โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ผลสำรวจเผย ‘ไทย’ ผู้นำช้อปปิ้งออนไลน์ คาดยอดใช้จ่ายโต 5 เท่าใน 5 ปี

Businesstoday

เผยแพร่ 26 ก.พ. 2563 เวลา 08.21 น. • Businesstoday
ผลสำรวจเผย ‘ไทย’ ผู้นำช้อปปิ้งออนไลน์ คาดยอดใช้จ่ายโต 5 เท่าใน 5 ปี

ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นผู้นำด้านการรับรู้และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ โดยมาพร้อมกับตัวเลือกที่เพิ่มมากขึ้น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมและความมั่งคั่งของผู้บริโภค ส่งผลให้กลุ่มนักช้อปออนไลน์นี้ได้ซื้อสินค้าหรือบริการบนช่องทางออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งครั้งในที่ปีผ่านมา

เฟซบุ๊ก และ เบน แอนด์ คอมพานึ ทำการสำวจกับกลุ่มคนจำนวน 12,965 คนในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเชีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงและนักลงทุนชั้นนำอีกกว่า 30 คนในแถบภูมิภาคนี้ โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสำรวจจำนวน 1,954 คนจากประเทศไทย

-สร้าง “Engagement” เคล็ดลับทำเงินจากเฟซบุ๊ก

การศึกษาล่าสุดภายใต้หัวข้อ 'Riding the Digital Wave: Southeast Asia's Discovery Generation' เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเติบโตของชนชั้นกลางในแถบภูมิภาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เพื่อทำความเข้าใจว่าผู้บริโภคมีส่วนช่วยพัฒนาและกำหนดแนวทางในอนาคตของอีคอมเมิร์ซสำหรับในภูมิภาคแถบนี้ได้อย่างไรบ้าง

การศึกษาครั้งใหม่เผยให้เห็นว่าชนชั้นกลางที่กำลังเดิบโตในขตภูมิภาคเอเชียคะวันออกเฉียงใต้นี้มีส่วนผลักดันผู้บริโภคยุคดิจิทัลให้เติบโตถึงร้อยละ 70-80 ภายในปี พ.ศ. 2568

ในปี พ.ศ. 2558 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีนักช้อปออนไลน์อยู่ราว 90 ล้านคน ในปี 2561 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 2.8 เท่า เป็น 250 ล้านคน และภายในปี 2568 คาดการณ์ว่าจำนวนผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นเป็น 310 ล้านคน โดยการศึกษายังได้ประเมินว่ามูลค่าการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์จะเติบโตถึง 4 เท่าทั้งภูมิภาค และตั้งเป้าเติบโต 5 เท่าในประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกัน

ผู้บริโภคกลุ่ม Discovery Generation

พฤติกรรมการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ นับเป็นเทรนด์ที่โดดเด่นที่สุด โดย

-ร้อยละ 71 ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยกล่าวว่าพวกเขาไม่แน่ใจว่าต้องการจะซื้ออะไรขณะไล่ดูสินค้าออนไลน์
-และมากกว่าร้อยละ 76 ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าพวกเขารู้จักผลิตภัณฑ์และแบรนด์ใหม่ ๆ จากช่องทางออนไลน์

นักช้อปไทยยังชื่นชอบการซื้อของจากหลากหลายช่องทาง

-ผู้บริโภคเปรียบเทียบราคาจากแพลตฟอร์มออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ ร้อยละ 55
-ร้อยละ 28 เช็คจากราคาหนัาร้านและแพลตฟอร์มออนไลน์
-ร้อยละ 8 เช็คจากราคาหนัาร้านเพียงอย่างเดียว
-ขณะที่ร้อยละ 10 ซื้อโดยไม่ไม่ศึกษาจากช่องทางอื่น

ผู้บริโภคชาวไทยยังเปิดร้บแบรนด์ใหม่ ๆ โดยเกือบร้อยละ 60 ได้ลองซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ที่พวกเขาไม่เคยรู้จักมาก่อนในปีที่ผ่านมา

โดยปัจจัยหลัก 3 ประการที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์ประกอบด้วย

