โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ผวาโรงงานกะทิย้ายฐานผลิตพ้นไทย

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 24 พ.ค. 2562 เวลา 11.20 น.

เกษตรดักคอขาโวยเอกชนนำเข้ามะพร้าว ภายใต้กรอบดับบลิวทีโอ 54% ต้องปฏิบัติตามกฎสากลโลก ผวาเข้มมากโรงงานกะทิย้ายฐานหนีไปอินโด-เวียดนาม หวั่นแรงงานตกงานอื้อ ชิ่งกระทบชาวสวนหนัก สศก.สั่งเกษตรจังหวัดทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เตรียมเข้ารัฐบาลใหม่สานต่อ

นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ผ่านมาในครึ่งปี 2562 ยังไม่มีการเปิดนำเข้าภายใต้กรอบอาฟต้า ยกเว้นกรอบดับบลิวทีโอ (นอกโควตา) จะต้องเสียภาษี 54% ซึ่งจะให้นำเข้าเลยคงเป็นไปได้ เมื่อพิจารณาตัวเลข ตั้งแต่เดือนมราคม ถึงวันที่ 21 พฤษภาคมนี้ มีการนำเข้าไม่ถึง 3 หมื่นตัน หากเทียบในเวลาเดียวกันปีที่แล้วนำเข้ากว่าแสนตันน้อยมากและการที่ได้คืนภาษีอย่างน้อย 6เดือนในแง่ธุรกิจไม่คุ้ม

“ยืนยันว่าไทยผลผลิตไม่เพียงพอ ยิ่งอุตสาหกรรมขยายตัวเป็นครัวของโลกส่งออกสำเร็จรูปคนรับประทานอาหารไทยมากขึ้นก็ยิ่งทำให้น้ำกะทิขายเพิ่มขึ้น ในอีกด้านหนึ่งก็อยากให้เกษตรกรพบกันคนละครึ่งต้องช่วยระดับหนึ่งด้วยไม่ใช่คิดจะเอาแต่ราคา ขณะนี้อินโดนีเซียก็จ้องอยู่ เพราะการผลิตกะทิเทคโนโลยีไม่ได้สูง ย้ายฐานการผลิตง่ายจะตาย คือไม่อยากให้โรงงานที่ทำผลิตภัณฑ์แปรรูปย้ายไปอยู่ที่อื่น ดังนั้นเราก็ต้องทำเกิดความสมดุล หากโรงงานย้ายไปไม่มีโรงงานแล้วใครจะซื้อสถานการณ์จะยิ่งแย่กว่าหรือไม่”

นางสาวดุจเดือน กล่าวว่า ปีนี้ผลผลิตเพิ่ม จาก 8.5 แสนตัน เป็น 8.7 แสนตัน มากกว่าแค่ 2 หมื่นตัน  แต่ก็มีการหารือในเรื่องมาตรการปกป้องพิเศษโดยพิจารณาจากข้อมูล 3 ปีย้อนหลังว่ามีปริมาณการนำเข้าเท่าไหร่ โดยเฉลี่ย 3 ปีจากเดิมจะใช้ตัวเลขปี 2557-2559  แต่ว่าตอนนี้ตัวเลขปี 2561 ออกแล้วจะใช้ตัวเลข ปี 2558-2561 ตัดปี 60 ทิ้งเพราะปีก้าวกระโดด ซึ่งตามหลักการสากลใช้ 3 ปีสุดท้าย

ยกเว้นข้อมูลต่ำหรือสูงปกติสามารถตัดออกได้ เพราะหากเกินปริมาณแค่นี้ขึ้นภาษีเป็น 72% จาก 54% ทั้งนี้ในการคำนวณใช้เพดานภาษีบวก เศษ 1 ส่วน 3  บวกไปอีก 18% ตามกฎของดับบลิวทีโอ จะต้องรอเข้า ครม.เห็นชอบ (เกินปริมาณนำเข้าเกินระดับที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ปริมาณ 206,735  แสนตัน) จะต้องเสียภาษีในอัตราเพิ่มขึ้นถือเป็นมาตรการที่เข้ามาช่วยรักษาเสถียรภาพของราคามะพร้าว อย่างไรก็ดีเพื่อให้ตัวเลขเป็นปัจจุบันได้ได้สั่งเกษตรจังหวัดเก็บตัวเลขใหม่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่เป็นแหล่งผลิตใหญ่ 40% ขงประเทศภายในสิ้นเดือนนี้คาดว่าจะนำเข้าก่อนประชุมบอร์ดชุดใหญ่ ประมาณเดือน ก.ค. ต้องรอรัฐบาลใหม่

