศด้วยตัวเอง! 7 ลักษณะก้อนเมฆ บอกความรุนแรงฝนตกฟ้าคะนอง

UndubZapp

เผยแพร่ 04 มิ.ย. 2563 เวลา 02.00 น. • อันดับแซ่บ
พยากรณ์อากาศด้วยตัวเอง! 7 ลักษณะก้อนเมฆ บอกความรุนแรงฝนตกฟ้าคะนอง
7 ลักษณะก้อนเมฆที่สามารถบอกเหตุฝนฟ้าคะนองได้ ฝนตกหรือฝนไม่ตก ฝนแรง พายุเข้า หรืออากาศจะแปรปรวนแค่ไหน ดูคร่าวๆ ได้จากลักษณะเมฆค่ะ

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันมนุษย์เราจะสามารถรู้สภาพอากาศได้ง่าย เพียงแค่ใช้นิ้วคลิกดูแอปพยากรณ์อากาศในโทรศัพท์ หรือแค่เปิดเว็บไซต์เสิร์ชเอ็นจิ้น เราก็จะพบข้อมูลสภาพอากาศทั้งหมดในแต่ละวันแล้ว อย่างไรก็ตาม UndubZapp เชื่อว่าชีวิตของคนเราเต็มไปด้วยเรื่องไม่คาดฝัน เราทุกคนจึงควรจะใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาทและมีสติอยู่เสมอ UndubZapp จึงขอนำข้อมูลความรู้เรื่องวิธีการสังเกตก้อนเมฆบนท้องฟ้าเบื้องต้น หากว่าขณะนี้ก้อนเมฆบนท้องฟ้าดูผิดแปลกไปจากทุกที เราควรปลุกความเป็นนักวิทยาศาสตร์ในตัวเองขึ้นมา พยากรณ์อากาศด้วยตาเปล่า และลองสังเกตดูว่าเมฆที่เราเห็นอยู่ตอนนี้เป็นสัญญาณเตือนภัยจากฟากฟ้าหรือเปล่า หากว่าภยันตรายใดกำลังจะเกิดขึ้น เราจะได้ไหวตัวทันค่ะ

1. Cumulonimbus Clouds

เมฆคิวมูโลนิมบัส มีลักษณะเป็นเมฆก้อนใหญ่ มีความหนาแน่นสูงหนา มีสีดำมืด ฐานเมฆต่ำ มียอดเมฆแผ่ออกเป็นรูปร่างคล้ายทั่ง (anvil) ที่ใช้ในการตีเหล็ก ก้อนเมฆชนิดนี้ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รวมไปถึงลูกเห็บ

 

2. Shelf Clouds

เมฆกันชน หรือ เมฆอาร์คัส จะอยู่บริเวณฐานเมฆ มีน้ำหนักมากกว่าเมฆฝนปกติ แม้ว่าตัวเมฆอาร์คัสจะไม่มีอันตรายโดยตรง แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับเมฆฝนฟ้าคะนอง จึงพบว่ามีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่

 

3. Nimbostratus

เมฆนิมโบสเตรตัส มีลักษณะเป็นแผ่นหนา สีเทา แผ่กว้างขยายออกไปไม่เป็นรูปทรง จนทำให้ท้องฟ้ามืดครึ้ม เมฆนิมโบสเตรตัสนี้เป็นที่ทำให้ฝนตกอย่างต่อเนื่อง หรือก็คือเมฆฝนนั่นเอง

 

4. Funnel Clouds

เมฆงวงช้าง มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยยื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส ทอดตัวยาวลงมาในแนวดิ่ง โดยเมฆงวงช้างนี้จะเป็นสภาวะเริ่มต้นของการก่อตัวทอร์นาโด หากว่าเมฆแตะกับพื้นหรือน้ำ ก็จะกลายเป็นทอร์นาโด

 

5. Tornadoes

ทอร์นาโด หรือ พายุลมงวง/พายุงวงช้าง เป็นพายุหมุนขนาดรุนแรงซึ่งเกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยหมุนบิดลงมาจากใต้ฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส ทอดตัวยาวลงมาในแนวดิ่ง ซึ่งเมฆหนึ่งก้อนอาจทำให้เกิดพายุได้หลายวงพร้อมๆ กัน มักเกิดในที่ราบขนาดกว้างใหญ่

 

6. Mammatus Clouds

เมฆแมมมาตุส หรือ เมฆเต้านม มีลักษณะคล้ายเม็ดตะปุ่มตะป่ำห้อยย้อยเต็มท้องฟ้า ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูผิดแผกจากเมฆปกติทั่วไป ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเมฆอันตราย แต่ความจริงแล้วเมฆชนิดนี้เราจะเห็นได้หลังจากพายุฝนฟ้าคะนองหมดไปแล้วต่างหาก

 

7. Undulatus Asperatus Clouds

เมฆชนิดใหม่ที่เพิ่งได้รับการเสนอชื่อไม่นาน มีลักษณะคล้ายกับเกลียวคลื่น แม้ว่าเมฆจะมีรูปทรงแปลกประหลาด แต่เมฆชนิดนี้จะไม่ก่อตัวเป็นพายุ

SOURCE : accuweather

กดติดตาม ADD Line @UndubZapp

แซ่บกันต่อ…

>> ปริศนาเที่ยวบินผวา!! 5 เหตุการณ์เครื่องบินสูญหาย ไร้ข้อสรุป

>> จากไต้ฝุ่น Jebi ย้อนรอย 10 อันดับภัยธรรมชาติญี่ปุ่น รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

---

อัปเรื่องแซ่บ ฟีดเรื่องมันส์ เม้าท์ทันเพื่อน
Facebook: @UndubZapp
Instagram: @UndubZapp

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0