โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ฝึกสมองอย่างไรให้เลิกวิตกกังวล!

issue247.com

อัพเดต 11 มี.ค. 2562 เวลา 14.21 น. • เผยแพร่ 12 มี.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

สุขภาพจิตจะได้รับผลกระทบจากความวิตกกังวลซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมาก บางคนบอกว่าเราสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการฝึกสมองให้เลิกวิตกกังวลเนื่องจากมันเป็นแค่นิสัยอย่างหนึ่ง ขณะที่บางคนคิดว่าเป้าหมายของมันคือเพื่อช่วยสมองในการเรียนรู้ความผิดพลาดที่ผ่านมาและพร้อมที่จะเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ความแตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความวิตกกังวลคือ..ความวิตกกังวลจะเกิดขึ้นเมื่อสมองพุ่งเป้าไปยังเหตุการณ์ในอนาคตที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนภาวะซึมเศร้าคืออาการเมื่อสมองสนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตซึ่งเราก็รู้สึกเสียใจและต้องการเปลี่ยนแปลงมัน นี่คือวิธีฝึกสมองเพื่อเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ที่จะผ่านเข้ามารวมถึงวิธีหยุดอาการวิตกกังวล

 

1. จดบันทึกและเลิกกังวล

วิธีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถฝึกสมองเพื่อให้เลิกวิตกกังวลที่ได้ผลดีมากที่สุด เริ่มจากเขียนลงไปในกระดาษหรือบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นสมองของคุณจะรู้สึกผ่อนคลายและไม่ต้องเปลืองพลังงานในการจดจำสิ่งต่างๆ ดังนั้นถ้าคุณต้องการรู้ว่าต้องเตรียมอะไรบ้างเมื่อเพื่อนมาเยี่ยมบ้านก็แค่เขียน “สิ่งที่ต้องเตรียม” และสมองจะรู้ว่านี่คือสิ่งที่ต้องจำพร้อมกับหาวิธีแก้ไขแทนที่จะมากังวลว่าไม่ให้ลืม แล้วการเขียนช่วยได้อย่างไร? กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพบหลักฐานว่าผู้ที่มีอาการวิตกกังวลรุนแรงจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงปัญหาเช่นกัน พวกเขาจึงทำการทดสอบโดยให้ผู้เข้าร่วมเขียนผลลัพธ์จากเหตุการณ์ที่พวกเขากังวลลงไปในกระดาษทั้งหมดสามข้อ จากนั้นพวกเขาก็ประเมินผลเพื่อหาวิธีแก้ไข ปรากฏว่า..ผลที่ได้ไม่มีความเป็นรูปธรรม ผู้เข้าร่วมก็ยิ่งมีอาการวิตกกังวล ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าความวิตกกังวลไม่ได้มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาเลย แต่แสดงให้เห็นว่านี่คือการหลีกหนีปัญหาในการรับรู้

 

2. ฝึกสมาธิเพื่อให้สมองปลอดโปร่ง

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการฝึกสมาธิมีประโยชน์มากและสามารถลดระดับความวิตกกังลลงได้ แต่คนส่วนใหญ่คิดว่าการฝึกสมาธิต้องใช้เวลานานและพวกเขาไม่มีเวลา แต่จริงๆคุณสามารถหลับตาและอยู่นิ่งๆอย่างน้อยสัก 30 วินาทีก็ใช้ได้แล้ว กระบวนการผ่อนคลายและอยู่ให้ห่างจากอาการวิตกกังวลและความตึงเครียดเป็นขั้นตอนแรกในการฝึกสมองเพื่อหลีกเลี่ยงความวิตกกังวล แม้ว่าคุณอาจจะนึกถึงสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกกังวลในระหว่างที่ฝึกสมาธิ แต่นี่คือเรื่องปกติ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านฝึกสมองแนะนำว่าคุณควรนึกถึงภาพปัญหาที่ทำให้คุณรู้สึกกังวลไปพร้อมๆกับนึกภาพตอนที่คุณสบายใจที่ได้เอาความวิตกกังวลออกไปจากสมองได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

 

3. ออกกำลังกายเพื่อทำให้สมองและร่างกายเลิกวิตกกังวล

ความวิตกกังวลจะกระตุ้นการทำงานของสมองในการแก้ปัญหาว่าจะสู้หรือหนีไป มันอาจออกมาในรูปแบบของความกลัว เช่น เมื่อเสือจู่โจมคุณระดับอะดรีนาลีนจะพุ่งสูงขึ้นทันทีและทำให้คุณรู้สึกกลัวมากไม่ต่างจากตอนที่คุณรู้สึกวิตกกังวล มีการศึกษาหนึ่งพบว่าการออกกำลังกายมีประสิทธิภาพสูงในการบรรเทาอาการที่เกิดจากความวิตกกังวลได้ เช่น อาการกระวนกระวายใจ เมื่อระดับความเครียดลดลง สมองก็จะพิจารณาว่าไม่มีเรื่องที่ต้องให้วิตกกังวลแล้ว ร่างกายของคุณก็จะไม่มีอาการตื่นตัวอีกต่อไป นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยลดความดันโลหิตแล้วยังช่วยลดความรู้สึกวิตกกังวลได้ด้วย ดังนั้นเมื่อคุณรู้สึกกังวลลองเดินเล่นสัก 5-10 นาที ชื่นชมทัศนียภาพและเพลิดเพลินไปกับเสียงธรรมชาติที่อยู่รอบตัว รวมถึงตั้งสมาธิอยู่กับการหายใจและการเคลื่อนไหวไปพร้อมๆกัน

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0