โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ผ่าสังคมลับออนไลน์!! “เว็บมืด” หนึ่งในพื้นที่โชว์ ”ทรมานสัตว์”

SpringNews

เผยแพร่ 22 ต.ค. 2561 เวลา 03.45 น. • SpringNews
ผ่าสังคมลับออนไลน์!! “เว็บมืด” หนึ่งในพื้นที่โชว์ ”ทรมานสัตว์”

ด้านมืดของโลกออนไลน์

ว่าที่ร.ท.อภิสิทธิ์ ไชยประสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสังคมออนไลน์ คณะทำงานเครือข่ายการพัฒนาองค์ความรู้การก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เผยถึงกรณีดาร์ดเว็บ ซึ่งกล่าวขานถึงอย่างมาก จากคดีดีเจสาว ทรมานสัตว์โดยการฆ่าแมว อ้างอิงว่าเพื่อนำไปแสดงในเว็บไซต์กลุ่มปิด แลกกับเงินบิตคอยน์ว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการคุกคามทางเว็บไซต์ โลกออนไลน์  นอกเหนือจากพฤติกรรมปกติบนsurface web พื้นที่สาธารณะเปิดให้เข้าถึงด้วยวิธีปกติ ค้นหากันได้ผ่านเสิร์ชเอ็นจินธรรมดา

แต่สำหรับดาร์กเว็บนี้ ชี้ให้เห็นถึงมิติทางสังคมของพฤติกรรมที่สองของมนุษย์ เสมือนกับเวอร์ช่วล  ตัวตนเสมือนที่สร้างขึ้น เมื่อผ่านกระบวนการทางเลือกของโซเชียล นับเป็นเป็นการเริ่มต้น หากพื้นที่นั้นตรงกับพฤติกรรมแปลกแยกของตัวเอง ก็จะทำให้ดำดิ่งลงในเว็บ  ซึ่งดารืกเว็บ มีกระบวนการซับซ้อนในการเข้าถึงเว็บ ต้องเข้ารหัส คนทั่วไปจึงเข้าไม่ได้ ดาร์กเว็บมีมากถึง80% ของเว็บอยู่ได้โดยวิธีการหลบซ่อน บุคคล หรือกลุ่มคน มักอาศัยเป็นตลาดมืดออนไลน์ อาทิ กลุ่มค้ายาเสพติด อาวุธ ค้าประเวณี แหล่งซ่องสุมแฮกเกอร์ พวกซื้อขายของผิดกฎหมาย เป็นต้น”

ว่าที่ร.ท.อภิสิทธิ์ ตอบคำถามว่าจะเตือนบุคคลทั่วไปอย่างไร เพื่อไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับดาร์กเว็บทั้งหลายว่า บุคคลและองค์กร ต้องมีไพรเวซี่(Privacy) ในการปกป้องข้อมูล เพื่อไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยว และไม่เปิดช่องให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาใช้เป็นจุดซ่องสุม หรือถูกใช้เป็นเครื่องมือ ทางจิตวิทยาเมื่อเข้าไปแล้วเสาะหาข้อมูล พบพฤติกรรมด้านมืด ไปแตะต้องอาจจะหมกมุ่นถึงขั้นถลำลงไป  ในต่างประเทศพบมากว่า ถ้าได้ข้อมูล คนที่เข้าไปในดาร์กเว็บ มักจะนำข้อมูลไปกระทำผิดกฎหมายต่อ เช่น แฮกข้อมูลสมาร์ทการ์ดขึ้นรถขนส่งสาธารณะ กลายเป็นภาระของเจ้าของบัตรต้องจ่ายเงิน

ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสังคมออนไลน์ระบุว่าดาร์กเว็บในเมืองไทยยังมีหน่วยงานดูแลจุดเด่นของกลุ่มนี้จะทำการแรนด้อมไปเรื่อยๆขณะเดียวกันมันก็จะแปลงข้อมูลเพื่อหนีการตรวจสอบบ่อยครั้งเช่นเดียวกันสิ่งที่ย้ำให้ระวังอย่างยิ่งหากคนทั่วไปเข้าไปในดาร์กเว็บเช่นเว็บพวกโรคจิตมีความเสี่ยงเมื่อเข้าไปแล้วคนโรคจิตอาจจะสามารถตามมาคุกคามในโลกหรือชีวิตจริงได้

ดาร์กเว็บ(Dark Web) และ ดีฟเว็บ(Deep Web) ตามความหมายที่ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย(ThaiCert) ให้ความหมายคือ

  • Dark Web เป็นเว็บไซต์ที่ตั้งใจซ่อนอำพรางการเข้าถึง ปกปิดข้อมูลผู้อยู่เบื้องหลัง โดยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในเชิงผิดกฎหมาย
  • Deep Web เป็นเว็บไซต์ที่ไม่ปรากฎในฐานข้อมูลSearch engine และไม่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าถึงได้ด้วยวิธีปกติ เช่น เว็บที่ใช้งานเฉพาะเครือข่ายภายในองค์กร

โดยการเข้าถึงDark Web จะต้องใช้ช่องทางพิเศษ เช่น เข้าผ่านเครือข่ายTor หรือI2P ซึ่งเป็นการเข้าถึงแบบไม่ระบุตัวตน(Anonymous) และตรวจสอบย้อนกลับเส้นทางได้ยาก เนื้อหาในDark Web โดยส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องผิดกฎหมายหรืออาชญากรรม เช่น ซื้อขายยาเสพติด ขายอาวุธ ค้ามนุษย์ ซื้อขายมัลแวร์ หรือซื้อขายข้อมูลที่ถูกขโมยออกมา เป็นต้น

ทั้งนี้Dark Web บางส่วนไม่ได้เป็นเนื้อหาผิดกฎหมาย(หรืออาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเฉพาะในบางประเทศ) เช่น การนำเสนอข่าวของผู้สื่อข่าวที่ทำงานอยู่ในประเทศที่ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ข่าวสารบางอย่าง การรณรงค์ทางการเมือง การเปิดเผยข้อมูลอาชญากรรมโดยผู้เปิดเผยต้องการปกปิดตัวตน บริการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล หรือการพูดคุยสนทนาในหัวข้อที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงเว็บไซต์ประเภทนี้อาจมีผลกระทบด้านกฎหมาย และมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อจากมัลแวร์ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้

แต่เว็บที่ต้องเข้ารหัส ลึกลงไปกว่านั้น ในการเข้าถึงมีกระบวนการซับซ้อน คนทั่วไปเข้าไม่ได้ จึงเรียกกันว่า ดาร์กเว็บ มีมากถึง80% ของเว็บ โดยวิธีการหลบซ่อน(แม้จะสามารถเข้าไปตรวจสอบได้) แต่กลุ่มตลาดมืดออนไลน์ เป็นกลุ่มเล็กๆ เช่น ค้ายาเสพติด อาวุธ ประเวณี แหล่งซ่องสุมแฮกเกอร์ พวกซื้อสินค้า-บริการที่ผิดกฎหมาย ของต้องห้าม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0