โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ผ่าดีล เสี่ยเจริญ ซื้อกิจการ กาแฟ ‘วาวี’ เติมพอร์ตค้าปลีกบีเจซี 3-5 ปี ต้องมีพันสาขา

Positioningmag

อัพเดต 18 ธ.ค. 2561 เวลา 10.08 น. • เผยแพร่ 18 ธ.ค. 2561 เวลา 09.28 น.

‘บีเจซี’ ปิดดีลเข้าซื้อกิจการธุรกิจกาแฟท้องถิ่น ‘วาวี’ ไปอย่างหมดจด ด้วยมูลค่าที่ไม่มีการเปิดเผยแต่พอเดาเล่นๆ ได้ว่า น่าจะอยู่ในหลักร้อยล้านบาท

‘บีเจซี’ ในนามของบริษัท บีเจซี เมก้า มาร์เก็ต จำกัด(บีเจเอ็มเอ็ม) ซึ่งเป็นบริษัทลูก ปิดดีลการเข้าซื้อกิจการธุรกิจกาแฟท้องถิ่น‘วาวี’ ไปอย่างหมดจดสวยงาม ด้วยมูลค่าที่ไม่มีการเปิดเผย

ดีลนี้ไม่ได้มาเร็วเคลมเร็วเคาะราคาแล้วจบกัน แต่ใช้เวลาเทียวไล้เทียวขื่อหากันร่วม2 ปี กว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องอนาคตใหม่ของวาวี เรื่องทีมงานบริหาร การรักษาคุณภาพและรสชาติแบบวาวีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่คุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่าย

บริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์จำกัด(มหาชน) หรือ บีเจซี เป็นบริษัทการค้า ที่ทำธุรกิจครบวงจรทั้งผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ แปรรูปกลางน้ำ และจำหน่ายถึงมือผู้บริโภคปลายน้ำ การเทกโอเวอร์ไฮเปอร์มาร์เก็ต‘บิ๊กซี ช่วง3 ปีมานี้ ทำให้ภาพของบีเจซีถ่ายเทน้ำหนักจาก“ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค” ไปสู่ “ธุรกิจค้าปลีก” ให้มีความหลากหลายมากขึ้น

โดยปัจจุบันบีเจซีมีรายได้หลักจากบิ๊กซี70% ของรายได้ทั้งหมด รองลงมาคือ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วและกระป๋อง13% ธุรกิจอุปโภคบริโภค11% ธุรกิจเวชภัณฑ์และเทคนิค 8% ตามลำดับ

ขณะที่บริษัทกาแฟวาวีจำกัด เป็นธุรกิจเอสเอ็มอีท้องถิ่น ที่พยายามก่อร่างสร้างตัว ตลอดระยะเวลา18 ปีที่ผ่านมา เคยล้มบ้าง มีเฮบ้าง โดยมีฐานที่มั่นอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ มีสาขาทั้งหมด20 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือ มีสาขาที่กรุงเทพฯ ประปรายบ้าง และสาขาที่โดดเด่นที่สุดคือ“สาขาบิ๊กซี ราชดำริ” ปฐมบทการปิดดีลส่งท้ายปี2561 ของบีเจซีในห้วงเวลานี้

ทำไมบีเจซีถึงซื้อกิจการวาวี”?

ที่ผ่านมามีธุรกิจกาแฟน้อยใหญ่ต่างเสนอตัวมาเสนอขายให้บีเจซีจนหัวกระไดบ้านไม่แห้งแต่ถึงบีเจซีจะมีเงินถุงเงินถังแต่ก็ใช่ว่ากลุ่มทุนยักษ์ใหญ่รายนี้จะหลวมตัวควักกระเป๋าให้ง่ายๆ เพราะแนวทางของบีเจซีต้องการ“ช้างเผือก” ที่รู้ลึก ทำจริง และรักในธุรกิจที่ทำอย่างถอนตัวไม่ขึ้น และกาแฟวาวีก็เข้าสูตรนี้

เราไม่ได้ต้องการบริษัทที่มีกำไรดี มีหน้าบัญชีสวยๆ แต่เจ้าของไม่ได้มีความรู้อย่างจริงจังในธุรกิจที่ทำ

