โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ผู้เล่นยุค 90′ เล่นเกมยากลำบากขนาดไหน

GamingDose

เผยแพร่ 25 เม.ย. 2562 เวลา 11.10 น. • GamingDose - ข่าวเกม รีวิวเกม บทความเกมจากเกมเมอร์ตัวจริง
ผู้เล่นยุค 90′ เล่นเกมยากลำบากขนาดไหน

ถ้าหากผู้เล่นเกมคิดว่าเกิดผิด Generation หรืออยากลองนั่งไทม์แมชชีนโดราเอม่อนเพื่อย้อนยุคกลับไปใช้ชีวิตเป็นเด็ก 90' อีกครั้ง บอกเลยว่าคุณต้องคิดถึงยุคปัจจุบันอย่างแน่นอน เพราะเกมเมอร์จะได้รับรู้ว่าวิถีการเล่นเกมยุค 90' เป็นเรื่องที่ยากลำบากแสนเข็ญมากแค่ไหน แล้วจะมีเหตุผลอะไรบ้าง ? พวกเรามาแชร์เล่าสู่กันฟังครับ

ดำเนินเกมต่อไม่ได้ ไปไม่ถูก

Dino Crisis
Dino Crisis

ในยุคปัจจุบัน หากเกมเมอร์ติดที่จุดไหนก็สามารถค้นหาไกด์ผ่าน Google โดยทันที ซึ่งแน่นอนว่าช่วงยุค 90' ผู้เล่นสามารถค้นหาวิธีการผ่านด่านด้วยวิธีดังกล่าวเช่นกัน

ซึ่งแน่นอนว่าช่วงปี 90' ผู้เล่นสามารถค้นหาข้อมูลผ่านโลกอินเทอร์เน็ต แต่ทว่าระบบอินเทอร์เน็ตช่วงเวลานั้นยังไม่แพร่หลายและค่อนข้างใช้งานลำบากมาก ทำให้ไกด์ส่วนใหญ่มักลงตีพิมพ์บนนิตยสารเกมรายสัปดาห์ซึ่งมีตัวเลือกมากมายให้เลือกอ่าน

ฉะนั้นถ้าหากผู้เล่นไม่ผ่านเกมช่วงจุดไหน สิ่งที่ทำได้มีเพียงอย่างเดียวคือต้องรอหนังสือตีพิมพ์และกราบภาวนาว่าเล่มดังกล่าวจะมีไกด์เกมตรงตามที่ผู้เล่นต้องการ

ต้องใช้ถ่านแบตเตอรี่ประคองชีวิตเกม

Gameboy
Gameboy

ยุค 90' เทคโนโลยีชาร์ตแบตเตอรี่ยังคงเป็นของเล่นชิ้นใหม่ และแพร่หลายสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น

เกมพกพายังต้องพึ่งพาพลังงานด้วยแบตเตอรี่แบบถ่าน Alkaline ซึ่งหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้า, มีน้ำหนัก, ราคาแพง และที่สำคัญ ถ่านแบตก็ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อโลกเพราะถูกจัดว่าเป็นขยะอันตรายอีกด้วย

ซึ่งบอกตรง ๆ ว่ามันไม่สะดวกสบายเหมือนยุคนี้เอาซะเลย แต่สำหรับยุคนั้น การใช้ถ่านแบตเป็นวิธีทางเดียวที่สามารถจะสามารถเล่นเกมพกพาได้

ต่ออินเทอร์เน็ตช้ามาก

America Online
America Online

สมัยนี้ใช้เวลาไม่ถึง 30 วินาทีก็สามารถต่ออินเทอร์เน็ตและพร้อมใช้งานทันที ชีวิต Easy มาก ๆ

แต่สำหรับยุค 90' เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตยังคงอ่อนด้อยและการใช้งานชวนหงุดหงิดซะเหลือเกิน หากเกมเมอร์เริ่มเชื่อมต่อโลกอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์จะเริ่มส่งเสียงแปลก ๆ ประมาณสามถึงห้านาที ซึ่งต้องมานั่งรอลุ้นว่าสามารถติดต่อสำเร็จหรือไม่อีกด้วย

แม้ว่าคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเสร็จสิ้น ปัญหาก็ไม่ได้จบลงเพียงเท่านี้ เกมเมอร์ต้องมั่นใจว่าต้องไม่มีใครใช้โทรศัพท์บ้านเป็นอันขาด เพราะหากมีการยกสายรับโทรศัพท์เมื่อไหร่ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบ้านจะถูกตัดเองตามอัตโนมัติ