ด้านแหล่งข่าววงการมะพร้าว เผยว่า การนำเข้าในกรอบดับบลิวทีโอ เป็นเวทีการค้าโลก ไปห้ามไม่ได้ แต่มีมาตรการควบคุมดูแล เดิมรัฐบาลปล่อยให้นำเข้าได้ทุกด่านที่มีด่านกักกันพืช แต่ปัจจุบันให้เข้าแค่ 2 ด่าน ก็คือ ด่านท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือกรุงเทพฯเท่านั้น เมื่อนำเข้ามาแล้วก็มีการออกใบขนย้ายจากท่าเรือไปยังปลายทางที่เจ้าของสินค้าต้องการก็คือ การใช้กฎหมายของกรมการค้าภายใน กำกับดูแลการรขนย้าย ซึ่งปีนี้สถานการณ์ราคามะพร้าวเริ่มสูงขึ้นฝ่ายโรงงานกะทิหาซื้อะพร้าวในประเทศที่อ้างว่าซื้อไม่ได้ ฝ่ายเกษตรกรก็อ้างมาก ซี่งเมื่อรับฟังแล้วก็รับได้ทั้งสองด้าน เห็นใจทั้งสองฝ่าย

“มะพร้าว” เป็นพืชที่รอการจำหน่ายอยู่ได้ถึง 2 เดือน เพราะฉะนั้นะพร้าวจะตกอยู่ในมือของล้ง แล้วล้งจะทำหน้าที่อยู่ 2 ส่วนก็คือรวบรวมมะพร้าวจากชาวสวน หากผลสวยก็จะออกไปในรูปจำหน่ายของหัวขูด จะมีแม่ค้ามาซื้อไปขูดขายเป็นกะทิตามตลาดสดหรือตลาดนัด อีกส่วนหนึ่งเป็นลูกที่ไม่สวยแต่เนื้อดีจะกะเทาะเป็นมะพร้าวขาวก็จะเข้าสู่โรงงานกะทิเพื่อผลิตกะทิบรรจุกล่องส่งออกต่างประเทศ ทั้งนี้สัดส่วนการบริโภคภายในประเทศ เหลือแค่ 35% ส่งออก 65%

ในการส่งออกก็ต้องไปเจอกับคู่แข่ง ก็คือ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เพราะเป็นเรื่องกะทิกล่อง แต่ว่าคนไทยยังครองตลาดได้เพราะยังเก่งในเรื่องของการผลิต ประกอบกับมีโรงงานที่ได้รับมาตรฐานระดับโลก อย่างไรก็ตามหากสินค้าแพงมากขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องหาซื้อของถูกกว่าทดแทน เพราะโรงงานกีข้อจำกัดเช่นเดียวกันหากซื้อต้นทุนที่แพงากก็ขายสินค้าไม่ได้ หรือขายแล้วขาดทุน หรือไม่มีคำสั่งซื้อเข้ามาก็ต้องชะลอการรับซื้อะพร้าวขาวก็จะกระทบกับมะพร้าวผล ที่อยู่ในมือล้ง ล้งก็เดือดร้อน ล้งก็ต้องไปกดราคา เป็นวงจรเช่นนี้

แต่ถ้ามองอีกด้านหนึ่งมะพร้าวที่นำเข้าในประเทศก็มีข้อดี 1.นำวัตถุดิบเข้ามาก็สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูป ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาภายในประเทศ 2.เกิดการจ้างงาน คนงานที่ไม่มีทักษะสามารถที่จะเป็นลูกมือสำหรับการทำมะพร้าวขาว คือเอามะพร้าวมากะเทาะเปลือกออก จะได้กิโลกรัมละ 3-3.50 บาท และผู้สูงอายุก็สามารถทำได้  ตัวอย่างแรงงานในจังหวัดประจวบฯ ราว 3,000 คน แล้วถ้าไม่มีมะพร้าวนำเข้ามารายได้กลุ่มนี้ก็จะไม่มี แรงงานนี้ก็มีอยู่หลายพื้นที่ในจังหวัดที่ปลูกมะพร้าว

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า การนำเข้ามาในช่วงนี้ เสียภาษี 54% ก็จริง แต่มีการเคลมคืนภาษีนั้นก็จริง เป็นมาตรการสากลโลก ไม่อยากให้เกษตรกรมองในด้านลบ เพราะว่าทุกประเทศก็ทำกัน ในขณะนี้ผู้ประกอบการเองก็เริ่มแล้วจะบริหารความเสี่ยงเริ่มที่จะไปสร้างโรงงานหรือไปเป็นหุ้นส่วนอยู่ในประเทศเวียดนามและอินโดนีเซียแล้ว หากย้ายฐานการผลิตเมื่อไรเกษตรกรตายเพราะไม่มีที่ไป

 

 

 

           

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0