ผักเชียงดา มีชื่อว่า Gurmar ในภาษาฮินดูแปลว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gymnema inodorum (Lour.) Decne ซึ่งมีชื่ออื่นๆอีกมากมาย เช่น เจียงดา, ผักเจียงดา, เซียงดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา เชียงดามีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย เถาสีเขียว เป็นผักพื้นบ้านของภาคเหนือนิยมนำมารับประทานกับน้ำพริก นี่คือประโยชน์ของผักเชียงดาต่อสุขภาพ
รักษาเบาหวาน
เชียงดา ถือว่าเป็นสุดยอดสมุนไพรที่ช่วยในการลดเบาหวาน มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดพึ่งอินซูลินและไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งในเชียงดามีสารสำคัญที่ชื่อว่า gymnemic acid จะช่วยต้านการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ และยังกระตุ้นฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรงจึงทำให้การหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น ได้มีผลการวิจัยจากนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า ผักเชียงดาช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ดีและช่วยเพิ่มปริมาณของอินซูลิน โดยไปฟื้นฟูเซลส์ของตับอ่อน จึงสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ แม้จะรับประทานติดต่อกันนานถึง 28 วัน ก็ไม่ทำให้เกิดอาการน้ำตาลต่ำกว่าปกติหรือไม่เป็นพิษต่อตับ
มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ผักเชียงดามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก เพราะมีทั้ง วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน สารแคโรทีนอยด์และสารกลุ่มฟีนอลิก ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงป้องกันมะเร็งได้ดี ช่วยระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง โดยการทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา จึงช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดี
เบต้าแคโรทีนสูง
ผักเชียงดาปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีสูงถึง 5,905 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันมะเร็งได้ดี และช่วยยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียง และมะเร็งปอด อีกทั้งยังช่วยบำรุงสายตา ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ลูกตาและลดความเสี่ยงในการเป็นต้อกระจกด้วย
ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ
ผักเชียงดายังสามารถช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก โรคไขข้ออักเสบ โรครูมาติก รูมาตอยด์ และโรคเกาต์
คุณค่าทางอาหารของ ผักเชียงดา 100 กรัม
ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม
ไขมัน 1.5 กรัม
โปรตีน 5.4 กรัม
แคลเซียม 78 มิลลิกรัม
น้ำ 82.9 กรัม
ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน 5,905 ไมโครกรัม
เหล็ก 2.3 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม
ไทอะมีน 0.12 มิลลิกรัม
วิตามินเอรวม 984 ไมโครกรัม
วิตามินซี 153 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม
ความเห็น 1
wa
ญี่ปุ่นเขาเอาไปจดสิทธิบัตรแล้ว พืชนี้ถ้าจะนำมาสกัดเป็นยาขายน่าจะต้องขอลิขสิทธิ์จากเขานะ แต่ปลูกกินเองในไทยเป็นอาหารได้อยู่แต่ห้ามในทางพานิช
29 พ.ค. 2562 เวลา 03.08 น.
ดูทั้งหมด