สุวรรณี ภู่นภานนท์ รองประธานฝ่ายกลุ่มกาแฟ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด(มหาชน) กล่าว

ในมุมของบีเจซี ธุรกิจกาแฟวาวี ถือเป็นแบรนด์ที่ดี และกาแฟยังสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนไทยทุกวันนี้ที่นิยมดื่มกาแฟกันมาก ซึ่งมองว่า ธุรกิจกาแฟวาวียังมีโอกาสเติบโตอีกมาก 

ทำไมบิ๊กซีถึงสนใจธุรกิจกาแฟ*? *

ธงผืนใหญ่ของบีเจซีคือรองรับกับการขยายกิจการค้าปลีกบิ๊กซีไปในประเทศเพื่อนบ้าน โดยปีหน้า2562 บิ๊กซีเตรียมเปิดไฮเปอร์มาร์เก็ตที่ลาว รวมถึงเปลี่ยนค้าปลีกในเครือบีเจซีที่ลาว เอ็มพ้อยท์มาร์ท* *มาเป็นมินิบิ๊กซี ซึ่งปัจจุบันมี43 สาขา หลังจากนั้นบิ๊กซีจะไปเปิดสาขาที่ปอยเปต กัมพูชา และขยายสาขาเพิ่มเติมที่เวียดนาม โดยเฟสแรกจะขยายร้านกาแฟวาวีให้ครอบคลุมทั้งตลาดCLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) ก่อนจะมองในภาพใหญ่ถัดไป ดังนั้นการซื้อหากิจการกาแฟมาเป็นของตัวเองจึงมีความคล่องตัวกว่าจับมือกับพันธมิตร

[caption id="attachment_1203751" align="alignnone" width="700"]

คุณอัศวิน บิ๊กซี[/caption]

กาแฟเป็นธุรกิจที่อัศวินเตชะเจริญวิกุล ผู้บริหารบิ๊กซี ให้ความสนใจมานาน และเพิ่งจะมาสมใจเอาตอนที่วาวีพรีเมียมแบรนด์ เป็นแบรนด์คนไทย ที่ตรงใจกับจุดยืนของบิ๊กซีห้างคนไทยเป๊ะ

อนาคตจากนี้ไปของวาวี ยังคงสถานภาพ“กาแฟออร์แกนิก” จับตลาดพรีเมียม ซึ่งบีเจซีจะปรับภาพลักษณ์แบรนด์กาแฟวาวีใหม่ ทั้งโลโก้และสโลแกน ขณะเดียวกันจะเพิ่มเมนูกาแฟให้หลากหลายมากขึ้น วางกลยุทธ์ราคาจับต้องได้มากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ โดยราคาถูกกว่ากาแฟสตาร์บัคส์30% เริ่มต้น35 บาทขึ้นไป วางจุดขายให้แตกต่างจากกาแฟพรีเมียมเจ้าดังที่ดูดีแต่ทำได้แค่มอง

ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนสาขาวาวี จากที่มีอยู่ปัจจุบัน20 สาขา ปีหน้าจะเปิดเพิ่มเป็น100 สาขา พร้อมติดเทอร์โบขึ้นไปให้ได้1,000 สาขาภายใน3-5 ปี ใช้เงินลงทุนทั้งหมด2,000 ล้านบาท และพิจารณาการขายแฟรนไชส์ควบคู่กันไป

รูปแบบร้านกาแฟวาวี มี3 แบบ คือ1. แฟล็กชิปสโตร์ ขนาดพื้นที่มากกว่า100 ตร.ม. จะเปิดสาขาที่ บิ๊กซี ราชดำริ และสุขาภิบาล5 2. ขนาดเอส พื้นที่เฉลี่ย20 ตร.ม. หรือเป็นคีออส ซึ่งปีหน้าบริษํทฯ จะเน้นการขยายรูปแบบนี้มากขึ้น โดยการเปิดขายแฟรนไชส์ ช่วงแรกจะเน้นในกรุงเทพฯ เป็นหลักก่อน และ3. ขนาดเอ็ม พื้นที่ร้านเฉลี่ย40-80 ตร.ม.