ซึ่งสมัยนั้น การไม่รับโทรศัพท์บ้านเป็นเรื่องไปไม่ได้ เนื่องจากโทรศัพท์พกพา (หรือเราเรียกกันว่ารุ่นกระดูกหมา) ช่วงนั้นยังมีราคาแพง ทำให้การใช้งานอินเตอร์นอกจากมีความเร็วที่ช้ามากแล้ว มันใช้ยุ่งยากวุ่นวายสุด ๆ

เล่น Lan กับชาวบ้านลำบากแสนเข็ญ

Counter Strike 1.6
Counter Strike 1.6

ในเมื่อพลังอินเทอร์เน็ตอ่อนหัดเกินไปจนไม่สามารถเล่นเกมโหมด Multiplayer เกมเมอร์ยุค 90' ส่วนใหญ่จึงนิยมเล่นเกมผ่านระบบ Lan แทนซะส่วนมาก

แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เช่นเคย เพราะไม่มีเกมเมอร์คนไหนคงอยากยกคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องเพื่อนำมาต่อ Lan แล้วเล่นเกมร่วมกัน

ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้เล่นยุค 90' จึงมีวัฒนธรรมชอบนัดเจอกันที่ตามร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่แห่งหนึ่ง เพื่อเล่นเกม Counter-Strike 1.6 หรือเกมอื่นผ่านระบบ Lan ร่วมกัน จนทำให้กิจการร้านอินเทอร์เน็ตในไทยบ้านเราจึงมีเต็มบ้านเต็มเมืองเหมือน 7-11 เลยทีเดียว

ซื้อเกมใหม่ต้องแบกรับความเสี่ยงเอาเอง

Magazine
Magazine

เท่าที่ผู้อ่านสัมผัสมา นิตยสารเกมสมัยก่อนส่วนใหญ่มักมีจะ Error เห็นชัดมากมาย ไม่ว่าเป็นการใส่ภาพประกอบผิดเกม, บทความรีวิวค่อนข้างเอนเอียงหรืออวย และโฆษณาเกินจริงหลายครั้ง

จึงไม่แปลกใจว่าทำให้เกมเมอร์ยุค 90' เป็นคนหัวร้อนกับเกมง่าย เพราะพวกเขามักโดนหลอกลวงให้ซื้อเกมคุณภาพแย่ เพราะพลังของโฆษณาและบทความรีวิวที่สวยหรูอยู่เสมอ

ไม่มี Memory Card

Memory Card
Memory Card

มีอีกด้านหนึ่งที่วงการเกมก้าวกระโดดขึ้นด้วยอุปกรณ์เสริมตัวใหม่ซึ่งเรียกว่า Memory Card ที่มีหน้าที่ในการบันทึกเซฟไฟล์เกมโดยไม่จำเป็นต้องนั่งจดรหัสลับอีกต่อไป

แต่วิดีโอเกมปลายยุค 90' เริ่มมีพัฒนาการด้านเนื้อหาที่เยอะมากขึ้น ทำให้การเล่นเกมใหญ่จบภายในวันเดียวเป็นเรื่องที่ยากมาก อุปกรณ์ Memory Card กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้

ซึ่งปัญหาหลักคือ Memory Card ต้องซื้อแยกออกมาต่างหาก ฉะนั้นถ้าหากเกมเมอร์พบปัญหาเกมค้างหรือเจอบั๊กร้ายแรงของเกม แต่ไม่มีบันทึกเซฟ เพราะไม่มี Memory Card ละก็… สิ่งที่ทำได้มีอย่างเดียวคือ "ทำใจ" ครับ

เกมมี CD หลายแผ่น

Final Fantasy VII
Final Fantasy VII

ถึงแม้ว่าเครื่องคอนโซลหลายแบรนด์จะเริ่มหันมาใช้แผ่นจาน CD เข้ามาแทนที่แบบตลับ เพราะสามารถอัดเนื้อที่เยอะและรักษาง่ายกว่า

แต่ไม่สามารถปฏิเสธว่าเนื้อที่ของแผ่น CD หนึ่งแผ่นก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการสำหรับเกมบางเกม ฉะนั้นเกม AAA ส่วนใหญ่จึงมักจะมาพร้อมกับแผ่นเกมสองแผ่นหรือมากกว่า

ก็ต้องขอบคุณแผ่นบันทึกข้อมูล Blu-ray Disc จริง ๆ ที่สามารถบรรจุเนื้อหาเยอะมากขึ้นหลายเท่า และมีการขายเกมรูปแบบ Digital Download ที่อาศัยพื้นที่ HDD ในเก็บข้อมูลแทน ทำให้เกมเมอร์ยุคปัจจุบันไม่จำเป็นต้องสลับแผ่นเกมให้วุ่นวายอีกต่อไป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0