-ยอดรีวิวสินค้าในชิงบวกจากผู้ใช้งานคนอื่นๆ
-ราคาหรือโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจ
-ความน่าสนใจของตัวผลิตภัณฑ์

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่าร้อยละ 61 ของผู้บริโภคชาวไทยไม่ต้องการรอช่วงลดราคาหรือโปรโมชั่นเพื่อจะซื้อสินค้า

ผู้บริโภคชาวไทยมีสัดส่วนซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ย 11,000 บาท (Mid Spenders) ร้อยละ 29 ขณะที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ย 11,000-18,000 บาท สูงถึงร้อยละ 35 (High Spenders) และซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ยที่ 6,000-8,000 บาท ร้อยละ 34 (Low Spenders)

โดยร้อยละ 23 ของกลุ่ม High Spenders มีรายได้ปานกลางถึงสูง ซื้อสินค้าบ่อยและหลากหลาย ขณะที่ ร้อยละ 21 ของกลุ่ม Mid Spenders เป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง มีพฤติกรรมเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนซื้อ

คนไทยมี Brand Loyalty ต่ำ

นอกเหนือจากพฤติกรรมด้านการดันพบแล้ว การศึกษาดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงโอกาสครั้งใหญ่ในการสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์และการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจากตลาดอีคอมเมิร์ซยังไม่มีบริษัทใดเป็นผู้เล่นหลัก และโดยเฉลี่ยแล้วผู้บริโภคในประเทศไทยเองมักสำรวจข้อมูลจากช่องทางออนไลน์ก่อนดัดสินใจซื้อสินค้า

ดังนั้น การครองใจผู้บริโภคในระยะยาวจึงถือเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยซึ่งเป็นสมาชิกของแบรนด์ระบุว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะช่วยโปรโมทสินค้ามากกว่า 1.4 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก โดยมีถึงร้อยละ 40 ที่มักจะช่วยบอกต่อสินประเภทเดียวกัน และอีกร้อยละ 20 ของคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะซื้อสินด้ในประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

นักช้อปชาวไทยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางเฉลี่ย 3.2 เว็บไซต์ และไม่ยึดติดกับแรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง เมื่อเทียบกับมาเลเซียที่ผู้บริโภคมีความจงรักภักดีกับแบรนด์มากกว่าไทยถึงเกือบ 6 เท่าตัว

ผลสำรวจยังเผยว่าแบรนด์สร้างความพึงพอใจสูงสุดได้เพียงร้อยละ 26 ขณะที่ความพึงพอใจต่ำที่สุดติดลบร้อยละ 2

ขณะที่ 5 เหตุผลหลักที่นักช้อปเจอปัญหา คือ

-สงสัยในคุณภาพของผลิตภัณฑ์
-ข้อมูลไม่ครบถ้วน
-กระบวนการส่งคืน
-การจัดส่ง
-หาส้นค้าที่ต้องการไม่เจอ

ผู้ขายชาวไทยที่ทำการตลาด เช่น ราคาดีและมีสิทธิประโยชน์ รวมถึงส่งฟรี จะช่วยดึงดูดลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้นถึงร้อยละ 20

ผลสำรวจเผย 'ไทย' ผู้นำช้อปปิ้งออนไลน์ คาดยอดใช้จ่ายโต 5 เท่าใน 5 ปี
ผลสำรวจเผย 'ไทย' ผู้นำช้อปปิ้งออนไลน์ คาดยอดใช้จ่ายโต 5 เท่าใน 5 ปี

แบรนด์ต้องปรับตัว

แบรนด์ใหญ่ต้องเร่งปรับตัวเพื่อเอาชนะความไม่แน่นอนในตลาด ทั้ง การจัดทำงบการตลาด หาพาร์ทเนอร์ที่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคมาช่วย วางกลยุทธ์การขายออนไลน์ใหม่ และ ปรับรูปแบบองค์กรให้แข่งขันในตลาดออนไลน์ได้

สร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบ ทั้งการค้นหาสินค้าที่ง่าย การรีวิวหรือระบบเรตติ้ง มีเนื้อหาประกอบที่ดี จัดหมวดหมู่สินค้าให้ถูกต้อง และ ราคาเป็นธรรม

