โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ฝึกคุมขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง อีกหนึ่งทางเลือกของคนอยากลดน้ำหนัก

HealthyLiving

อัพเดต 18 ต.ค. 2561 เวลา 13.14 น. • เผยแพร่ 18 ต.ค. 2561 เวลา 00.00 น. • Healthy Living
BDMS_thumnail.jpg

การควบคุมน้ำหนักอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกัน ก็คือ การฝึกควบคุมปริมาตรของกระเพาะ จากผลการศึกษาพบว่า กระเพาะอาหารของคนอ้วนมีความจุมากกว่าคนที่ไม่อ้วน และเมื่อพยายามควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนักตัวได้ระยะหนึ่ง ความจุของกระเพาะอาหารมักจะลดลงตามไปด้วย มีผู้พยายามศึกษาความจุกระเพาะอาหารของมนุษย์ โดยใช้วิธีต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่วิธีการสมัยก่อนที่วัดปริมาณอาหารเหลวที่ให้กลืนจนอิ่มท้อง จนถึงวิธีทันสมัยโดยใช้การตรวจคล้ายเอกซเรย์ ทำให้สามารถคำนวณปริมาตรของกระเพาะอาหารได้  จากการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้พบว่า ความจุของกระเพาะอาหารของมนุษย์มีค่าแตกต่างกัน ตั้งแต่  800 ซีซีไปจนถึงประมาณ 4,000 ซีซี หรือตั้งแต่ประมาณ 1 ลิตรถึง 4 ลิตร
เราสามารถประมาณปริมาตรอาหารที่เรารับประทานต่อครั้งได้ง่าย ๆ เช่น 
- น้ำดื่ม 1 แก้วปกติจะมีความจุประมาณ 250 ซีซี  
- นมยูเอชที 1 กล่องสำหรับผู้ใหญ่จะมีความจุประมาณ 240 ซีซี
- น้ำดื่มขวดเล็กมีปริมาตรประมาณ 500 - 600 ซีซี เป็นต้น  
ผู้ใหญ่หนึ่งคนต้องการพลังงานจากอาหารประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน และถ้ามีส่วนเกินสะสมถึง 7,000 กิโลแคลอรี่ก็จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม ถ้ารับประทานอาหารจนอิ่มตื้อเต็มกระเพาะโดยดูจากปริมาตรของกระเพาะอาหารข้าง [PT1] ต้น ก็จะมีโอกาสที่จะมีพลังงานเกินความต้องการสะสมไปเรื่อย ๆ จนน้ำหนักเพิ่มขึ้นมา
ลองนึกภาพจากอาหารทางการแพทย์ที่มีลักษณะคล้ายนม ถ้าผสมแบบปกติจะให้พลังงาน 1 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 ซีซี ถ้าได้มื้อละประมาณ 2 แก้ว หรือประมาณ 500 ซีซี วันละ 4 มื้อ ก็จะได้พลังงานถึง 2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
แต่ในชีวิตจริงอาหารหลายอย่างให้ค่าพลังงานมากกว่าอาหารที่เป็นของเหลวดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ผ่านการทอด ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่ไม่ใช่ของเหลวในปริมาณที่น้อยลง  

  
นอกจากนี้ในบางคนกินอาหารซึ่งแม้จะเป็นพืชผักที่มีพลังงานน้อยหรือน้ำเปล่าหลาย ๆ แก้ว ซึ่งไม่มีพลังงานเลยก็ตามจนอิ่มแน่นกระเพาะ  กลับทำให้กระเพาะอาหารปรับตัว สร้างน้ำย่อยตามออกมามากขึ้น ทำให้หิวโหยง่ายขึ้นในตอนค่ำหรือวันต่อมา  ดังนั้นจึงไม่ควรกินอาหารอิ่มแน่นจนกระเพาะอาหารขยายมากเกินไป เมื่อเริ่มรับประทานอาหารจะทำให้เกิดความอิ่มใน "ช่วงต้น" ซึ่งความอิ่มช่วงนี้เป็นผลมาจากการรับรู้ของบริเวณทางเดินอาหารเมื่อมีอาหารเข้ามาอยู่ภายใน รวมถึงความ  "ตึง" ของกระเพาะอาหาร  สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นฮอร์โมนส่งสัญญาณไปยังศูนย์หิว-อิ่มที่อยู่ภายในสมอง ส่วนความอิ่ม "ช่วงหลัง" เกิดขึ้นหลังจากที่สมองได้รับสัญญาณจากทางเดินอาหาร และจากสิ่งกระตุ้นภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่มองเห็น กลิ่นที่ได้รับ และบรรยากาศรอบตัว ทำให้เกิดความอยากหรือไม่อยากอาหารในมื้อนั้นอีกต่อไป สัญญาณความอิ่มที่ระดับทางเดินอาหารก็ดี หรือที่ระดับสมองก็ดี ต้องใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง กว่าจะส่งสัญญาณเชื่อมถึงกัน ขอบคุณข้อมูลจาก bangkokhealth.com

         

เพิ่มช่องทางการรับข่าวสารและข้อมูลดี ๆ ผ่าน Line Official AZAYfan ที่จะช่วยทำให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ได้ที่ 

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

      

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0