โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ เตือนผู้ใช้ Video Conference ระวัง Data Privacy

Businesstoday

เผยแพร่ 29 มี.ค. 2563 เวลา 11.26 น. • Businesstoday
ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ เตือนผู้ใช้ Video Conference ระวัง Data Privacy

ในช่วงวิกฤติ COVID-19 หลายบริษัทให้พนักงานทำงานที่บ้าน ใช้โปรแกรมต่างๆ ประชุมทางไกล (Video Conference) โดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังถูกเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า "การใช้งาน Video Conference มีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ คือ ปัญหาทางด้านเทคนิค คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน ของผู้ใช้มีช่องโหว่ทำให้โดนแฮก ยกตัวอย่าง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่อนุญาตให้ iOS หรือ Android ที่มีเวอร์ชั่นต่ำเกินไปเข้าใช้แอปพลิเคชัน Mobile Banking เพราะมีช่องโหว่และเสี่ยงโดนแฮก

เช่นเดียวกับ Video Conference โปรแกรมต่างๆ ถ้าทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มที่ไม่ปลอดภัยก็มีโอกาสที่จะถูกแฮก

อีกปัญหาคือใช้งานไม่คล่อง ตั้งค่าโปรแกรมไม่เป็น บางโปรแกรมสามารถเบลอพื้นหลังได้ แต่คนที่ทำไม่เป็นก็จะทำให้เห็นด้านหลังของบ้านตัวเองทั้งหมด หรือบางจังหวะไม่ได้กดปิดเสียง จะได้เสียงรอบข้างเข้ามา เสียงจากคนในบ้านอาจจะหลุดเข้าไป

แอปพลิเคชันที่ให้ผู้ใช้เข้าระบบผ่าน 3rd Party เช่น Facebook, Google, Microsoft หรือ Apple จะถูกเชื่อมผ่านซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Software Development Kit (SDK) และมี Application Programming Interface (API) วิ่งกลับไปที่แอปพลิเคชัน 3rd Party เหล่านั้น

แอปพลิเคชันที่เป็นประเด็นล่าสุดอย่าง Zoom ได้ออกมาแถลงข่าว ว่าการที่ใช้ Facebook และ Google เข้ามารับรองการเข้าระบบ (Authenticate) ไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนตัว แต่จะเก็บข้อมูลว่า "ใช้เครื่องอะไร ระบบปฏิบัติการไหน และใช้จากที่ไหน" ซึ่ง Zoom ได้แจ้งว่า เพิ่งทราบว่า Facebook SDK เก็บข้อมูลเหล่านี้ด้วย หลังจากมีคนเข้าไปพบ ซึ่ง Zoom ได้เตรียมการเอา SDK ในส่วนของรหัสผ่านออก และอัปเกรดแอปพลิเคชันเป็นเวอร์ชั่นใหม่

ปริญญา กล่าวต่อว่า ต้องเข้าใจว่าของฟรีไม่มีในโลก เขาจะต้องเข้ามาเก็บข้อมูลเราสักอย่างหนึ่ง การเก็บสถานที่ เครื่องที่ใช้ เขาอาจจะเก็บเพื่อปรับปรุงระบบโฆษณา แต่ซูมผิดตรงที่ไม่ได้บอกในนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Statement) ก่อน

ส่วนตัวไม่เคยเข้าสู่ระบบด้วย 3rd Party App ถึงแม้ว่ามันอาจจะสะดวก แต่การเข้าสู่ระบบด้วย 3rd Party App จะต้องแลกด้วยการสูญเสียข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมันเป็นเรื่องของความเคยชิน เป็นปัญหาของดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ที่ใช้ความเร็วและความง่าย และเกิดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี

ไทยยังไม่พร้อมรับมือ PDPA

บริษัทที่ทำโมบายล์แอปพลิเคชันต้องรู้ว่าประเทศไทยกำลังจะมีพระราชบัญญัติข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ถ้าเก็บข้อมูลโดยที่ไม่ได้แจ้งลูกค้าและมีคนเข้ามาพบ จะมีปัญหา ต้องแจ้งลูกค้าไปเลยว่าเก็บเพื่ออะไร เป็นประโยชน์กับลูกค้าหรือไม่ และให้ลูกค้าเป็นผู้ตัดสินใจ

-นายก TVCA วอนรัฐขยับเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล

ปริญญา กล่าวว่า คนยังไม่พร้อมกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งการประชาสัมพันธ์และความเข้าใจ ซึ่งไม่ทุกรายที่จะทำทันช่วงเดดไลน์ ถ้าเลื่อนได้จะเป็นผลดี แต่ถ้าเลื่อนไม่ได้ก็อยากให้ผ่อนผันการบังคับใช้ในระยะเวลาหนึ่ง เพราะปัจจุบันบริษัทจะต้องเอาตัวรอดจากวิกฤติ COVID-19 ที่รายได้หายไป

กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ตามเวลาที่กำหนดไว้ แต่องค์กรภาครัฐอาจจะไม่บังคับใช้จริงจัง พบกันครึ่งทางเพื่อช่วยกัน แต่ไม่แน่ใจว่าในทางกฎหมายจะสามารถทำได้หรือไม่

Video Conference เข้ามาเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การทำงานถาวร

ยุคหลัง COVID-19 ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของคนจะเปลี่ยนไป คนที่ใช้โปรแกรมเหล่านี้จะใช้ต่อไป บางบริษัทอาจจะมองว่าเป็นประโยชน์ เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายในสำนักงาน และจะกลายเป็นธรรมชาติที่ทุกคนใช้โปรแกรมเหล่านี้เป็น เหมือนสกิลคนใช้สมาร์ทโฟนทั่วไป

ปริญญา กล่าวว่า ใน 1 วันจะใช้ทั้ง WebEx, Microsoft Team และ Zoom เพราะทุกคนทำงานที่บ้าน และคนที่ต้องติดต่อด้วยเขาใช้โปรแกรมแตกต่างกัน ซึ่งข้อดีและข้อด้อยของแต่ละโปรแกรมคือมีฟีเจอร์ไม่เท่ากัน บางโปรแกรมจะทำเบลอพื้นหลังได้แต่บางโปรแกรมยังทำไม่ได้ ส่วนตัวใช้ Microsoft Team และรู้สึกว่าเสถียร ขณะที่ Zoom เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่าย

การประชุมบอร์ดโดยใช้โปรแกรมเหล่านี้ แนะนำว่าไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากันเพราะเป็นการนำเสนอจากฝ่ายเดียว แต่ถ้าประชุมเพื่อติดตามงาน แนะนำให้เห็นหน้าเพื่อให้เห็นถึงสารทุกข์สุขดิบ

การใช้ Video Conference ถ้าสอนกันให้ดีภายในบ้านและภายในองค์กร ทุกคนจะเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว แต่ถ้าเรียนรู้กันเองก็จะเกิดความผิดพลาด จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนถึง 2 ปี เพื่อเรียนรู้จากคนที่ทำผิดพลาด โดนคดีความ และพัฒนาตัวปรับตัวโดยอัตโนมัติ

"เรื่อง Data Privacy หรือ Digital Literacy จะเป็นความปกติใหม่ของคนไทย แม้กระทั่งการใช้โซเชียลก็ยังต้องมีสกิล ว่าจะโพสต์อย่างไรให้ดูดี ซึ่งคนจะเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0