โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

พบพันธุกรรมไวรัสเอชไอวีในเนื้อเยื่อมนุษย์ จากปี 1966 ชี้มีอายุเก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

Khaosod

อัพเดต 01 มิ.ย. 2563 เวลา 14.52 น. • เผยแพร่ 01 มิ.ย. 2563 เวลา 14.52 น.
_112603151_graphichivvirusgettyimages.png

พบพันธุกรรมไวรัสเอชไอวีในเนื้อเยื่อมนุษย์ จากปี 1966 ชี้มีอายุเก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา - BBCไทย

ทีมนักไวรัสวิทยาจากนานาชาติ ค้นพบข้อมูลพันธุกรรมทั้งหมด หรือจีโนม (genome) ที่อยู่ในสภาพเกือบสมบูรณ์ของไวรัสเอชไอวีชนิด HIV-1 กลุ่ม M จากตัวอย่างเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองของมนุษย์ที่เก็บไว้นานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว

การค้นพบครั้งนี้เป็นหลักฐานชิ้นล่าสุดที่ยืนยันว่า มนุษย์ได้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและมีการแพร่กระจายของเชื้อในหมู่ประชากรแถบแอฟริกากลางมานานอย่างน้อย 17 ปี ก่อนการค้นพบไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ครั้งแรกในปี 1983

รายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร PNAS ระบุว่า ตัวอย่างเนื้อเยื่อดังกล่าวเก็บจากชายวัย 38 ปีที่อยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) เมื่อปี 1966 นับว่าเป็นหลักฐานของการติดเชื้อเอชไอวีที่เกิดขึ้นก่อนถึง 10 ปี เมื่อเทียบกับการติดเชื้อในตัวอย่างเลือดซึ่งค้นพบเมื่อปี 1976

พบพันธุกรรมไวรัสเอชไอวีในเนื้อเยื่อมนุษย์
พบพันธุกรรมไวรัสเอชไอวีในเนื้อเยื่อมนุษย์

ดร. โซฟี กรีซีลส์ หนึ่งในทีมผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งเมืองลือเฟน (KU Leuven) ของเบลเยียม บอกว่าการค้นพบครั้งนี้ไม่ได้สร้างความประหลาดใจแต่อย่างใด เพราะก่อนหน้านี้ผลการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสเอชไอวีได้ชี้ว่า มีร่องรอยการติดต่อของเชื้อจากลิงชิมแปนซีมาสู่คนตั้งแต่เมื่อต้นทศวรรษ 1900 แล้ว แต่ยังไม่มีหลักฐานเชิงรูปธรรมที่ยืนยันถึงการแพร่กระจายของเชื้อในอดีตที่ห่างไกลได้ขนาดนั้น

ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์
ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์

"การค้นพบครั้งนี้สอดคล้องกับแนวคิดตามแบบจำลองการแพร่ระบาดและวิวัฒนาการของไวรัสที่เราคาดเอาไว้ และจะช่วยให้เข้าใจมากขึ้นถึงกลไกที่เชื้อเอชไอวีปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเซลล์และพฤติกรรมของมนุษย์ จนก่อให้เกิดการระบาดใหญ่ขึ้นได้" ดร. กรีซีลส์กล่าว

ทั้งนี้ เชื้อเอชไอวีที่นำไปสู่การเกิดโรคเอดส์มากถึง 95% คือไวรัส HIV-1 กลุ่ม M ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปถึง 32 ล้านคน ดังนั้นการค้นพบหลักฐานทางพันธุกรรมในอดีตของไวรัสชนิดนี้ อาจช่วยไขปริศนาเรื่องความสำเร็จทางวิวัฒนาการที่ทำให้พวกมันอยู่รอดและแพร่พันธุ์สืบต่อมาได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0