โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ฝุ่น PM 2.5 ทำภูมิแพ้กำเริบ

The Bangkok Insight

เผยแพร่ 22 ม.ค. 2562 เวลา 07.08 น. • The Bangkok Insight
ฝุ่น PM 2.5 ทำภูมิแพ้กำเริบ

ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ในอากาศของไทยยังไม่ได้บรรเทาลงเท่าไหร่นัก แถมรุนแรงขึ้น

วันนี้ (22 ม.ค.) ทั่วกรุงเทพเต็มไปด้วยพื้นที่สีแดง และสีส้มทั้ง 31 เขต หมายถึงฝุ่นทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพค่อนข้างมาก ถึงมาก โดยพื้นที่ที่มีค่าสีส้มค่าฝุ่นตั้งแต่ 54 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. จนถึง 86 ไมโครกรัม ส่วนสีแดงค่าตั้งแต่ 92 ไมโครกรัม พุ่งไปถึง 100 ไมโครกรัม และ 101 ไมโครกรัม เกิดขึ้นในบริเวณริมถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ และ ริมถนนพระราม 3 เจริญกรุง เขตบางคอแหลมตามลำดับ ไม่เฉพาะกรุงเทพ ตอนนี้ค่าฝุ่นยังเกิดกับหลายเมืองในหลายๆจังหวัดด้วย

ฝุ่นละอองขนาดเล็กปลิวว่อนไปทั่วอย่างนี้ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนไม่มากก็น้อย นอกจากทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางหัวใจหลอดเลือดแล้ว และปอดแล้ว  ฝุ่นยังทำให้เกิดโรคทางผิวหนังด้วย

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการเสนอข่าว ผู้ป่วยหญิงมีอาการลมพิษอย่างหนัก คันตามร่างกาย และปวดแสบทั้งตัว จนอาการเริ่มหนัก ทั้งตา รอบปาก จมูก ใบหน้า ขาหนีบ ข้อพับต่างๆ และรู้สึกร้อนทั้งตัว กินยา และทายาไม่หาย จึงได้ไปพบแพทย์ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นเพราะฝุ่นละอองหรือไม่

*โดยผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคแพ้ฝุ่น ผิวแพ้ง่าย และ มีอาการเริ่มหายใจติดขัด จามบ่อย มีเลือดออกมาทางจมูกค่อนข้างมาก และไหลไม่หยุด  แพทย์ วินิจฉัยว่ามีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุจากการเจอฝุ่นมากๆ ทำให้ภูมิแพ้กำเริบขึ้น และการที่เป็นคนเลือดออกง่าย และไหลไม่หยุด อาจทำให้มีเลือดไหลออกมาทางจมูกมาก *

ทั้งนี้ ผิวหนังเป็นอวัยวะหลัก ที่ต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อม และมลภาวะต่างๆ ตลอดเวลา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ฝุ่นละอองดังกล่าวจะส่งผลต่อผิวหนังด้วย

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์

ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สามารถจับตัวกับสารเคมี และโลหะต่างๆ และนำพาเข้าสู่ผิวหนัง มีผลทำร้ายเซลล์ผิวหนังโดยตรง และทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติ ทั้งในด้านกลไกการป้องกันของผิวหนังจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และการซ่อมแซมผิวหนัง กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบของเซลล์ผิวหนัง

ทำให้เกิดผื่นคัน  โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม  เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือโรคผื่นผิวหนังอักเสบ จะมีการระคายเคืองคันมากยิ่งขึ้น และผื่นกำเริบมากขึ้นได้

พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ
พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ

ทางด้านพญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง เสริมว่า การสัมผัสกับฝุ่นดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผิวเสื่อมชราได้เร็วขึ้น นอกเหนือจากปัจจัยทางแสงแดด และการสูบบุหรี่

จากการศึกษาในประเทศเยอรมนี และจีน พบว่าการสัมผัสกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก เป็นเวลานาน มีผลทำให้ผิวเสื่อมชรา โดยพบการเกิดจุดด่างดำเพิ่มมากขึ้นบริเวณใบหน้า และการเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากยิ่งขึ้นด้วย

นอกจากนี้ยังพบว่าฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบต่อผิวหนังได้ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดังนั้น การปกป้องผิวหนังให้สัมผัสกับฝุ่นดังกล่าวให้น้อยที่สุด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบมากยิ่งขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0