ทำไมวาวีถึงขายกิจการให้บิ๊กซี*? *

กรณีศึกษาปลาใหญ่กินปลาเล็ก” อาจไม่ตรงทีเดียวนัก สำหรับการที่บีเจซีเข้ามาซื้อวาวี ลำพังวาวีเองก็คิดหนักที่จะขายของรักของหวง* *ที่ปลุกปั้นมากับมือร่วม20 ปีที่ผ่านมา บิ๊กซีไม่ใช่กลุ่มทุนรายแรกที่เข้ามาทาบทามวาวี แต่บิ๊กซีเป็นค้าปลีกรายเดียวที่ แสดงออกถึงความตั้งใจจริงที่จะคงสิ่งดีๆ ที่วาวีทำไว้แต่เดิม แต่จะมาขยายผลต่อในสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของกิจการ ที่ผู้บริหารวาวีก็มองเห็นแต่ทำอะไรไม่ได้มากนัก ตามประสาเถ้าแก่ที่ต่อให้เก่งแค่ไหนก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง

ไกรสิทธิ์ฟูสุวรรณกรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งกาแฟวาวี เล่าว่า ที่ผ่านมาวาวีเคยมีช่วงเวลาที่ดีที่สุดในปีที่9-12 ของกิจการ สามารถทำยอดขายได้สูงสุด100 ล้านบาท มีสาขาทั่วประเทศ67 สาขาจากการขายแฟรนไชส์ ซึ่งปัญหาการจัดการเป็นเรื่องใหญ่ ทำให้วาวีต้องรีบเจ็บแต่จบ ยกเลิกระบบแฟรนไชส์ ลดจำนวนสาขาลงมาเหลือ20 แห่งในปัจจุบัน ปักธงเป็นร้านกาแฟที่มีเอกลักษณ์ของคนภาคเหนือ จนกระทั่งบีเจซีก้าวเข้ามาโมดิฟายน์จากร้านกาแฟระดับท้องถิ่น มาเป็นร้านกาแฟระดับภูมิภาคอาเซียน**

บิ๊กซีวิเคราะห์ว่าวาวีเป็นธุรกิจมีศักยภาพจากความพิถีพิถันตั้งแต่การปลูกการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ กระบวนการผลิต การคัดแยกเมล็ดเกรดดีออกจากเกรดไม่ดีไม่ให้ปนกันโดยไม่หวังผลส่วนต่างของกำไร การออกแบบหน้าร้าน การเลือกใช้วัสดุทุกชิ้นเพื่อสร้างบุคลิกแบบวาวีแหล่งที่มาของกาแฟออร์แกนิกต้นทุนสูงแต่ตอบโจทย์สุขภาพ

สิ่งที่วาวีขาดหายไปคือเรื่องของการจัดการ ยิ่งขยายสาขาและขายแฟรนไชส์เรื่องบริการและการตลาดยิ่งเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างธุรกิจให้เติบโต การที่บิ๊กซีเข้ามารับช่วงต่อจะทำให้วาวีไปได้ไกล อีกทั้งการทำตลาดกาแฟออร์แกนิกให้คนทั่วไปเข้าถึงได้จากการพัฒนาสูตรใหม่ๆ สำหรับคอกาแฟทุกคนและการลงทุนขยายสาขา

จากนี้ไปวาวีจะเป็นแบรนด์กาแฟคนไทยที่คนรู้จักกันทั่วประเทศ บริหารงานโดยห้างคนไทยขณะที่เอสเอีมอีคนไทยอย่าง“ไกรสิทธิ์” ก็ผันตัวไปเป็นซัพพลายเออร์ผลิตและส่งมอบเมล็ดกาแฟวาวีออริจินให้บิ๊กซี และเป็นที่ปรึกษาให้บิ๊กซีในฐานะผู้เชี่ยวชาญเมล็ดพันธุ์

หลายกรณีของการเทกโอเวอร์ดูเผินๆเป็นเรื่องของทุนใหญ่ไล่ฮุบทุนเล็กแต่ถ้ามองเข้าไปถึงไส้ในต้องยอมรับว่ามีเอสเอ็มอีจำนวนไม่น้อยที่ไปไม่ถึงไหนเพราะข้อจำกัดเรื่องทุนและการตลาดการก้าวเข้ามาของทุนใหญ่แบบเอื้อเฟื้อต่อกันจึงถือเป็นทางเลือกที่win-win game.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0