โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ฝรั่งอ้างคนไทยยอมเป็น “เชลยพม่า” ดีกว่ากลับมาเป็นไพร่รับใช้

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 04 ก.พ. 2564 เวลา 01.17 น. • เผยแพร่ 04 ก.พ. 2564 เวลา 01.00 น.
14107887_949248525204540_3786495785638140160_o
ภาพวาดแรงงานชนพื้นเมืองอุษาคเนย์ในยุคศตวรรษที่ 19 โดย Eugène Burnand

เฮนรี เบอร์นีย์ ทูตอังกฤษที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักสยาม กล่าวในจดหมายถึง อาร์. ฟูลเลอร์ตัน เอสไควร์ ผู้ว่าราชการ ฯลฯ เกาะปรินซ์ ออฟ เวลส์ (ปีนัง) ลงวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1825 (พ.ศ. 2368) จากหนังสือ “เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 1” จัดพิมพ์โดย กรมศิลปากร, สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ แปล

มีใจความตอนหนึ่งว่า (เน้นคำโดยกองบก.ออนไลน์)

“…ตามความคิดของคนสยามการส่งทัพไปทางหัวเมืองชายแดนพม่าเรียกกันว่า ‘ยกทัพไปจับพม่า’ ซึ่งแสดงให้เห็นแล้วว่าการทำสงครามของสยามนั้นมีความหมายอย่างไร เชลยที่จับมาได้ก็เช่นเดียวกับเราปฏิบัติต่อนักโทษ คือจะถูกจับใส่กรงเหล็กไว้แล้วตั้งให้ประชาชนเข้ามาดูได้ หรือไม่ก็จะถูกใช้งานโยธาต่างๆ เช่น ในการสร้างป้อมที่ปากน้ำและปากลัด หรือการซ่อมแซมบูรณะป้อมปราการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นก็ใช้เชลยพม่าเหล่านี้ช่วย หรือหากว่ามีงานสาธารณะแห่งใดที่ขาดแรงงาน เช่นในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพของพระเจ้าอยู่หัวองค์ที่แล้วเป็นต้น มักเกณฑ์พวกเชลยพม่ามาช่วยงาน พวกเชลยพม่าพวกนี้ทำงานได้ดีมาก และเป็นประโยชน์กว่าคนงานชาวสยามซึ่งเกียจคร้าน**

ดังนั้นนับว่าเชลยพม่ามีประโยชน์กว่าเชลยสยามที่เราจับได้มากนัก นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังได้ยินคนกล่าวว่าถ้าหากให้เชลยทั้งสองเลือกตามใจชอบว่า จะกลับบ้านเกิดเมืองนอนของตนหรือไม่ ก็จะปรากฏว่าพวกเชลยสยามที่เราจับได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ถูกพม่าจับได้มาแต่ก่อน จะเลือกอยู่ที่เดิมไม่กลับกรุงสยาม เพราะอยู่ที่นั่นต่างก็ทำงานหาเลี้ยงตนเองได้ แต่ถ้าหากกลับมาอยู่กรุงสยามแล้วต้องทำงานให้แก่เจ้านายหรือให้แก่พระเจ้าอยู่หัว แต่ในทำนองตรงกันข้าม เชลยพม่าที่ถูกพวกคนสยามจับมาได้จะอยากกลับไปอยู่กับรัฐบาลอังกฤษด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน…”

 

แก้ไขปรับปรุงเนื้อหาในระบบออนไลน์เมื่อ 26 กันยายน 2563

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0