โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

''ฝังเข็ม''รักษาโรค ศาสตร์ที่ยั่งยืน

เดลินิวส์

อัพเดต 18 ก.พ. 2563 เวลา 03.50 น. • เผยแพร่ 18 ก.พ. 2563 เวลา 02.52 น. • Dailynews
''ฝังเข็ม''รักษาโรค ศาสตร์ที่ยั่งยืน
''การฝังเข็ม''แบบศาสตร์ในการรักษาบรรเทาอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อเป็นนิยมในทางการแพทย์ ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อกลับสู่สภาพเดิม ยกระดับคุณภาพชีวิต

นพ.ธรรมสรณ์ เจษฏาเชษฐ์ แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสุขุมวิท เผยว่า การฝังเข็มเป็นวิชาแพทยศาสตร์แผนพื้นบ้านของจีนที่มีมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีนเชื่อว่า การฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งของสารชีวเคมีในร่างกายเพิ่มขึ้น มีผลต่อร่างกายในแง่ช่วยระงับอาการเจ็บปวด ลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและระบบลมปราณไหลเวียนดีขึ้น ปรับระดับไขมันและสารเคมีอื่นๆ ในร่างกายให้อยู่ในสภาพสมดุล รวมทั้งเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย

ขณะที่ศาสตร์ในการรักษาของฝรั่งเองก็มีลักษณะการใช้เข็มเช่นเดียวกันแต่เล็กกว่าและเป็นการรักษาเฉพากล้ามเนื้อที่มีปัญหาจากอาการอักเสบอาการปวดอย่างรุนแรง ด้วยการใช้ปลายเข็มจิ้มลงไปตรงบริเวณกล้ามเนื้อที่หดเกร็งเพื่อให้ขยายตัวออกมา ปรับความสมดุลให้กล้ามเนื้อกลับมาเป็นปกติ

*ในปัจจุบันการปวดกล้ามเนื้อกำลังเป็นอาการที่คนไทยเป็นกันมากขึ้นจากสังคมนั่งหน้าจอ การเล่นมือถือ หรือแม้กระทั่งการเคลื่อนตัวอย่างเร่งรีบ ซึ่งบริเวณที่ปวดส่วนใหญ่มักจะเกิดที่ไหล่ หลัง คอ ขมับ และที่เอว *

อย่าง''โรคออฟฟิศซินโดรม'' เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงานโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานเป็นงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหาร ระบบนัยน์ตาและการมองเห็น รวมไปถึงระบบอื่นๆ

อาการที่จะพบได้บ่อยคือ ปวดตึงที่คอและบ่า ถ้าเป็นมากๆ อาจมึนและปวดร้าวศีรษะ หรือมีอาการชาลงมาที่แขนได้

ก่อนการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มนั้นต้องมีการประเมิน ความเจ็บปวดของร่างกายเพื่อใช้วิธีการรักษาให้เหมาะสมกับอาการ คือถ้าปวดมากกว่า 5 เต็ม 10 หมายความว่าถ้าเลข 0 คือไม่ปวดเลย เลข 10 คือมากที่สุดในชีวิต เลข 5 คือปวดปานกลาง ถ้าในกรณีที่ปวดมากกว่า 5 หมายความว่ากล้ามเนื้อนั้นจะต้องมีใยกล้ามเนื้อที่มันหดเกร็งอยู่แล้ว มั่นใจว่ามีก้อนกล้ามเนื้อที่มันหดเกร็งค้าง

นพ.ธรรมสรณ์ ยังแนะนำด้วยว่า คนที่กลัวเข็มก็ไม่ควรจะรักษาด้วยวิธีฝังเข็มเพราะว่าคนที่กลัวเข็มมักจะมีอาการเกร็งหรือต้านกับเข็มภายใน ทำให้เขี่ยออกลำบากและระบมเพิ่มขึ้น ส่วนที่กลุ่มคนที่มีภาวะเลือดไหลง่าย ก็ต้องหลีกเลี่ยง ควรระวังเป็นพิเศษร่วมกับจุดปวดกล้ามเนื้อบริเวณทรวงอก เพราะข้างใต้ทรวงอกคือปอด จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

โดยปกติแล้วในการฝังเข็มจะดูตามอาการของผู้ป่วยถ้าในกรณีลงเข็มครั้งแรกแล้วมีอาการทุเลาลงก็หมายความได้ว่า การลงเข็มครั้งนั้นมีการกระตุกคลายตัวของกล้ามเนื้อชัดเจน จึงสันนิษฐานได้ว่าอาการปวดของกล้ามเนื้อจะลดลงมากกว่า 50%

''การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มน่าจะตอบโจทย์ของคนรุ่นใหม่หรือพนักงานออฟฟิศ เพราะไม่เน้นยาหรือรับประทานยาต่อเนื่อง แต่เน้นเรื่องหายปวดโดยใช้เครื่องมือ ใช้เวลาน้อยกว่าวิธีอื่น โดยจะอยู่ที่ตำแหน่งละ 5-10 นาทีเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็เริ่มมีการฝังเข็มเพื่อเพิ่มสมาธิ และลดอาการซนมากหรืออยู่ไม่นิ่ง ในเด็กออทิสติก และในเด็กที่สมาธิสั้นอีกด้วย '' นพ.ธรรมสรณ์

*นพมาศ บุญสงคราม *

ขอบคุณข้อมูล เพจคุณหมอ Dr. Tham- Thammasorn

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0