จอห์น แวกเนอร์ ผู้อำนวยการบริหาร Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า "ขณะนี้เรากำลังก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก การซื้อขายสินค้าไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่ที่ร้านค้าเท่านั้นอีกต่อไป ผู้คนยังมีพฤติกรมการซื้อสินค้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง

ข้อสรุปหลักที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้คือ ความสำคัญของการออกแบบเส้นทางการค้นพบสินค้าของผู้บริโภคซึ่งจะช่วยให้พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจได้จากหลายช่องทางในเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้ ธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลางหรือใหญ่ ยังจะได้รับโอกาสสำคัญในการแข่งขันภายใต้ขอบเขตที่กว้างขึ้น ไม่ว่าจะทั้งในประเทศไทยและในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เฟซบุ๊ก เข้ามาเสริมประสบการณ์ให้ผู้ซื้อ เชื่อมกลุ่มลูกค้ากับแบรนด์ โดยใช้ Machine Learning เข้ามาช่วยจัดการให้ตรงกับกลุ่มคนมากขึ้น

โซเชียลคอมเมิร์ซ มีอิทธิพลกับคนไทยมาก เจ้าของธุรกิจต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้มีความจงรักภักดีกับแบรนด์ได้อย่างไร

โซเชียลคอมเมิร์ซ สำคัญมากกับธุรกิจเล็ก เช่น การทักแชทเข้ามาคุย จะต้องสร้างตัวตนบนช่องทางออนไลน์ คนไทยเปิดรับมากกว่าทางสหรัฐฯ ซึ่ง 40% ของคนไทยชอบการทักแชทและซื้อ ส่วนสหรัฐฯ มีแค่ 5% เท่านั้น

ธุรกิจใหญ่ สิ่งที่ท้าทาย คือ การทำให้ลูกค้าได้ค้นพบอะไรใหม่ ๆ ผ่านฟีเจอร์ และคุณภาพสินค้าต้องดี ซึ่ง เฟซบุ๊ก มีเครื่องมือที่ช่วยแบรนด์เหล่านี้ได้"

ด้าน ดิเรก เกศวการุณย์ พาร์ทเนอร์บริษัท เบนแอนด์ คอมพานึ กล่าวว่า "ขณะนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการนำดิจิทัลมาใช้มากขึ้น ซึ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตลาดการซื้อขายออนไลน์ในระดับภูมิภาค ประเทศไทยยังป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้กิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ดังนั้น แบรนด์ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องจับความสนใจและแนวคิดของผู้บริโภคให้ทัน เพื่อมาประยุกต์ให้เข้ากับแผนการคลาดและการขายที่จะสอดคล้องกับพฤติกรมการซื้อสินของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเลา แบรนด์ต่าง ๆ ยังจำเป็นต้องคิดค้นหาแนวทางไหม่ ๆ เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์การซื้อสินค้าในเชิงบวกให้กับกลุ่มผู้บริโภคยุดดิจิทัล

คนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเยอะขึ้น และคนไทยชอบเล่นโซเชียล จะทำให้เทรนด์ Digital economy เติบโตขึ้นได้อีกในอนาคต คนที่ไม่รู้ว่าจะซื้ออะไรจะเข้าไปค้นหาสินค้าผ่านสื่อโซเชียล รวมถึงการจ่ายเงินที่หลากหลายช่องทางตอบโจทย์คนใช้งาน

ผลสำรวจในประเทศอาเซียน บางด้านไทยเป็นผู้นำเทรนด์ การเติบโตของออนไลน์ช้อปปิ้ง ไทยจะโต 5 เท่า ในปี 2568 เป็นอันดับ 2 ขณะที่เวียดนามโต 6 เท่า

ทั้งนี้ Digital Consumer ไทยเป็นอันดับ 1 ที่เข้าถึงแบรนด์ผ่านโซเชียลมีเดีย และคนไทยยังติดอันดับ 1 ของผู้บริโภคที่จะลองซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ไม่เคยได้ยินชื่ออีกด้วย"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0