โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ผูกเงื่อนเก่งที่สุด ก็หูฟังของเรานี่แหละ นักวิทยาศาสตร์เผยว่าผูกเงื่อนที่แตกต่างได้ 120 รูปแบบ

Thaiware

อัพเดต 23 ต.ค. 2561 เวลา 06.00 น. • เผยแพร่ 23 ต.ค. 2561 เวลา 06.00 น. • เคนชิน
ผูกเงื่อนเก่งที่สุด ก็หูฟังของเรานี่แหละ นักวิทยาศาสตร์เผยว่าผูกเงื่อนที่แตกต่างได้ 120 รูปแบบ
สะเทือนใจคนชอบฟังเพลง เมื่อได้รู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่กลับแก้ไขไม่ได้เลย เราก็ต้องทนแกะเงื่อนกันต่อไป

เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวไม่น้อยเลยสำหรับคนที่มีเสียงดนตรีอยู่ในหัวใจ ที่ในทุกครั้งที่เราพยายามม้วนเก็บสายหูฟังลงในกระเป๋าอย่างบรรจง และในครึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น เราก็หยิบสายหูฟังขึ้นมาแล้วพบว่ามันพันม้วนกันเป็นก้อนไม่ต่างอะไรกับลูกบอล แลัวทำไมหล่ะสายหูฟังถึงได้พันกันเองง่ายนัก?

และในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ก็มีคำตอบให้กับปริศนาอันดำมืดนี้แล้ว โดยผลงานการวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Discover Magazine

นักวิทยาศาสตร์รายงานผลการวิจัยของเขาว่า "เป็นที่รู้กันดีว่าสายอะไรก็แล้วแต่ที่ได้รับการแกว่งหรือกระแทก มันก็มีแนวโน้มที่สายนั้นจะพันกันเป็นเงื่อน แต่อย่างไรก็ดี องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการฟอร์มตัวเป็นเงื่อนที่มีรูปแบบแตกต่างกันได้อย่างมากมายนั้น ยังไม่มีคำอธิบายอย่างแน่ชัด" 

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า พวกเขาได้ทำการทดลองโดยการนำสายเชือกเก็บลงในกล่องที่ถูกเขย่า และพบว่าเพียงวินาทีเดียว ก็เพียงพอแล้วสำหรับการเกิดเงื่อนที่ซับซ้อน และพวกเราได้ใช้ทฤษฎีการเกิดเงื่อนในเชิงคณิตศาสตร์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเกิดเงื่อน พบว่าค่าความน่าจะเป็น หรือค่า P ของการเกิดเงื่อนนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามความยาวของเชือก แต่ค่าจะเริ่มอิ่มตัวที่ค่าต่ำกว่า 100% ซึ่งต่างจากความน่าจะเป็นของโมเดลคณิตศาสตร์ในเรื่อง Self-avoiding random walks (การเดินผ่านจุดพิกัดแบบสุ่ม โดยที่ไม่เดินมาทับจุดพิกัดเดิม) ที่ค่า P สูงถึง 100%"

ผูกเงื่อนเก่งที่สุด ก็หูฟังของเรานี่แหละ นักวิทยาศาสตร์เผยว่าผูกเงื่อนที่แตกต่างได้ 120 รูปแบบ
ผูกเงื่อนเก่งที่สุด ก็หูฟังของเรานี่แหละ นักวิทยาศาสตร์เผยว่าผูกเงื่อนที่แตกต่างได้ 120 รูปแบบ

"และด้วยการวิเคราะห์โมเดลทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับการวิเคราะห์ภาพถ่ายของเส้นเชือก ก็ได้ข้อสรุปว่า ยิ่งเชือกมีความยาวมากๆ และยิ่งมีความอ่อนยืดหยุ่นมากๆ มันก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเงื่อนบนเชือก โดยในการทดสอบพบว่ามีเงื่อนที่เกิดขึ้นนั้นมีความแตกต่างกันถึง 120 รูปแบบ และมีการพันทบกันที่มากถึง 11 ครั้ง โดยเป็นการตรวจสอบจากการทดลองถึง 3,415 ครั้ง และเงื่อนที่มีการพันทบกันเกิน 7 ครั้งจะถูกนำมาตรวจสอบ"

โดยในการทดลองเขย่าเชือก ได้ลองกับเชือกหลายแบบที่มีความแตกต่างในเครื่องความแข็ง หรือยืดหยุ่น โดยพบว่าสายเชือกที่ยืดหยุ่นนั้นใช้เวลาเพียงไม่นานเพื่อทำให้เกิดเงื่อน ในขณะที่เชือกแบบแข็งนั้นต้องใช้เวลานานกว่าในการเกิดเงื่อน

มันเป็นความจริงอันน่าเจ็บปวด เพราะถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่าการออกแบบสายหูฟังให้แข็งขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาการพันกันของสายได้ แต่ว่าถ้าทำให้สายหูฟังแข็งขึ้น มันก็จะไม่สะดวกสำหรับการใช้งาน ด้วยเหตุนี้มันก็น่าจะเป็นข้ออ้างที่ดีที่เราจะหาซื้อหูฟังไร้สายมาใช้งานนะ __

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0